WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย

Gov 26

ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการของโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย (โครงการผลิตแพทย์ฯ) 

          2. อนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับโครงการผลิตแพทย์ฯ จำนวนทั้งสิ้น 37,234.48 ล้านบาท 

          สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันพระบรมราชชนกจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีและพิจารณาความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน หรือนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบตามความพร้อม ความจำเป็นและความเหมาะสมที่จะต้องใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณ รวมทั้งพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          สาระสำคัญ

          1. โครงการผลิตแพทย์ฯ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service)1 ซึ่งเป็นระบบบริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง (เช่น สถานีชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น) โดยหน่วยบริการปฐมภูมิจะขับเคลื่อนด้วยทีมหมอครอบครัว (PCC : Primary Care Cluster) ซึ่งประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและสหวิชาชีพ รวม 9 สาขาวิชาชีพ (ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณ์สุข ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยสาธารณสุข ทันตแพทย์ เภสัชกร นักฉุกเฉินการแพทย์ และแพทย์แผนไทย) โดย สธ. ตั้งเป้าหมายให้มีหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 6,500 แห่ง ในปี 2572 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีหน่วยบริการปฐมภูมิที่ให้บริการประชาชน จำนวน 3,985 แห่ง (ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,515 แห่ง) 

          2. สธ. (สถาบันพระบรมราชชนก) จึงได้จัดทำโครงการผลิตแพทย์ฯ ขึ้น เพื่อผลิตกำลังคนด้านสาธารณสุขในสาขาต่างๆ รวม 9 สาขา และสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

(1) เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว2

(2) เพื่อพัฒนาบุคลากรของสถาบันพระบรมราชชนก3 และหน่วยงานเครือข่ายใน สธ. ให้มีสมรรถนะและตอบสนองความต้องการผลิตบุคลากรตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว

(3) เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขไปสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค

วิธีดำเนินการ

(1) ดำเนินการจัดตั้งสำนักบริหารการผลิตบุคลากรเพื่อตอบสนองงานบริการปฐมภูมิ โดยทำหน้าที่ เช่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ขาดแคลน บริหารงบประมาณให้สถาบันพระบรมราชชนกและมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมความร่วมมือ กำกับติดตามการจัดการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นต้น

(2) การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งมี 2 ประเภท ดังนี้

        (2.1) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการศึกษา วิทย์ - คณิต (หลักสูตร 6 ปี

        (2.2) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตร 5 ปี

(3) การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรทุกวิชาชีพ และดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมถึงเกณฑ์มาตรฐานประกอบวิชาชีพที่สภาวิชาชีพกำหนด

ระยะเวลาดำเนินการ

ปีการศึกษา .. 2568 - 2577

แผนการผลิต

ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2568 - 25677 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

สายวิชาชีพ

หลักสูตร

อัตรา

(บาท/คน/ปี)

แผนการผลิต

ปีละ (คน)

แผนการผลิต

10 ปี (คน)

แพทย์เวชศาสตร์

แพทยศาสตรบัณฑิต

300,000

1,000

10,000

พยาบาล (ชุมชน)

พยาบาลศาสตรบัณฑิต

120,000

1,000

10,000

นักวิชาการสาธารณสุข

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

120,000

500

5,000

 

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

150,000

500

5,000

ผู้ช่วยพยาบาล

ประกาศนียบัตร

ผู้ช่วยพยาบาล

45,000

1,000

10,000

ผู้ช่วยสาธารณสุข

ประกาศนียบัตร

ผู้ช่วยสาธารณสุข

40,000

1,000

10,000

ทันตแพทย์ (ชุมชน)

ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

208,000

300

3,000

เภสัชกร (ชุมชน)

เภสัชศาสตรบัณฑิต

150,000

300

3,000

นักฉุกเฉิน

การแพทย์

วิทยาศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์

120,000

300

3,000

แพทย์แผนไทย

แพทย์แผนไทยบัณฑิต

100,000

300

3,000

รวมทั้งสิ้น

6,200

62,000

 

ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา

กรอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการผลิตแพทย์ฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 37,234.48 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

โครงการ

วงเงิน (ล้านบาท)

คำขอตั้ง

บประมาณ

.. 2568

ผูกพัน

ปีงบประมาณที่เหลือ

(ปีงบประมาณ

.. 2569 - 2583)*

วงเงินรวม

โครงกำรผลิตแพทย์ฯ ระยะ 10 ปี .. 2568 - 2577

327.82

36,906.66

37,234.48

*หมายเหตุ : ระยะเวลาโครงการผลิตแพทย์ฯ รับผู้เรียนในปีงบประมาณ .. 2568 - 2577 และผูกพันงบประมาณจนผู้เรียนปีสุดท้ายจบการศึกษาในปี 2583

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) บุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขสามารถพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว

(2) บุคลากรของสถาบันพระบรมราชชนกและหน่วยงานเครือข่ายใน สธ. ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะตอบสนองความต้องการการผลิตบุคลากรตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว

(3) กระจายโอกาสทางการศึกษาทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขไปสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค

 

          3. สภาสถาบันพระบรมราชชนก [นายกสภาสถาบัน (ศาสตราจารย์วิจารณ์ พานิช) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 และที่ประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ. (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางและหลักการโครงการผลิตแพทย์ฯ แล้ว

          4. สธ. แจ้งว่า โครงการผลิตแพทย์ฯ จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขและทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

          ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า โครงการผลิตแพทย์ฯ ที่เสนอในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขปฐมภูมิเป็นหลัก โดยมีกลไก ในการคัดกรองผู้สมัครอย่างชัดเจน เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศ และส่งเสริมให้เกิดการกระจายตัวของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งในส่วนของสถาบันการศึกษาก็มีความพร้อมที่จะผลิตนักศึกษา ทั้ง 9 สาขา ตามกรอบการดำเนินโครงการ

______________________

1 ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service) คือ บริการทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนในลักษณะองค์รวม ซึ่งครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยจะเป็นการรักษาพยาบาลที่การให้บริการสิ้นสุดที่บริการผู้ป่วยนอก ในกรณีที่ประชาชนเกิดอาการเจ็บป่วย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในเบื้องต้นและถูกส่งต่อไปยังสถานพยาบาลสำหรับการรักษาที่ซับซ้อนต่อไป

2 เวชศาสตร์ครอบครัว คือ สาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เช่น การดูแลผู้ป่วยด่านแรก การประสานงานกับทีมแพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นๆ การดูแลผู้ป่วยในชุมชน เป็นต้น

3 สถาบันพระบรมราชชนก เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณอยู่ในสังกัด สธ. (ตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของ สธ. ซึ่งวิทยาลัยในสังกัดรวมทั้งสิ้น 39 แห่ง เป็นวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 30 แห่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 7 แห่ง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 1 แห่ง และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 1 แห่ง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 20 กุมภาพันธ์ 2567

 

 

2692

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!