WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28

Gov 35

ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (การประชุม คณะมนตรีฯ) ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับหุ้นส่วนการพัฒนา (การประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา) ครั้งที่ 28 ตามที่คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (คณะกรรมการฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน] เสนอ 

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการฯ รายงานว่า

          1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 พฤศจิกายน 2566) อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 โดยเป็นกรอบการหารือเกี่ยวกับการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (สำนักงานฯ) รวมทั้งเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือ และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะสมาชิกคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้ลงนามรับรองรายงานการประชุม

          2. การประชุมคณะมนตรีฯ ครั้งที่ 30 และการประชุมคณะมนตรีฯ กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ โดยในส่วนของประเทศไทย มีเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (นายสุรสีห์ กิตติมณฑล) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม มีผลลัพธ์การประชุม [เป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ตามข้อ 1)] สรุปได้ ดังนี้

 

ที่ประชุมมีมติ

สาระสำคัญ

อนุมัติ

ร่างขอบเขตการดำเนินงาน (TOR) สำหรับ CEO ของสำนักงานฯ ที่เสนอโดยประเทศไทย เนื่องจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันจะหมดวาระ (มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี) โดยการดำรงตำแหน่ง CEO จะหมุนเวียนตามตัวอักษรของประเทศสมาชิก1 และผู้ที่ดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะมาจากประเทศไทย2 [สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยจะดำเนินการสรรหา และคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ใน TOR สำหรับ CEO ของสำนักงานฯ โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี .. 2567 และเป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 (ตามข้อ 1)]

รับทราบ

ความก้าวหน้าการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ดังนี้

(1) ความร่วมมือกับพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(2) การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

(3) การดำเนินการตามแผนระดับภูมิภาคเชิงรุก

(4) เครือข่ายติดตามเฝ้าระวังหลักแม่น้ำโขง

(5) การจัดเตรียมรายงานสถานการณ์ของลุ่มน้ำโขง ปี .. 2566 

(6) ความก้าวหน้าการศึกษาร่วม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพทางอุทกวิทยาของลุ่มน้ำโขง - ล้านช้าง

(7) รายงานสภาพทางอุตุ - อุทกวิทยาและสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ปี .. 2566

 

          3. ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (ประเทศสมาชิกฯ) และหุ้นส่วนการพัฒนา3 ร่วมกล่าวถ้อยแถลง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเทศสมาชิก/หุ้นส่วน

การพัฒนา

สาระสำคัญ

ประเทศไทย

- ชื่นชมการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน .. 2538 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางน้ำ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม

- เสนอให้ร่วมมือกันรักษาทรัพยากรน้ำและคำนึงถึงการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำ การสร้างความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

- แสดงความมุ่งหวังว่าแผนการดำเนินงานระดับภูมิภาคเชิงรุกที่อยู่ในระหว่างจัดทำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจะนำไปสู่โครงการร่วมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ที่มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการพัฒนาในลุ่มน้ำที่ครอบคลุมและทั่วถึง โดยเห็นว่าโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยเพิ่มคุณค่า และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในลุ่มน้ำโขง

- แสดงความมุ่งมั่นและสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประเทศคู่เจรจา หุ้นส่วนการพัฒนา และหุ้นส่วนความร่วมมือระดับ ภูมิภาคและนานาชาติอื่นๆ ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดน ให้เกิดความยั่งยืน

กัมพูชา

- ชื่นชมประเทศสมาชิกที่ได้ร่วมกันอนุมัติแผนดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ แม่น้ำโขง ประจำปี .. 2566 – 2567 

- ขอบคุณหุ้นส่วนการพัฒนาที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและเงินทุน และขอบคุณประเทศคู่เจรจาที่ทำงานร่วมกันกับประเทศสมาชิก

- กล่าวว่ากัมพูชาได้พยายามแก้ไขปัญหา และผลักดันยุทธศาสตร์เบญจโกณ ระยะที่ 1 (Pentagonal Strategy - Phase 1)4 เพื่อขยายการดำเนินนโยบายสู่ความยั่งยืน การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการดูแลผืนดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ

สปป. ลาว

- กล่าวถึงความสำเร็จของการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 สปป.ลาว โดยมีผลลัพธ์การประชุม คือ ปฏิญญาเวียงจันทน์ .. 2023 รวมทั้งความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกหุ้นส่วนพัฒนา และหุ้นส่วนอื่นๆ

- สปป. ลาว ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์สู่ปี .. 2040 โดยการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการจัดทำ แผนบริหารจัดการลุ่มน้ำ ตลอดจนกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจระดับชาติ

เวียดนาม

เสนอให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติและภาวะฉุกเฉิน โดยจะต้องอาศัยฉันทามติและความมุ่งมั่นอันสูงสุดของประเทศสมาชิกในการดำเนินตามปฏิญญาเวียงจันทน์ .. 2023 และแผนกลยุทธ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงใน 3 ประเด็น ดังนี้ (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลอย่างเปิดกว้างและโปร่งใส (2) เสนอทางเลือกในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แทนการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ และ (3) เสริมสร้างศักยภาพ ของประเทศสมาชิกและการสนับสนุนด้านการเงิน รวมทั้งศึกษาวิจัยกลไกการเงินรูปแบบใหม่ เช่น กองทุนแม่น้ำโขง (Mekong Fund) เป็นต้น

หุ้นส่วนการพัฒนา

- ยินดีกับผลสำเร็จของกิจกรรมที่สร้างความมีส่วนร่วมของประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมถึงการมีส่วนร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในงานกิจกรรมสำคัญระดับโลก

- รับทราบถึงความพยายามของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการยกระดับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและปฏิบัติตามธรรมเนียม หลักการ และแนวทางร่วมกัน และขอให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงใช้กลไกดังกล่าวในการประสานงานการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงต่อไป

- ยินดีกับความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สู่ความยั่งยืนทางการเงินภายในปี .. 2030 และหวังว่าจะได้ร่วมมือ กับสำนักงานฯ ในการจัดตั้ง กำกับดูแล และการบริหารจัดการกองทุนแม่น้ำโขง (Mekong Fund) ต่อไป

 

__________________ 

1 หมุนเวียนตามตัวอักษรของประเทศสมาชิก ดังนี้ (1) สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม (เวียดนาม) (2) กัมพูชา (3) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และ (4) ประเทศไทย

2 เมื่อการดำรงตำแหน่ง CEO หมุนเวียนไปถึงประเทศใด ประเทศนั้นจะสามารถปรับปรุง TOR ของ CEO ให้คล้องกับวัตถุประสงค์ของประเทศนั้นๆ ได้ โดย TOR ของ CEO ที่ประเทศไทยเสนอในครั้งนี้ มีการปรับปรุง เช่น ปรับปรุงในประเด็นสัญชาติ โดยผู้ที่มาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ปรับปรุงคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของ CEO ในประเด็นประสบการณ์ทำงานเพื่อขยายและเปิดโอกาสให้กับผู้สมัครที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 

3 เช่น ออสเตรเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยจะบริจาคเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการฯ

4 เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 5 ประการ ได้แก่ (1) เสริมสร้างความยืดหยุ่นเพื่อฟื้นฟูในสภาวะวิกฤต (2) สร้างงาน (3) ลดความยากจน (4) เพิ่มศักยภาพการบริหารราชการ และ (5) พัฒนาสังคม เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2431

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!