WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime)

Gov 29

ขออนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) วงเงินทั้งสิ้น 22,102,973,600 บาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 7,469,328,800 บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน 14,633,644,800 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - พ.ศ. 2572 ตามนัยมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561

          ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำแผนการดำเนินการ และยืนยันความพร้อมของรายการดังกล่าว โดยกำหนดวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของรายการ รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ประมาณการราคาหรือผลการสอบราคา สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการให้ชัดเจนเพื่อประกอบการพิจารณา ตลอดจนควรกำหนดให้มีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกชั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็นตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          สาระสำคัญ

          ศธ. รายงานว่า ศธ. เห็นถึงความสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 โดยจะมีการปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัยด้วยการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัยและนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ศธ. ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งขยายประสิทธิภาพการทำงานของดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform: NDLP) ระยะที่ 1 จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสื่อสารและการเรียนแบบสองทาง โดยนำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของ ศธ. ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกำกับ ศธ. ให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ศธ. โดย สพฐ. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา : พัฒนาระบบนิเวศทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 วงเงินงบประมาณ 482.26 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของ ศธ. โดยสามารถรองรับโรงเรียนคุณภาพ ในสังกัด ศธ. จำนวน 349 โรงเรียน และมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

 

การดำเนินการ

วงเงิน (ล้านบาท)

(1) เช่าใช้ระบบคลาวด์ระดับ ศธ.

36.38

(2) จ้างที่ปรึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน (NDLP)

200.88

(3) จ้างที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน

245.00

รวมทั้งสิ้น

482.26

 

          2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ศธ. จะจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 : จัดหาอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย (Anywhere Anytime) เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมสถานศึกษาในสังกัด ศธ. จำนวน 29,312 โรงเรียน โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 วงเงินรวม 22,102.97 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 กิจกรรม สรุปได้ ดังนี้

              2.1 การส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 งบประมาณ 6,531.08 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เปลี่ยนบทบาทครูเป็นโค้ชหรือผู้อำนวยการเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระต่อสังคม มีการดำเนินการ ดังนี้

                   (1) การพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น จัดหาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล การเชื่อมโยงฐานข้อมูลและการบริหารจัดการระบบ การจัดทำนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์

                   (2) การเช่าใช้ระบบคลาวด์ สำหรับแพลตฟอร์มด้านการศึกษา

              2.2 การจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา งบประมาณ 15,571.90 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และมีโอกาสได้อย่างเท่าเทียมครอบคลุมทั้งในพื้นที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

                   (1) เช่าอุปกรณ์การเรียนการสอน (Tablet หรือ Notebook หรือ Chromebook) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา จำนวน 607,655 เครื่องรวมเป็นเงิน 15,491.90 ล้านบาท ระยะเวลา 60 เดือน สรุปได้ ดังนี้

 

เป้าหมาย

โรงเรียนคุณภาพจำนวน 932 แห่ง

โรงเรียนขยายโอกาสจำนวน 86 แห่ง

โรงเรียนทั้งหมด

1,018 แห่ง

จำนวนเงิน

(ล้านบาท)

อุปกรณ์การเรียนการสอน (Tablet หรือ Notebook หรือ Chromebook) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

536,902 คน

11,089 คน

547,991 คน

13,809.37

อุปกรณ์การเรียนการสอน (Tablet หรือ Notebook หรือ Chromebook) สำหรับครู

56,387 คน

3,277 คน

59,664 คน

1,682.52

รวม

593,289 คน

14,366 คน

607,655 คน

15,491.90

 

                   (2) การพัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลรวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น 1) การจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 2) การจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยี การสร้างสรรค์สื่อและการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีและผู้ใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ ศธ. จะเบิกจ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับปีงบประมาณอื่นๆ จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้ว

              2.3 งบประมาณและระยะเวลาดำเนินการ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลาฯ ใช้วงเงินงบประมาณรวม 22,102.97 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

กิจกรรม

ปีงบประมาณ .

รวมวงเงิน

(ล้านบาท)

2568

2569

2570

2571

2572

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลาฯ

(1) การส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา

4,290.95

560.03

560.03

560.03

560.03

6,531.08

(2) การจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

3,178.38

3,098.38

3,098.38

3,098.38

3,098.38

15,571.90

รวม

7,469.33

3,658.41

3,658.41

3,658.41

3,658.41

22,102.97

หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง ทั้งนี้ ศธ. จะขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 7,469.33 ล้านบาท และส่วนที่เหลือ จำนวน 14,633.64 ล้านบาท จะขอผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2572

 

          3. ประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น

              3.1 สพฐ. มีระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในโลกปัจจุบัน

              3.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีเครื่องมือและระบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย โดยปรับบทบาทจาก “ครูผู้สอน” เป็น “โค้ช” หรือ “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ที่ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ ออกแบบกิจกรรม และสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

              3.3 ผู้เรียนได้รับการเรียนการสอนที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ได้อย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา

              3.4 ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถ “เรียนรู้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา”

              3.5 นักเรียนและครูผู้สอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าใช้แพลตฟอร์ม NDLP ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลออนไลน์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

              3.6 ไทยเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 20 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2683

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!