การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 14 February 2024 00:51
- Hits: 10759
การปรับบทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
1. รับทราบ
1.1 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม 35 ฉบับ
1.2 ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... รวม 36 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
2. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
3. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 36 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดย 1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต รวม 35 ฉบับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง เพื่อปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ให้มีหน้าที่ในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนปฏิบัติการ เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติ มิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของส่วนราชการ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และรับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้ครอบคลุมทั้งส่วนราชการในสังกัด (กรม) รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน และ 2) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่ และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเช่นเดียวกับร่างกฎกระทรวงตาม 1) และรวมทั้งการจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มใหม่ ได้แก่ “กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ” โดยยกฐานะจากสำนักสนับสนุนระบบปฐมภูมิซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของกองกฎหมาย และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตัดสถาบัน พระบรมราชชนกออกจากส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 แล้ว ทั้งนี้ การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเพื่อปรับปรุงบทบาทภารกิจให้ครอบคลุมงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้าน การทุจริต ซึ่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 36 ฉบับในเรื่องนี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี (19 ธันวาคม 2549) และ ก.พ.ร. ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
การตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงเพื่อปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริต คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ (1) บทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เพื่อให้การขับเคลื่อนการต่อด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในประเด็นการประสานความร่วมมือของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ควรจัดทำหลักเกณฑ์การประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตของส่วนราชการกับรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และนำเสนอ ต่อสำนักงาน ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนถือปฏิบัติต่อไป และ (2) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนกลางที่ตั้งในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันมีหน่วยงาน คณะกรรมการ และแผนปฏิบัติการต่างๆ จำนวนมากที่อาจซ้ำซ้อนกัน และยังไม่มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการ และการดำเนินการสำหรับส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน สมควรที่สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ศึกษาและวิเคราะห์กลไกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและ การส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ในส่วนของหน้าที่และอำนาจของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) รวม 35 ฉบับ ซึ่งมีสาระปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศปท. โดยแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของ สปน. สำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง รวม 35 ฉบับ ใน 4 ประเด็น ดังนี้
1.1 กำหนดให้มีหน้าที่ในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหาร ความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
1.2 กำหนดให้มีหน้าที่เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
1.3 กำหนดให้มีหน้าที่ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และรับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงาน เร่งรัด และติดตามจนได้ข้อยุติ
1.4 กำหนดให้ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 กำหนดให้มีการประสานความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชนที่อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อมูลการจัดทำ และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานดังกล่าว เพื่อเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการในการจัดทำรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชนดังกล่าวต่อไป
1.6 กำหนดให้ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง สธ. โดยการจัดตั้งส่วนราชการเพิ่มใหม่ ได้แก่ กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ยกฐานะของ “สำนักสนับสนุนระบบปฐมภูมิ” ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน) และปรับปรุงหน้าที่ และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองกฎหมาย และ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตัดสถาบันพระบรมราชชนกออกจากส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศปท. ดังนี้
การแบ่งส่วนราชการในปัจจุบัน |
การแบ่งส่วนราชการ ที่ขอปรับปรุงใหม่ |
หมายเหตุ |
|
1. กลุ่มตรวจสอบภายใน |
คงเดิม |
- |
|
2. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร | คงเดิม | - | |
3. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริตฯ |
คงเดิม |
ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะต่อหัวหน้าส่วนราชการ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบเร่งรัด และกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ จัดทำรายงานและประสานความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน ที่อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อมูลการจัดทำ และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
|
4. กองกลาง |
คงเดิม |
- |
|
5. กองกฎหมาย |
คงเดิม |
แก้ไขหน้าที่และอำนาจ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และ การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้ง การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน ปลัดกระทรวงและกระทรวง |
|
6. กองการต่างประเทศ |
คงเดิม |
- |
|
7. กองการพยาบาล |
คงเดิม |
- |
|
8. กองตรวจราชการ |
คงเดิม |
- |
|
9. กองบริหารการคลัง |
คงเดิม |
- |
|
10. กองบริหารการสาธารณสุข |
คงเดิม |
- |
|
11. กองบริหารทรัพยากรบุคคล |
คงเดิม |
- |
|
12. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน |
คงเดิม |
- |
|
13. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ |
คงเดิม |
- |
|
|
เพิ่มกองสนับสนุนระบบสุขภาพ ปฐมภูมิ (ยกฐานะจาก “สำนัก สนับสนุนระบบปฐมภูมิ” ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน) |
กำหนดให้มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการ และปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง มอบหมาย และจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรการเกี่ยวกับบริการสุขภาพปฐมภูมิและระบบสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งประสานการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและมาตรการ เกี่ยวกับบริการสุขภาพปฐมภูมิ และระบบสุขภาพปฐมภูมิ |
|
14. กองสาธารณสุขฉุกเฉิน |
คงเดิม |
- |
|
15. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
คงเดิม |
แก้ไขหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม และนโยบายของกระทรวง |
|
16. สถาบันพระบรมราชชนก |
ตัดออก |
เนื่องจากสถาบันพระบรมราชชนก ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 กุมภาพันธ์ 2567
2447