WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565

Gov 29

รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ของอว.

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (คณะกรรมการฯ) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการฯ ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการฯ จัดทำรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 (รายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะฯ) เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการขอรับใบอนุญาต การแจ้งสถานที่ดำเนินการ และแจ้งการดำเนินการต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ สรุปผลและจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาการดำเนินงานในระยะต่อไป [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 (พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ) มาตรา 8 (10) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ จัดทำรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการดำเนินการ เช่น (1) จัดทำกฎหมายลำดับรองประกอบการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 31 ฉบับ (2) รับคำขอใบอนุญาตใช้-ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มีผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 1,282 คน และผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 10,779 คน โดยมีผู้ผ่านการอบรมผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 10,122 คน และผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 170 คน (3) จัดทำระบบการให้บริการแบบออนไลน์ โดยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการและการสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service) งานขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ (4) จัดทำแผนกลยุทธ์ว่าด้วยการพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2565-2569 และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563-2569 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ และเป็นแนวทางให้หน่วยงาน องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นหลักในการจัดทำแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อพัฒนางานสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละองค์กรต่อไป (5) ประกาศนโยบายการกำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนางานด้านการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

          2. สรุปผลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

เรื่อง

 

ผลการดำเนินการ

(1) สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

มีหน่วยงานมาจดแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม 1 แห่ง และมีการแจ้งการสร้างหรือใช้สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์รวม 6 แห่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ จนถึงปัจจุบัน มีสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 303 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยมากที่สุด รองลงมา เช่น การสอน การทดสอบ การผลิตสัตว์ประเภทสัตว์เลี้ยง

(2) สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 162.80 ล้านตัว แบ่งเป็น สัตว์ทดลอง 64,335 ตัว สัตว์เลี้ยง 1.40 ล้านตัวและสัตว์จากธรรมชาติ 161.33 ล้านตัว โดยสัตว์ที่มีการใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด ได้แก่ แมลงวันและปลา (ทั้งประเภทสัตว์เลี้ยงและจากธรรมชาติ) และสัตว์ทดลองที่นิยมใช้มากที่สุด คือ หนูเมาส์ รองลงมา เช่น หนูแรท หนูตะเภา และกระต่าย

(3) ผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

มีผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยื่นขอรับใบอนุญาต 1,282 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558-2565 มีผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์รวม 10,779 คน

(4) ผู้ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

มีผู้ผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยื่นขอรับใบอนุญาต 3 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558-2565 มีผู้ขออนุญาตผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์รวม 170 คน

(5) ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สัตว์

 

มีโครงการที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 1,552 โครงการ โดยเป็นโครงการเพื่อการวิจัยมากที่สุด 1,249 โครงการ (ร้อยละ 80)

(6) การดำเนินการนำเข้า ส่งออก นำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

- มีการแจ้งนำเข้าสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 12 ครั้ง จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งสิ้น 553 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูแฮมเตอร์ และเห็บ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขายและการใช้สัตว์

- มีการแจ้งส่งออกสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 125 ครั้ง จากสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมทั้งสิ้น 86,416 ตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท และยุงก้นปล่องที่ติดเชื้อ พลาสโมเดียมและไม่ติดเชื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขาย การตรวจเชื้อ และงานวิจัย

(7) การรายงานการขายสัตว์ทดลองประจำปี

 

มีการขายสัตว์ทดลองจากแหล่งผลิตสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 5.71 ล้านตัว ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท กระต่าย หนูตะเภา ไข่ปลอดเชื้อเฉพาะ SPF และไข่ไก่ปลอดเชื้อ โดยสัตว์ที่มีการขายมากที่สุด คือ หนูเมาส์

(8) การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

มีการแจ้งโครงการเกี่ยวกับดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 15 โครงการ โดยเป็นการสืบสายพันธุ์ 2 โครงการ การสืบสายพันธุ์ เพาะขยายพันธุ์ 7 โครงการ และการเพาะขยายพันธุ์ 6 โครงการ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2559-2565 มีการแจ้งโครงการเกี่ยวกับการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 72 โครงการ

 

          3. การพัฒนางานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในระยะต่อไป สรุปได้ ดังนี้

              3.1 พัฒนาคุณภาพสัตว์ทดลองทั้งชนิดและปริมาณให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้สัตว์ เช่น (1) สนับสนุนแหล่งผลิตภัณฑ์สัตว์ทดลองและบริการ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 2 แห่ง เป็นภาครัฐ 1 แห่ง คือ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคเอกชน 1 แห่ง คือ บริษัท เอ็มเคลียไบโอรีซอร์ส จำกัด โดยภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนศูนย์ทดลองแห่งชาติในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ผลิตสัตว์ให้ได้คุณภาพและหลากหลายตามความต้องการ (2) ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้า-ส่งออกสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

              3.2 พัฒนาสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานตามลักษณะงานที่ใช้ เช่น ทุกหน่วยงานต้องมีแผนพัฒนาสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน ต้องทบทวนความสำคัญและความจำเป็นของแต่ละสถานที่ดำเนินการและมีการประเมินความเหมาะสมเพื่อประกอบการสนับสนุนงบประมาณ

              3.3 ส่งเสริมและพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เช่น สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การผลิตวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นในประเทศ

              3.4 พัฒนาบุคลากร เช่น (1) จัดให้มีหลักสูตรวิชาการเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในระดับอาชีวศึกษาเพื่อสร้างพนักงานเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพ (2) ให้ความรู้แก่บุคลากรผู้ใช้สัตว์ รวมถึงนักเรียนและนักศึกษาเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สัตว์

              3.5 พัฒนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ให้มีความเข้มแข็งในการกำกับดูแล เช่น จัดอบรมและสัมมนาเพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ คกส.

              3.6 พัฒนาหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฯ [สพสว. (วช.)] โดย วช. ต้องจัดสรรอัตรากำลังและสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 มกราคม 2567

 

 

1790

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

AXA 720 x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!