WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023

Gov 37

ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าตามตารางติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประจำปี ค.ศ. 2023 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia - Pacific Economic Cooperation : APEC) หรือเอเปค ปี 2566 ได้จัดสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประจำปี ค.ศ. 2023 (2023 APEC Economic Leaders’ Meeting) ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้หัวข้อหลัก คือ “การสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน” (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) โดยผลการประชุมและผลการหารือที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้

          1. สรุปผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023

          ที่ประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์ดังกล่าวได้รับรองเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 2 ฉบับ โดยฉันทามติ ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 (2023 APEC Ministerial Meeting Joint Ministerial Statement) และ (2) ปฏิญญาโกลเดนเกตของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Leaders’ 2023 Golden Gate Declaration) ซึ่งเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาสาระครอบคลุมประเด็นหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อมโยง (Interconnected) การใช้นวัตกรรม (Innovative) และความครอบคลุม (Inclusive) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็นสำคัญ

รายละเอียด

ภาพรวม

- ถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นระดับรัฐมนตรีตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา .. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040)1 เพื่อไปสู่ประชาคมเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และมีสันติภายในปี .. 2040 แผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา (Aotearoa Plan of Action)2 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว [Bangkok goals on Bio - Circular - Green (BCG) Economy]3 รวมถึงสะท้อนการขับเคลื่อนงานสำคัญในปี 2566 อาทิ การเสริมสร้างระบบสาธารณสุขเพื่อป้องกัน เตรียมพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาด (Pandemic Prevention, Preparedness, and Response: PPR) เพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่น เท่าเทียม ยั่งยืน และครอบคุณม รวมถึงเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามที่ได้มีการหารือในการประชุมระดับสูงด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจ ครั้งที่ 13 ซึ่งดำเนินการร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

- ปฏิญญาโกลเดนเกตของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในการสานต่อเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกให้มีความยืดหยุ่น ความยั่งยืน ความเชื่อมโยง นวัตกรรม และความครอบคลุม และสามารถจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างและผันผวนได้

การส่งเสริม

ความเชื่อมโยง

- เน้นย้ำความมุ่งมั่นเพื่อบรรลุสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ครอบคลุม และคาดการณ์ได้ และสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่มีองค์การการค้โลก (World Trade Organisation: WTO) เป็นแกนกลาง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบทบาทขององค์การการค้าโลกจะยังดำเนินต่อไป และรวมทั้งสนับสนุนการปฏิรูปองค์การการค้าโลกเพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การการค้าโลกให้สามารถจัดการความท้าทายทางการค้าโลกได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ อาทิ การกำหนดกลไกระงับข้อพิพาทที่เข้าถึงง่ายและมีประลิทธิภาพ

- ผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ขับเคลื่อนโดยตลาดมากขึ้นภายใต้วาระเขตการค้าเสรีเอเชีย - แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific: FTAAP)4 โดยเสริมสร้างขีดความสามารถและความร่วมมือทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนความพร้อมของเขตเศรษฐกิจในการเข้าร่วมการดำเนินงานระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง รวมทั้งศึกษาประเด็นที่มีการเห็นพ้องและเห็นต่างในทุกข้อบทของความตกลงทางการค้าในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง

- ผลักดันการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมสำหรับภาคธุรกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในภูมิภาคให้สามารถกลับไปดำเนินกิจการได้ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของเอเปค (.. 2015 - 2025) (APEC Connectivity Blueprint 2015 - 2025) โดยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ เชิงองค์กร และระหว่างประชาชน รวมถึงย้ำความสำคัญของการพัฒนาและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ

การใช้นวัตกรรม

เพื่อความยั่งยืน

- แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตร ทรัพยากรทางทะเล การประมง และการป่าไม้ และต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนความพยายามในการสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเน้นย้ำบทบาทของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงทางอาหารมุ่งสู่ปี .. 2030 (Food Security Roadmap 2030) เพื่อบรรลุระบบการเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เป็นธรรม และยืดหยุ่นมากขึ้น และลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

- เพิ่มความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนฝานไปสู่พลังงานสะอาด ยั่งยืน เป็นธรรม ราคาไม่แพง และครอบคลุมผ่านแนวทางต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในหรือประมาณกลางศตวรรษนี้ โดยคำนึงถึงพัฒนาการล่าสุดทางวิทยาศาสตร์และสถานการณ์ภายในของเขตเครษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาซึ่งยุคสมัยของการจ้างงานที่ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค รวมถึงผลักดันและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานหมุนเวียนของโลกเป็นสามเท่าผ่านเป้าหมายและนโยบายที่มีอยู่แล้ว โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายในของเขตเศรษฐกิจเอเปคภายในปี .. 2030 เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านและการลงทุนในภาคการขนส่งที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ในภูมิภาค การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนในภาคการบิน และการขนส่งทางทะเลที่ปล่อยก๊าชต่ำและเป็นศูนย์ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในท่าเรือ

