WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 14 - 19 กุมภาพันธ์ 2567)

Gov 24

รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 14 - 19 กุมภาพันธ์ 2567)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67 อย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุด 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 14 - 19 กุมภาพันธ์ 2567 มีดังนี้

          1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน

          ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรงจะอ่อนกำลังลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน ด้วยความน่าจะเป็นร้อยละ 68

          ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางและภาคตะวันออก ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

          2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และการคาดการณ์

              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567) มีปริมาณน้ำ 55,029 ล้านลูกบาศก์เมตร (67%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 3,979 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 30,818 ล้านลูกบาศก์เมตร (53%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 8 แห่ง และภาคตะวันตก 11 แห่ง 

              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง

                   ต้นฤดูฝน ปี 2567 (วันที่ 1 พฤษภาคม 2567) จะมีปริมาณน้ำ 17,538 ล้าน ลบ.ม. (37%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 17,787 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 249 ล้าน ลบ.ม.

                   ต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567) จะมีปริมาณน้ำ 30,464 ล้าน ลบ.ม. (64%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,849 ล้าน ลบ.ม. มากกว่า 2,385 ล้าน ลบ.ม.

              (3) การคาดการณ์ปริมาณน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยปี 2567 (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำต่ำสุด Lower Rule Curve) ภาคเหนือ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำทับเสลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง และอ่างเก็บน้ำสิรินธร ภาคตะวันตก 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจานและอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชลและอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

          3. สถานการณ์แม่น้ำโขง

          สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต และมีแนวโน้มทรงตัว

          4. คุณภาพน้ำ

          คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง ได้ติดตามและเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำในช่วงวันที่ 9 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ในพื้นที่ดังนี้

              (1) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

              (2) เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกล้ำส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตรแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี แม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และนครปฐม แม่น้ำบางปะกงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี

              นอกจากนี้ สทนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและคาดการณ์สถานการณ์น้ำเค็มจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงอย่างใกล้ชิด โดยน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้งในช่วงวันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งนี้ ได้บูรณาการร่วมกับกรมชลประทานในการปรับเพิ่มอัตราการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระรามหกเพื่อควบคุมค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล ไม่ให้เกิน 0.5 กรัมต่อลิตร ในช่วงวันดังกล่าว และมอบหมายให้การประปานครหลวงและกรมชลประทาน เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการ Water Hammer Operation เพื่อช่วยผลักดันลิ่มความเค็มรุกเข้าแม่น้ำสายหลัก

          5. การลงพื้นที่ตรวจราชการ

              (1) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 ระหว่างวันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่พบปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำไม่มีแหล่งน้ำอื่นสำรอง ระบบกระจายน้ำไม่ครอบคลุมในพื้นที่ ลำน้ำตื้นเขิน สทนช. จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขระยะสั้น พร้อมทั้งได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผน บูรณาการแก้ไขปัญหาระยะกลางและระยะยาว โดยจะมีการจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ระดับลุ่มน้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำแลัง น้ำท่วม และคุณภาพอย่างเป็นระบu (Area Based) และสอดคล้องกับแผนแม่บทลุ่มน้ำ โดยจะใช้รูปแบบแม่ฮ่องสอนโมเดล เป็นต้นแบบ รวมถึงเน้นการดำเนินการการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศด้านต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้ยั่งยืนต่อไป

              (2) นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการพื้นที่เขตหนองหารและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่หนองหาร ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดสกลนคร โดยเน้นย้ำให้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตหรือพื้นที่ทับซ้อน และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่หนองหารให้สามารถรองรับน้ำและกระจายน้ำได้อย่างเหมาะสม ป้องกันภัยน้ำท่วม ภัยแล้งได้ อีกทั้งได้แนะนำให้ปล่อยพันธุ์ปลาให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และปล่อยพันธุ์ปลาที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

          6. ถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำ และมาตราการรับมือฤดูฝน ปี 2566

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำและมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้น โดยที่ประชุมได้เสนอความคิดเห็นให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พิจารณาดำเนินการเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำแทนการจ่ายค่าชดเชย เพิ่มความแม่นยำของการคาดการณ์และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายเดิมของหน่วยงานต่างๆ สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำโดยพัฒนาระบบระบายน้ำและที่เก็บน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ สทนช. ได้กำหนด (ร่าง) มาตรการฤดูฝน ปี 2567 เพื่อยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบโดยการปรับปรุงแนวทางการดำเนินการจากปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และคณะรัฐมนตรี พิจารณา เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 20 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2689

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!