WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย

Gov 31

การจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

          1. ร่างความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย) (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างความตกลงฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

          2. ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว 

(จะมีการลงนามในร่างความตกลงฯ ระหว่างการประชุม Political Consultation ไทย - ลิทัวเนีย ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ณ กรุงเทพมหานคร)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า ไทยและลิทัวเนียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 และมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมหารือทวิภาคี เป็นกลไกการพัฒนาและติดตามความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยในปี 2565 ไทยและลิทัวเนียมีมูลค่าการค้ารวมกันจํานวน 70.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยมีมูลค่าการส่งออก จํานวน 39.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้าจํานวน 31.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยได้เปรียบดุลการค้าจำนวน 7.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และในช่วงเดือน มกราคม - กรกฎาคม 2566 มูลค่าการค้าระหว่างกันอยู่ที่จำนวน 87.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น จํานวน 47.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 119.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ซึ่งมูลค่าการส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นมาจากสินค้าประเภทอากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ ปัจจุบันลิทัวเนียมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ไทยและลิทัวเนียจะมีความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งลิทัวเนียได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีความมั่นคงทางไซเบอร์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (จัดลำดับโดย National Cybersecurity Index 20221) นอกจากนี้ลิทัวเนียยังมีความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การจัดทำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี การเงิน และเทคโนโลยีเลเซอร์ทั้งด้านการแพทย์และอุตสาหกรรม ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีได้ โดยฝ่ายลิทัวเนียได้ริเริ่มข้อเสนอการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลลิทัวเนีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มีการปรับแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องและเห็นชอบร่างความตกลงฯ แล้ว

          ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

ข้อตกลง

 

(1) ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้งานได้ของไทยและของลิทัวเนีย จะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเดินทางเข้า พำนัก เดินทางผ่าน และเดินทางออกจากดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่เดินทางเข้าในระยะเวลา 180 วัน2 (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้น จะไม่ทำงานใด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเอง หรือกิจกรรมส่วนตัวใดในดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

(2) หนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการของคนชาติตามข้อ 1. ต้องมีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน ในวันที่เดินทางเข้าไปในดินแดนของรัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

(3) ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามความตกลงนี้ สามารถเดินทางเข้า เดินทางผ่าน หรือเดินทางออกจากดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ จุดผ่านแดนที่เปิดเพื่อการสัญจรของผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายที่ใช้บังคับกับการเดินทางเข้า การเดินทางออก แกะการพำนักของคนต่างชาติ

(4) รัฐคู่สัญญาจะต้องแจ้งอีกฝ่ายหนึ่งผ่านของทางการทูตในทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับกับการเดินทางเข้า การเดินทางออก และการพำนักของคนต่างชาติ

การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

 

(1) รัฐคู่สัญญาจะแลกเปลี่ยนตัวอย่างหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่มีอายุใช้งานได้ ผ่านช่องทางการทูตอย่างน้อย 30 วัน ก่อนความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับ

(2) ในกรณีที่มีการนำหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการฉบับใหม่มาใช้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่มีอยู่ รัฐคู่สัญญาจะต้องจัดส่งตัวอย่างหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงให้อีกฝ่ายหนึ่งผ่านช่องทางการทูต อย่างน้อย 30 วันก่อนการเริ่มนำมาใช้

(3) ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่ยังมีอายุใช้งานได้หายหรือชำรุดในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง บุคคลผู้นั้นจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของอีกฝ่ายหนึ่งโดยทันที ผ่านคณะผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลของรัฐที่ตนถือสัญชาติ และคณะผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลที่เกี่ยวข้องนั้น จะออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารเดินทางฉบับใหม่ให้บุคคลดังกล่าวเพื่อเดินทางกลับรัฐที่บุคคลผู้นั้นถือสัญชาติ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของรัฐนั้น

การแก้ไข

 

ความตกลงนี้อาจได้รับการแก้ไขโดยความเห็นชอบร่วมกันของรัฐคู่สัญญาผ่านการจัดทำพิธีสารหรือหนังสือแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมผ่านช่องทางการทูต

การระงับข้อพิพาท

 

ความแตกต่างหรือข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการดำเนินการตามความตกลงนี้ จะได้รับการระงับอย่างฉันมิตรโดยการปรึกษาหารือหรือการเจรจาระหว่างรัฐคู่สัญญาผ่านช่องทางการทูต

ผลบังคับใช้

 

(1) มีผลใช้บังคับในวันที่ 60 นับจากวันที่ได้รับแจ้งต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต และไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด

(2) สามารถยกเลิกความตกลงโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต และจะสิ้นสุดการมีผลใช้บังคับใน 90 วันหลังจากวันที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งการยกเลิกความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร

(3) การระงับการใช้บังคับความตกลงนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อย สาธารณะ หรือสาธารณสุข รัฐผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับวันที่มาตรการดังกล่าว โดยจะมีผลใช้บังคับหรือสิ้นสุดผ่านช่องทางการทูตไม่ช้ากว่า 30 วัน ก่อนที่มาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

(4) การระงับการใช้บังคับความตกลงนี้จะไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ที่ได้เดินทางเข้าไปในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนการระงับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

 

          ประโยชน์ที่ได้รับ: ร่างความตกลงฯ จะช่วยอำนวยความสะดวก และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยน การเยือน และการประสานราชการระหว่างไทยและลิทัวเนีย ตลอดจนสานต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกันให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น 

          กต. แจ้งว่า ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพันธกรณีแก่รัฐบาลไทยและรัฐบาลรัฐลิทัวเนียที่จะยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการของแต่ละฝ่าย จึงเข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามแต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา 

_____________________ 

หมายเหตุ : 1 National Cybersecurity Index เป็นดัชนีชี้วัดระดับของการพัฒนารักษาความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์ของแต่ละประเทศ จัดทำโดยสหภาพโทรคมนาคม (International Telecommunication Union : ITU) ดำเนินการร่วมกับสถาบัน Allied Business Intelligence (ABI Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และมีเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการทำให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นวัฒนธรรมของโลก

 2การกำหนดระยะเวลาการพำนักได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน ในทุกๆ รอบการเดินทาง 180 วัน เป็นไปตามกฎของสหภาพยุโรปที่ใช้สำหรับกลุ่มข้าราชการที่เดินทางไปราชการระยะสั้นและนักท่องเที่ยว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2193

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!