WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงการเจรจาทวิภาคีด้วยสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการคุ้มครองชนิดพันธุ์

Gov 41

ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงการเจรจาทวิภาคีด้วยสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการคุ้มครองชนิดพันธุ์

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงการเจรจาทวิภาคีว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการคุ้มครองชนิดพันธุ์ (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ)

          2. หากมีการแก้ไขร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้ ทส. พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

          3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่วมหนังสือแสดงเจตจำนงฯ 

(ทส. แจ้งว่า จะมีการลงนามร่วมหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2567)

          สาระสำคัญ

          ทส. รายงานว่า

          1. สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้ประสาน ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพัฒนาหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ภายใต้ความร่วมมือแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 - 2024)1 ซึ่งแผนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสในระยะเวลา 3 ปี ประกอบด้วยความร่วมมือใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง (เช่น การต่อต้านภัยคุกคามไซเบอร์ การก่อการร้าย เป็นต้น) (2) การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน [เช่น การส่งเสริมการลงทุนในสาขาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy)] (3) การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน (มุ่งเน้นการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเท่าเทียม เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น) และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นระดับโลก (มุ่งเน้นความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นเร่งด่วน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น)

          2. ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและบูรณาการเชิงนโยบายระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสนับสนุนให้เกิดโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมโดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะดำเนินงานร่วมกันใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (2) การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

กิจกรรมความร่วมมือ

 

ประเภทกิจกรรมความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกัน ได้แก่

(1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ

(2) การเยี่ยมเยือนของทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง ระดับปฏิบัติ และระดับผู้เชี่ยวชาญ

(3) การจัดประชุมหรือสัมมนาร่วมกัน

(4) กิจกรรมความร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ ที่ผ่านความเห็นซอบจากทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ควรให้มีการเจรจาหารือทวิภาคีไทย - ฝรั่งเศส ในระดับปลัดกระทรวงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามช่วงเวลาที่ประเทศผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ โดยสับเปลี่ยนกันจัดที่ประเทศไทยและฝรั่งเศส

โครงการความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการ

 

ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดโครงการความร่วมมือที่ให้ความสำคัญไว้ในภาคผนวกของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เช่น

 

ประเด็น

 

ตัวอย่างหัวข้อที่ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ

(1) ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

1) การปรับปรุงแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ2 เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก3 (กรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ)

2) การดำเนินงานภายใต้เป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ ทั้งในประเด็นการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองและมาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่อื่นๆ

3) การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม การเสริมบทบาท และการมีส่วนร่วมของชนกลุ่มน้อยและชุมชนท้องถิ่น

4) การคุ้มครองและการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

5) การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม และการระดมทรัพยากรของภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจ (เช่น งบประมาณ เทคโนโลยี งานวิจัย เป็นต้น)

6) การต่อต้านอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม4 รวมถึงการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่า และการค้าไม้ผิดกฎหมาย

7) การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก5 การวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาเทคโนโลยีและฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ

(2) การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

 

1) การติดตามตรวจสอบ การป้องกัน และการลดมลพิษในทะเลที่มีแหล่งกำเนิดจากบนบก เช่น ขยะพลาสติก และสารกำจัดศัตรูพืช

2) การออกแบบและการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเล เช่น การจัดทำแผนการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเล6 การวิเคราะห์ประเมินองค์ประกอบทางนิเวศวิทยาและสังคม การประเมินประสิทธิภาพของพื้นที่คุ้มครองทางทะเล เป็นต้น

 

 

          ทั้งนี้ หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับนี้จะไม่สร้างพันธกรณีหรือข้อผูกพันที่มีผลทางกฎหมายใดๆ ให้แก่ประเทศผู้ลงนามทั้งสองฝ่าย ทั้งกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

          3. ทส. แจ้งว่า การลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงฯ จะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เช่น กรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ ความตกลงปารีสและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น รวมถึงการเพิ่มพื้นที่คุ้มครองและมาตรการการอนุรักษ์เชิงพื้นที่อื่นๆ ทั้งทางบกและทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ทางบกและทางทะเล ภายในปี 2573

          4. คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ [รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 มีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ และให้ สผ. ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

________________________

1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 เมษายน 2564 และ 3 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบและรับทราบแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 - 2024) 

2 ทส. แจ้งว่าปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งเป็นแผนที่ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทุกประเทศจะต้องจัดทำ [เดิมคณะรัฐมนตรีเคยมีมติ (28 มีนาคม 2560) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งปัจจุบันสิ้นผลใช้บังคับไปแล้ว]

3 กรอบงานคุนหมิง - มอนหรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาภาคือนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 7 - 19 ธันวาคม 2565 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์และความหลากหลายทางชีวภาพให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ให้ประชากรโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ภายในปี 2593

4 อาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม คือ การแสวงหาประโยชน์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายหรือผลร้ายแก่ธรรมชาติ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ป่า การละเมิดกฎระเบียบและข้อบังคับอันส่งผลให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

5 บัญชีก๊าซเรือนกระจก คือ บัญชีแสดงปริมาณการปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ

6 ทส. แจ้งว่า ปัจจุบันไทยได้มีการจัดทำแผนการเตรียมจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง .. 2559 - 2568 เพื่อรองรับการดำเนินการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล โดยคาดว่าจะมีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพิ่มขึ้นประมาณ 10,913 ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 3.37 ของพื้นที่ทางทะเลของไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 3 มีนาคม 2567

 

 

3203

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!