WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

Gov 27

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

          1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 14.13 จากรถบรรทุกปิกอัพเป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ผลจากความเปราะบางด้านรายได้และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ

          2. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 16.38 จากทิศทางของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว รวมทั้งอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนประเภทสินค้าที่ผลิตจากสินค้าในกลุ่ม home-use (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือน) เพื่อจำหน่ายในช่วงโควิด มาผลิตในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมแทน เช่น ยานยนต์ IOT เป็นต้น ทำให้มีจำนวนผลิตลดลงแต่ราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

          3. เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน หดตัวร้อยละ 14.19 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย และลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าส่วนหนึ่งเลือกซื้อเหล็กนำเข้าซึ่งมีราคาถูกจากต่างประเทศทดแทน

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

          1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 29.91 จากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น แต่ปีนี้มีการผลิตตามปกติ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง

          2. เครื่องประดับเพชรพลอย ขยายตัวร้อยละ 12.91 จากสินค้าสร้อยและแหวนเป็นหลัก เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับคำสั่งจากบริษัทแม่ให้ผลิตสินค้า 2 ชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปีนี้ผู้ผลิตมีวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2201

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!