WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (วันที่ 22 – 29 มกราคม 2567)

Gov 33

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (วันที่ 22 – 29 มกราคม 2567)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุดตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการนำน้ำไปใช้ในกิจกรรมการอุปโภคบริโภคและการเกษตร สทนช. จึงเห็นควรนำเรื่องดังกล่าวรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการรับมือต่อไป 

          1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน 

              ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกําลังแรง จะอ่อนลงเป็นเอลนีโญกําลังปานกลาง ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนด้วยความน่าจะเป็นร้อยละ 73 หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาส่วนสภาพอากาศมีความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อีกทั้งในช่วงวันที่ 25 – 28 ม.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่ง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28 – 31 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า 

          2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และการคาดการณ์

              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ

                    สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 28 มกราคม 2567) มีปริมาณน้ำ 57,950 ล้านลูกบาศก์เมตร (70%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 4,224 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 33,733 ล้านลูกบาศก์เมตร (58%) มีอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง 

                    ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พ.ค. 67) จะมีปริมาณน้ำ 19,661 ล้าน ลบ.ม. (47%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 1,874 ล้าน ลบ.ม. 

                    ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พ.ย. 67) จะมีปริมาณน้ำ 32,835 ล้าน ลบ.ม. (69%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่า 14 ล้าน ลบ.ม.

              (3) การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยปี 2567 (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำต่ำสุด Lower Rule Curve) ภาคเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลมและอ่างเก็บน้ำทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวงและอ่างเก็บน้ำสิรินธร ภาคตะวันตก 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชลและอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ภาคใต้ 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำรัชชประภา

          3. สถานการณ์น้ำในลำน้ำ

              3.1 สถานการณ์น้ำในแม่น้ำทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำน้อย โดยแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยวิกฤต จำนวน 16 ลำน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโขงเหนือ แม่น้ำปาย แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำวัง แม่น้ำโขงอีสาน แม่น้ำมูล แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำเพชรบุรี คลองบางสะพาน คลองทับสะแก คลองอู่ตะเภา คลองละงู และแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากวิกฤติ จำนวน 1 ลำน้ำ ได้แก่ แม่น้ำโก-ลก

              3.2 สถานการณ์แม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และมีแนวโน้มทรงตัว

              3.3 การคาดการณ์สถานการณ์น้ำภาคใต้ 

                    (1) คลองท่าดี ระดับน้ำที่สถานี X.203 อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

                    (2) แม่น้ำปัตตานี ระดับน้ำที่สถานี X.40A อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปัจจุบันระดับน้ำ
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และระดับน้ำที่สถานี X.275 อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

                    (4) คลองตันหยงมัส ระดับน้ำที่สถานี X.73 อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

                    (5) แม่น้ำสายบุรี ระดับน้ำที่สถานี X.184 อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

                    (6) แม่น้ำโก-ลก ระดับน้ำที่สถานี X.119A อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

          4. คุณภาพน้ำ

              คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสะพาน พระพุทธยอดฟ้าค่าความเค็มสูงเกินกว่ามาตรฐานอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปา 

          5. พื้นที่ประสบอุทกภัย

              เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 มีปริมาณฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่บริเวณ ภาคใต้ จ.ยะลา (อ.เบตง) และจ.นราธิวาส (อ.แว้ง และอ.สุคิริน) และน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง จ.พัทลุง (กงหรา ตะโหมด ศรีนครินทร์) และจ.นราธิวาส (อ.ระแงะ แว้ง สุคิริน) ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

          6. พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67

              หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67 พบว่า ด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ในเขตความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาค มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 18 สาขา ครอบคลุม 14 จังหวัด ในเขตความรับผิดชอบของการประปาท้องถิ่น มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ครอบคลุม 33 จังหวัด 167 อำเภอ 415 ตำบล ด้านการเกษตร นอกเขตชลประทานในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำ มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคนน้ำสำหรับข้าวนาปรัง ครอบคลุม 13 จังหวัด 35 อำเภอ 93 ตำบล และพื้นที่เสี่ยงขาดแคนน้ำสำหรับพืชต่อเนื่อง ครอบคลุม 22 จังหวัด 68 อำเภอ 168 ตำบล และด้านคุณภาพน้ำ เฝ้าระวังคุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักเพื่อการผลิตน้ำประปา ในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวง ครอบคลุม 3 จังหวัด และในเขตการประปาส่วนภูมิภาค ครอบคลุม 7 สาขา 6 จังหวัด 

          7. การลงพื้นที่ตรวจราชการ

              เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ณ ชุมชนโต๊ะบาหลิว ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยพบว่าชุมชนโต๊ะบาหลิวประสบปัญหาคุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้มาตั้งแต่เดิมนั้นเป็นน้ำกร่อย ส่วนระบบประปาที่นำมาใช้ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จึงสั่งการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ร่วมหารือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จะนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนเข้ามาติดตั้งให้ชุมชน นอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ชาวบ้านกว่าร้อยครัวเรือน รวมถึงความมั่นคงด้านน้ำให้กับภาคการท่องเที่ยวในหมู่เกาะลันตาแล้ว ยังเป็นการนำเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย และจะใช้เป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบให้กับชุมชนที่ประสบปัญหาด้านน้ำในลักษณะเดียวกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 มกราคม 2567

 

 

1787

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

AXA 720 x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!