WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567

Gov 08

มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ ดังนี้

          1. รับทราบมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 (9 มาตรการ) และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567

          2. มอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้ กนช. ทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กนช. รายงานว่า

          1. ตามปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้หน่วยงานนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี (ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งช่วงฤดูแลังเริ่มวันที่ 1 มีนาคม สิ้นสุดวันที่ 31สิงหาคมของทุกปี และช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี) โดยในช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ดังนี้

              1.1 คาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 แผนการจัดสรรน้ำ และความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด และปริมาณน้ำที่นำมาใช้ได้แหล่งน้ำบาดาลตามข้อมูลศักยภาพน้ำบาดาล (รายตำบล/อำเภอ/จังหวัด) พร้อมการจัดหาแหล่งน้ำสำรองทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน

              1.2 คาดการณ์แผนการใช้น้ำรายเดือน ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 รายกิจกรรม ประกอบด้วย อุปโภคบริโภค การเกษตรโดยส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมจัดการน้ำใช้หลัก 3R (Reduce Reuse Recycle) ให้เพียงพอต่อปริมาณน้ำต้นทุนช่วงฤดูแลัง และรองรับสถานการณ์เอลนีโญ

              1.3 คาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกพืช ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน

              1.4 ประเมินพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/2567 โดยแบ่งเป็นพื้นที่อุปโภคบริโภค (ในเขต/นอกเขตพื้นที่ให้บริการประปานครหลวง/ภูมิภาค) และพื้นที่เกษตรกรรม (นาข้าว/ไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ) และพื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

              1.5 การส่งเสริมความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ

          2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ และจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

              2.1 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 จำนวน 3 ด้าน 9 มาตรการ ดังนี้

 

การดำเนินการ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ด้านน้ำต้นทุน (Supply)

มาตรการที่ 1 เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)

(1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร และคุณภาพน้ำ (ก่อนและระหว่างฤดู) พร้อมทั้งติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง

(2) สำรวจ ตรวจสอบ พื้นที่แหล่งเก็บกักน้ำสำรอง และจัดทำแผนปฏิบัติการสำรองน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร

(3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำได้ทันสถานการณ์

(4) จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางที่มีมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เสียง/พื้นที่เกิดเหตุ(บ่อบาดาล)

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยเละนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สทนช.

มาตรการที่ 2 ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)

(1) จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม

(2) จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติการเติมน้ำ/สูบผันน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ

 

กษ. และ ทส.

ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand)

มาตรการที่ 3 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรเตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)

(1) กำหนดแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และสถานการณ์เอลนีโญ พร้อมแจ้งแผนให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

(2) กำหนดแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยระบุพื้นที่คาดการณ์เพาะปลูกและแหล่งน้ำที่นำมาใช้ให้ชัดเจน ในรูปแบบแผนที่เพื่อให้การเพาะปลูกสอดคล้องกับบริมาณน้ำต้นทุน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขการเพาะปลูกพืชพื้นที่นอกแผนและพื้นที่ที่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้ โดยมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง

(3) ควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผน และมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง และมอบหมาย มท. ร่วมกับ กษ. และ ทส. สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อควบคุมการส่งน้ำให้ตรงตามวัตถุประสงค์

(4) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี)

(5) สำรวจ ตรวจสอบ คันคลอง เขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนที่เชื่อมต่อกับทางน้ำ ในพื้นที่ที่อาจจะเกิดการทรุดตัว เนื่องจากระดับน้ำในทางน้ำที่อาจจะลดต่ำกว่าปกติ

 

กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. กระทรวงพลังงาน (พน.) มท. สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 4 บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด (ตลอดฤดูแล้ง)

จัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำกำหนดเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ

 

กษ. พน. ทส. มท. สำนักงาน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)

(1) สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายทอด เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายไต้ในพื้นที่ อาทิ ปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ปรับปรุงระบบการให้น้ำพืชนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น

(2) การประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน มีการดำเนินการ ดังนี้

     (2.1) วางแผนลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน

     (2.2) ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงานอุตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ

(3) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปาและระบบชลประทาน มีการดำเนินการ ดังนี้

     (3.1) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปา

     (3.2) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำในระบบชลประทาน โดยการปรับรอบเวรการส่งน้ำ ให้สอดรับกับปริมาณความต้องการน้ำของพื้นที่

 

อว. กษ. สทนช. และคณะกรรมการลุ่มน้ำ

มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ (ตลอดฤดูแล้ง)

เฝ้าระวัง ตรวจวัด ควบคุม และแก้ไขคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึงแหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน รวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำ

 

กษ. ทส. มท. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

ด้านการบริหารจัดการ (Management)

มาตรการที่ 7 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ (ตลอดฤดูแล้ง)

เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและองค์กรผู้ใช้น้ำที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ การเตรียมจัดหาน้ำสำรองและการกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและ/หรือการเกษตรตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งพัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชุมชน

 

อว. กษ. ทส. มท. สทนช. และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ

มาตรการที่ 8 สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ (ก่อนและตลอดฤดูแล้ง)

สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด และเป็นไปตามแผนที่กำหนด

 

นร. มท. สทนช. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

มาตรการที่ 9 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (ตลอดและหลังจากสิ้นสุดฤดูแล้ง)

(1) ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน รายงานผลการให้ความช่วยเหลือ และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติและ กนช.

(2) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน

 

มทฐ และ สทนช.

 

              2.2 การจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567 สรุปได้ ดังนี้ 

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

(1) เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำหรือเสี่ยงภัยแล้ง

(2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง

(3) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

กิจกรรมและประเภทโครงการ

 

แบ่งเป็น 5 ประเภท เพื่อรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ กลั่นกรองแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานในแต่ละประเภท ดังนี้

กลุ่มประเภท

 

รายละเอียด

(1) การซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์

 

เป็นงานช่อมแซมอาคารชลศาสตร์ที่ชำรุดเสียหายจากการใช้งานหรือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุม การระบายน้ำ และการเก็บกักน้ำให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เดิมของโครงการ เช่น ซ่อมแซมพนังกั้นน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำคลองส่ง/ระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ เป็นต้น

(2) การปรับปรุงอาคารชลศาสตร์

 

เป็นการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจากเดิมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง หรือให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น คลองส่งน้ำ/ระบายน้ำ และฝายเพื่อเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์

(3) การสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

 

เป็นงานที่ดำเนินการเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เช่น ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล ปรับปรุงบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปา ปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา ก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำสำรองเพื่อการอุปโภคบริโภคและการปรับปรุงคุณภาพน้ำแหล่งน้ำต้นทุน

(4) การเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง

 

เป็นงานที่ดำเนินการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น เช่น งานขุดลอกห้วย หนอง คลอง บึง สระ งานก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อการเกษตร งานระบบส่งน้ำและระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตร งานบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ฝนหลวงและธนาคารน้ำใต้ดิน

(5) การเตรียมความพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร

 

เป็นการซ่อมแชมบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมให้พร้อมใช้งานได้ทันต่อสถานการณ์ เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำและองค์ประกอบ เป็นต้น

 

หมายเหตุ : สทนช. จะไม่พิจารณาแผนงานโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น งานด้านซ่อม/ปรับปรุงถนน สะพาน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย/สำนักงาน และงานปรับปรุงภูมิทัศน์

 

          3. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ เช่น

              3.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 หลังจาก กนช. ให้ความเห็นชอบมาตรการดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ให้ สทนช. ทราบทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง เพื่อให้การขับเคลื่อนตามมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

              3.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนงานโครงการและความพร้อมของโครงการให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ 5 ประเภทของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์และเป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2197

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!