WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

Gov 11

การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศของ กต. แห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China International Development Cooperation Agency: CIDCA)1 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและ/หรือ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กต. สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมโดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง

          2. เห็นชอบให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศหรือผู้แทนที่ กต. มอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

(กต. แจ้งว่าฝ่ายจีนประสงค์ที่จะลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2567)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า

          1. CIDCA ได้เสนอร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อให้ฝ่ายไทยพิจารณาโดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกิจกรรมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การสัมมนา การสนับสนุนทุนการศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและส่งเสริมมิตรภาพระหว่างกัน ในหลายสาขา อาทิ เกษตร การค้า การศึกษา สิ่งแวดล้อม เป็นต้น สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

วัตถุประสงค์

 

เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนบุคลากรและส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทยและจีน

สาขาที่แลกเปลี่ยน

 

เศรษฐกิจและการค้า เกษตร สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ ที่สองฝ่ายตกลงร่วมกัน

การดำเนินงาน

 

ฝ่ายไทย

 

ฝ่ายจีน

- จัดส่งข้อเสนอสำหรับความร่วมมือด้าน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมถึงรูปแบบการฝึกอบรม สาขา และระยะเวลาดำเนินงานไปยังสถานเอกอัครราชทูตจีนในประเทศไทยเพื่อพิจารณาเป็นประจำทุกปี2

- คัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับแผนงานฝึกอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนาที่จัดในจีน รวมถึงดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนไปยังจีน

- จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรมและบริหารจัดการเจ้าหน้าที่สำหรับกิจกรรมที่จัดในประเทศไทย

- อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญจีนในประเทศไทย รวมถึงการตรวจลงตราแกผู้เชี่ยวชาญจีน และการบริหารจัดการเจ้าหน้าที่ เพื่อประสานการดำเนินงานตามแผนงานที่ได้ตกลงไว้

(กต. ได้จัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว)

 

- เชิญบุคลากรจากประเทศไทยเข้ามาร่วมฝึกอบรมระยะสั้นในระดับทวิภาคีและพหุภาคีรวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการและสัมมนาซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ

- จัดส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อฝึกอบรมบุคลากรในประเทศไทย และสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรมที่จำเป็น ตามคำขอของฝ่ายไทย

- มอบทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรจากประเทศไทย

- รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดังนี้

     (1) ค่าเดินทางไปกลับระหว่างจีนและประเทศไทยสำหรับบุคลากรทั้งสองฝ่าย

     (2) ค่าธรรมเนียมการฝึกอบรมและการเรียนการสอน รวมถึงสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม

     (3) ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าเดินทางในจีน สำหรับผู้เข้าร่วมจากฝ่ายไทย

     (4) ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าเบี้ยเลี้ยงของบุคลากรจีนในระหว่างพำนักที่ประเทศไทย

     (5) ค่าประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้เข้าร่วมจากประเทศไทยในระหว่างการเข้าร่วมอบรมและสัมมนาในจีน รวมถึงการดูแลรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินและอุบัติเหตุ

- ดำเนินความร่วมมือรูปแบบไตรภาคีผ่านการฝึกอบรมให้กับประเทศที่สามหรือระดับจังหวัด

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

องค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีน

พันธกรณี

 

ไม่มีความมุ่งหมายที่จะสร้างพันธกรณีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายใดๆ กับผู้เข้าร่วม

การมีผลบังคับใช้

 

นับตั้งแต่วันที่มีการลงนาม และจะมีผลไปจนกว่าผู้เข้าร่วมฝ่ายหนึ่งจะแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต เพื่อยุติบันทึกความเข้าใจฯ ผ่านช่องทางการทูต

ประโยชน์และผลกระทบ

 

การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของไทยในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝนทักษะความรู้จากจีนในสาขาที่ไทยและจีนได้ตกลงกัน รวมถึงความร่วมมือไตรภาคีผ่านจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับประเทศที่สามหรือระดับจังหวัดและช่วยยกระดับบทบาทไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนากับประเทศต่างๆ รวมถึงยังสะท้อนความมุ่งมั่นของไทยต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

          2. กต. แจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

__________________

1 องค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของจีน (CIDCA) มีหน้าที่กำกับงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและมีนโยบายและยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความช่วยเหลือต่างประเทศ โดยขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2 หน่วยงานรับผิดชอบของฝ่ายไทยและฝ่ายจีนจะเห็นชอบร่วมกันถึงบัญชีรายชื่อ เนื้อหาของแผนงาน ข้อเสนอสำหรับแผนงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผ่านการอนุมัติจากทั้งสองฝ่ายทุกปี โดยดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 มกราคม 2567

 

 

1775

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

AXA 720 x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!