- ให้ความสำคัญบทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลที่ช่วยให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และเสริมสร้างนวัตกรรม โดยเร่งดำเนินการตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค (APEC Internet and Digital Economy Roadmap) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางการค้าไปสู่ดิจิทัลผ่านการพัฒนาและการใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าแบบไร้กระดาษ (paperless trade facilitation measures) และรับทราบข้อเสนอแนะเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบคลาวด์ในเอเปค ซึ่งจะส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)5 มาใช้อย่างรวดเร็วในภูมิภาค รวมทั้งลดช่องว่างทางดิจิทัลทุกรูปแบบด้วยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ปรับปรุงความเชื่อมโยงทางดิจิทัล และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลไกของเอเปคในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างภาคบริการและงานที่เกี่ยวข้องในด้านกฎระเบียบภายในประเทศ เพื่อสร้างความเปิดกว้าง ความสมดุล ความโปร่งใส และความครอบคลุมและตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายแรงจากการทุจริต โดยมีกรอบประเด็นสำหรับการต่อต้านการทุจริตของเอเปค ปี .. 2023 - 2026 (Framework for APEC Anti - Corruption Thematic Areas 2023 - 2026) เพื่อขับเคลื่อนวาระการต่อต้านการทุจริตและความโปร่งใสของเอเปค อำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามอนุสัญญาต่อต้านการทุจริตของสหประชาชาติ (United Nations against Corruption) และปฏิเสธการเป็นพื้นที่พักพิงสำหรับผู้กระทำผิดการทุจริตและทรัพย์สินที่ผิดกฎหมาย โดยให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ

การเสริมสร้าง

ความครอบคลุม

- เสริมสร้างการเติบโตที่นำมาซึ่งประโยชน์ที่ชัดเจน ส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Small and Medium Enterprise: MSME) ที่สตรีเป็นเจ้าของกิจการและมีส่วนสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมของเขตเศรษฐกิจเอเปค รวมทั้งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

- เน้นย้ำความสำคัญของการบูรณาการประเด็นเพศสภาพผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเท่าเทียมตามแผนปฏิบัติการลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเติบโตที่ครอบคลุม (.. 2019 - 2030) [La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth (2019 - 2030) จะลดอุปสรรคและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจ เละการเงินของสตรีและเด็กหญิงจากพื้นเพที่แตกต่างกัน และกลุ่มอื่นๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้การสนับสนุนให้สามารถแสดงศักยภาพได้ อาทิ กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม คนพิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบทและชุมชนห่างไกล

- ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ผลักดันการจ้างงานและการมีงานที่ดี ยกระดับความพยายามในการสร้างทักษะใหม่และพัฒนาทักษะให้ดีขึ้น และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ มีประสิทธิผล และคล่องตัว

 

          ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ปรับแก้เอกสารผลลัพธ์ทั้ง 2 ฉบับ โดยเป็นการเพิ่มประเด็นสำคัญ อาทิ การเสริมสร้างความเชื่อมโยง การอำนวยความสะดวกด้านคมนาคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการปรับแก้ดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของประเทศไทยและเป็นไปตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ (7 พฤศจิกายน 2566)

          2. ประโยชน์และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย

          นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ที่เน้นย้ำว่าไทยได้กลับมามีบทบาทในเวทีโลกแล้ว พร้อมเปิดรับการค้าและการลงทุนจากทั่วโลก และกล่าวถึงนโยบายสำคัญเพื่อเร่งการเติบโตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ การจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด การส่งเสริมความเชื่อมโยงและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge)6 และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งประเทศไทยได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการกำหนดนโยบายการพัฒนาเอเปคในเชิงสถาบันโดยเฉพาะการสานต่อผลสัพธ์ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของประเทศไทยเมื่อปี 2565 เพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมของภูมิภาค ซึ่งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและชูบทบาทนำของประเทศไทยในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของภูมิภาคและของโลกผ่านเวทีเอเปค นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพร์ทั้งสองฉบับในระหว่างการประชุมที่ได้มีการเพิ่มประเด็นสำคัญ อาทิ การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายและการดำเนินการโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน

          3. ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดตามจากผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 โดยมีตัวอย่างประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามรายประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม อาทิ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ

นโยบายภาพรวม

 

