WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

Gov 26

ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 1 และข้อ 2 รวมจำนวน 12 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย ร่วมลงนามในร่างเอกสารในข้อ 1 และร่วมรับรองเอกสารในข้อ 2 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ 

          สาระสำคัญของร่างเอกสาร

          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขอเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 12 ฉบับ โดยแบ่งเป็นเอกสารที่จะมีการลงนาม จำนวน 1 ฉบับ และเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 11 ฉบับ

          1. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล (Memorandum of Understanding between the Association of Southeast Asian Nations and the People’s Republic of China on Co – operation in Communications and Digital Technology) มีเนื้อหาและขอบเขตความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยนนโยบายและกฎระเบียบด้านดิจิทัลและ ICT โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เทคโนโลยีอุบัติใหม่ ความมั่นคงปลอดภัยด้านดิจิทัล การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล การค้าดิจิทัล การบริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุ และความร่วมมืออื่นๆ ในด้านดิจิทัลและ ICT ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน 

          2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 11 ฉบับ ดังนี้

              2.1 ร่างปฏิญญาสิงคโปร์ (Singapore Declaration) สาระสำคัญ อาทิ 1) การสร้างความเชื่อมั่นในระบบนิเวศทางดิจิทัล โดยการส่งเสริมนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและส่งเสริมการใช้และการส่งผ่านข้อมูลในอาเซียน 2) การกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการกำกับดูแลเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง 

              2.2 ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (Joint Media Statement) เป็นเอกสารที่ระบุถึงสาระสำคัญของผลการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 4 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการยกระดับความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาและภาคีภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025

              2.3 ร่างแนวปฏิบัติธรรมาธิบาลและจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน – รายงานการศึกษาภูมิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน (ระยะ 2) (Part 2 of ASEAN Guide on Artificial Intelligence (AI) Governance and Ethics) เป็นแนวปฏิบัติสำหรับองค์กรในภูมิภาคที่ต้องการออกแบบการพัฒนา และปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบดั้งเดิม (Traditional AI) โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสอดคล้องและส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันภายในอาเซียน ได้แก่ การกำกับดูแลโครงสร้างภายในและมาตรการต่างๆ การกำหนดการมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการตัดสินใจ การบริหารจัดการระบบปฏิบัติการและการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย

              2.4 ร่างแนวทางปฏิบัติร่วมระหว่างข้อสัญญามาตรฐานของสหภาพยุโรปและข้อสัญญาต้นแบบของอาเซียนสำหรับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ (ระยะ 2) (Part 2 of EU – ASEAN Joint Guide on Model Contractual Clauses for Data Transfers - Implementation Guide) เป็นเอกสารแนวทางปฏิบัติร่วมฯ เพื่อเป็นคู่มือในการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจในการประกอบธุรกิจทั้งในภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรปในการจัดทำสัญญาทางธุรกิจที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของข้อสัญญาต้นแบบฯ และเพื่อนำไปสู่การสร้างความสอดคล้องทางกฎหมายและกฎระเบียบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภูมิภาคอาเซียนและสหภาพยุโรป

              2.5 ร่างรายงานทบทวนการดำเนินงานระยะกลางของแผนแม่บทอาเซียนด้านดิฐิทัล ค.ศ. 2025 (ASEAN Digital Masterplan 2025 Mid - Term Review) เป็นการรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานระยะกลางของแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 

              2.6 ร่างเอกสารต้นแบบทางการเงินสำหรับการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของอาเซียน (Financial Model of the ASEAN Regional Computer Emergency Response Team (CERT)) เป็นเอกสารข้อเสนอทางการเงินสำหรับการจัดตั้งASEAN Regional CERT ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนและพัฒนาการที่มากขึ้น เอกสารจะประกอบด้วย หน้าที่ กรอบการดำเนินงาน และประมาณการค่ใช้จ่าย

              2.7 ร่างเอกสารพื้นที่นำร่องด้านการกำกับดูแลเพื่ออำนวยความสะดวกของการไหลเวียนข้อมูลดิจิทัลข้ามพรมแดนสำหรับการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับในอาเซียน (Regulatory Pilot Space (RPS) to Facilitate Cross - Border Digital Data Flows to Enabling Self - Driving Car in ASEAN) เป็นการศึกษาด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลข้ามพรมแดนสำหรับการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับในอาเซียน 

              2.8 ร่างเอกสารกรอบการดำเนินงานอาเซียนด้านโลจิสติกส์ของห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับพื้นที่ชนบท เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ลดช่องว่างทางดิจิทัลและการพัฒนาโลจิสติกส์ของห่วงโซ่อุปทานในพื้นที่ชนบท ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเร่งรัดการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ประกอบด้วย 4 เสาหลัก (1) ธรรมาภิบาลข้อมูล (2) โลจิสติกส์ (3) การพัฒนาเศรษฐกิจ และ (4) วัฒนธรรมดิจิทัล

              2.9 ร่างเอกสารการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและทักษะด้านดิจิทัล และการไหลเข้าของการลงทุนจากต่างประเทศสู่ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียน: การระบุทางเลือกด้านนโยบายเพื่อปรับปรุงการดึงดูดด้านการลงทุน (Assessing the Relationship between ICT Infrastructure and Digital Skills and the Inflow of Foreign Investment to the ASEAN ICT Sector: Identification of Policy Options to Improve Investment Attraction) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถประเมินระดับความพร้อมทางดิจิทัล และนำไปสู่การพัฒนาด้านกฎหมาย นโยบาย กฎระเบียบ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

              2.10 ร่างเอกสารการจัดทำมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน (Establishment of the Standard to Exchange Data and Information Related to Disaster in the ASEAN Region) เพื่อสร้างมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะส่งผลให้มีการรับมือต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

              2.11 ร่างเอกสารกรอบการดำเนินงานของคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ (Operational Framework of the Working Group on Anti - Online Scam (WG - AS)) ซึ่งเป็นข้อเสนอของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการประสานงานและร่วมมือกันในการเสริมสร้างศักยภาพ การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับการหลอกลวงทางออนไลน์ และการหลอกลวงผ่านช่องทางดิจิทัลและโทรคมนาคม รวมถึงเป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนหารือ และปรับใช้แนวทางการประสานงานเพื่อจัดการกับการหลอกลวงออนไลน์ ติดตามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการต่อต้านการหลอกลวงทางออนไลน์จากสาขาความร่วมมืออาเซียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนร่วมกับคู่เจรจาอาเซียนเพื่อต่อต้านการหลอกลวงทางออนไลน์ 

          ทั้งนี้ กระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ (Ministry for Communications and Information) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 4 (The 4th ASEAN Digital Ministers’ Meeting: The 4th ADGMIN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายใต้หัวข้อหลัก (Theme) “การสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้” (Building an Inclusive and Trusted Digital Ecosystem)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 มกราคม 2567

 

 

1772

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

AXA 720 x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!