ดำเป็นการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา .. 2040 แผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ- เศรษฐกิจหมุนเวียนเศรษฐกิจสีเขียว

 

ทุกหน่วยงาน

ผลักดันภูมิภาคเอเปคที่เชื่อมโยงกัน

การเสริมสร้างระบบสาธารณสุข

 

เสริมสร้างระบบสาธารณสุขเพื่อป้องกัน เตรียมพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาศ

- บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พัฒนาบริการสาธารณสุขปฐมภูมิเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และลงทุนและระดมทุนเพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและยืดหยุ่น รองรับแรงานที่มีทักษะและความสามารถ

 

- กระทรวงแรงงาน

- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และเปิดกว้าง

 

-รักษาตลาดให้เปิดกว้างและรับมือกับการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น ยั่งยืน และเปิดกว้าง

- สานต่อความร่วมมือด้านท่าเรือและชายแดนและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบรวมศูนย์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อปรับปรุงและลคความซับซ้อนของพิธีการท่าเรือและขั้นตอนศุลกากร

 

- กระทรวงการคลัง

- กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

สร้างแรงบันดาลใจสำหรับภูมิภาคเอเปคที่มีนวัตกรรมและยั่งยืน

การบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ

 

- ส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตร ทรัพยากรทางทะเล การประมง และการป่าไม้

ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน ความยืดหยุ่นของชายฝั่ง ตลอดจนการบริหารจัดการการประมง ทรัพยากรระบบนิเวศทางทะเล และสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

 

- พิจารณาการดำเนินการทางนโยบายร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล

- ส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน สะอาด และปล่อยคาร์บอนต่ำในทุกภาคส่วนผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

 

- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)

- พณ.

เสริมสร้างภูมิภาคเอเปคที่ครอบคลุม

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มต่างๆ

 

- สนับสนุนเชิงรุกต่อข้อริเริ่มและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงทางเพศสภาพและการเลือกปฏิบัติกับสตรีและเด็กหญิงจากพื้นเพที่ต่างกัน

- สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรีที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในเศรษฐกิจยั่งยืน และการศึกษาของสตรีและเด็กหญิง รวมถึงในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์

 

- กระทรรงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

- ดศ.

- กระทรวงศึกษาธิการ

การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

 

- จัดลำดับความสำคัญและขจัดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการบริโภคที่สิ้นเปลืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป

- ผลักดันความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ การใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนในภาคการบิน และการขนส่งทางทะเลที่ปล่อยก๊าซต่ำและเป็นศูนย์ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในท่าเรือ

 

- กระทรวงคมนาคม (คค.)

- ทส.

- กระทรวงพลังงาน

พัฒนาเอเปคในฐานะสถาบัน

การส่งเสริมการทำงานของเอเปค อย่างมีประสิทธิภาพ

 

- พัฒนาเอเปคในฐานะสถาบันต่อไปตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา .. 2040

- สานต่อความพยายามในการปรับปรุงธรรมาภิบาลและโครงสร้างองค์กร รวมถึงในระดับคณะทำงาน และสนับสนุนความพยายามในการเสริมสร้างศักยกาพและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเข้มแข็ง

 

ทุกหน่วยงาน

 

____________________________________

1เป็นเป้าหมายในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมีสาระสำคัญ คือ (1) การค้าและการลงทุน (2) นวัตกรรมและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล และ (3) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม

2มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 มาปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ (1) สร้างเศรษฐกิจเอเปคให้มีพลวัต และเชื่อมโยงการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคมากที่สุด (2) สร้างศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนทุกกลุ่มด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม และ (3) ส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพ

3เป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยริเริ่มและผลักดันเพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของเอเปคผ่านการใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวกาพ-ศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยถือเป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม

4เขตการค้าเสรีะหว่างประเทศสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ซิลี เปรู รัสเซีย และประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

5บริการเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์และทรัพยากรแบบครบวงจร โดยสามารถเลือกเช่าฮาร์ดแวร์และ/หรือชอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย (Sever) การติดตั้งฐานข้อมูล (Database) การทดสอบระบบ (Testing) การประมวลผลที่รองรับได้หลากหลายระบบปฏิบัติการ (Platform) ตลอดจนถึงการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ (Storage)

6เป็นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล คือ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอาวไทยในจังหวัดชุมพร และท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันในจังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 90 กิโถเมตร ได้แก่

(1) ทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร และ (2) ทางรถไฟเชื่อมต่อโครงข่ายหลัก และ (3) ทางรถไฟเชื่อม 2 ท่าเรือ โดยถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2190

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!