WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 และการขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ‘Pledge4Action’ ของประธานคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67

Gov สมศักดิ์ เทพสุทิน01

การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 และการขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ‘Pledge4Action’ ของประธานคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 ในห้วงการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับสูง (High-Level Segment) ในห้วงการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 [67th session of the Commission on Narcotic Drugs (CND)]1 (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ในห้วงพิธีเปิดการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 โดยไม่มีการลงนาม ในวันที่ 14 มีนาคม 2567

          2. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี (General Statement) และการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย โดยเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและร่วมประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย

          3. อนุมัติให้ ยธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) แก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยหากมีความจำเป็น โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง โดยให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่จะพิจารณาดำเนินการภายใต้กรอบของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยดังกล่าว

(กำหนดรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ โดยไม่มีการลงนามในห้วงพิธีเปิดการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 และประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยในห้วงท้ายของการกล่าวถ้อยแถลงระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2567)

          สาระสำคัญ

          ยธ. แจ้งว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดสมัยที่ 67 ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 14 - 22 มีนาคม 2567 โดยในห้วงการประชุมระดับสูงระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2567 จะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

          1. การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ

              มีสาระสำคัญเป็นการทบทวนแผนงานต่อเนื่อง (Multi-year Workplan) ในห้วงครึ่งแผน ปี ค.ศ. 2024 (2024 Mid-term Review) ในการดำเนินการตามพันธกรณีด้านนโยบายยาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

รายละเอียดสำคัญ

ความมุ่งมั่นร่วมกัน

เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันและความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายตามปฏิญญารัฐมนตรี .. 2019 (2019 Ministerial Declaration)2 รวมทั้งพันธกรณีด้านนโยบายยาเสพติดระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลกภายในปี .. 2029

การประมวล

ติดตาม

ผลการดำเนินการ

- ยอมรับถึงความท้าทายปัญหายาเสพติดที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี .. 2019 และตระหนักว่าการปฏิบัติตามพันธกรณีหลายประการยังคงไม่บรรลุผล รวมทั้งรับทราบว่าความพยายามร่วมกันและแนวทางเชิงนวัตกรรมที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นสิ่งจำเป็นในการเอาชนะอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่

- รับรู้ถึงความจำเป็นของแนวทางที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์และมีความสมดุลในการแก้ไขและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก เพื่อที่จะเชื่อมั่นได้ว่ายุทธศาสตร์และการปฏิบัติยังคงดำเนินไปได้อย่างสอดคล้อง ตอบสนองต่อการพัฒนาและความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งพลวัตของแนวโน้มการเพาะปลูก การค้า การผลิตและการบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเรียกร้อง

การดำเนินการ

ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน 4 ด้าน ได้แก่

(1) ความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ โดยขยายความร่วมมือในทุกระดับและการดำเนินแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวปฏิบัติ และบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางบูรณาการและพิจารณามาตรการเพิ่มเติมสำหรับการอำนวยความสะดวกในการหารือที่สำคัญ โดยอาศัยบทบาทที่สำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ตุลาการและบุคลากรด้านสาธารณสุข และภาคประชาสังคม

(2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยยอมรับการนำข้อมูลคุณภาพสูงเป็นไปตามกรอบเวลา ตรงประเด็น และเชื่อถือได้มาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุนสภาพแวดล้อมแห่งการแบ่งปันองค์ความรู้และการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งปรับปรุงการผลิตและเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแนวโน้มสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรวบรวมข้อมูลระดับชาติและขยายขอบเขตการรายงานด้านภูมิศาสตร์และประเด็นของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

(3) นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ โดยยอมรับบทบาทของนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่และความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อกระแสรูปแบบใหม่ รวมทั้งมุ่งใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าในการแก้ไขและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก ยกระดับเทคโนโลยีแนวทางการขับเคลื่อนข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล

(4) การเสริมสร้างขีดความสามารถและการระดมทรัพยากร โดยให้ความสำคัญกับการระดมทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการจัดหาความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถในทุกมิติ เพื่อเป็นหลักประกันว่ารัฐสมาชิกจะสามารถรับมือกับปัญหา ยาเสพติดระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากรทางการเงินและทางเทคนิคด้วยการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี และการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ประเด็นอื่น

ที่เกี่ยวข้อง

- ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 จะร่วมกันอภิปรายกำหนดแผนงานการหารือในหัวข้อหลัก ปี .. 2024 - 2028 เพื่อจัดลำดับความท้าทายที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี .. 2019 และใช้เป็นแนวทางของแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปของคณะกรรมาธิการยาเสพติด

- เน้นย้ำเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมระดับสูงสำหรับการทบทวนการดำเนินการ (High-Level Review) ในปี .. 2029 และเพื่อบรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี .. 2030

 

          2. การกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี และการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย ตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม “Pledge4Action” ของประธานคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67

              เอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม “Pledge4Action” มีสาระสำคัญเป็นการเชิญชวนรัฐสมาชิกร่วมประกาศคำมั่นที่จะดำเนินโครงการระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลกและ/หรือการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการเพื่อตอบสนองความท้าทาย 11 ประการที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะขึ้นกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี ที่แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาการควบคุมยาเสพติด 3 ฉบับ ได้แก่ 1) อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (แก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1972) 2) อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และ 3) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1988 และพันธกรณีที่เกี่ยวข้อง ผ่านการดำเนินนโยบายรัฐบาลภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” ซึ่งสนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างทั่วถึงเพื่อเพิ่มจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กลับเข้าสู่สังคม ขณะที่ผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติดต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรมที่มุ่งเน้นการใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งรัฐบาลจะดำเนินแนวทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ การรักษา และการวิจัยในระดับภูมิภาค ตลอดจนประสานความร่วมมือกับสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC)

              ทั้งนี้ ในย่อหน้าสุดท้ายของการกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวข้างต้น จะเป็นการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการให้คำมั่นที่จะลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดภายในประเทศให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี ผ่านการดำเนินการ ดังนี้ (1) การส่งเสริมให้ผู้ใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการจิตเวชได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูอย่างเหมาะสม และ (2) การเพิ่มความเข้มข้นในการสกัดกั้นตามแนวชายแดน เพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้ายาเสพติดและสารเคมีและเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ เพื่อจัดการกับความท้าทายจากปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และสร้างสังคมที่ปลอดภัยและมั่นคงอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยจะพิจารณาให้การสนับสนุนกับ UNODC เพิ่มมากขึ้นในอนาคตต่อไป (ประเทศไทยจะไม่มีการประกาศคำมั่นว่าจะบริจาคงบประมาณเงินอุดหนุนให้กับ UNODC ในส่วนนี้)

          3. ยธ. แจ้งว่า ในคราวประชุมเตรียมการ ครั้งที่ 1 สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งประกอบด้วยสำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 14 หน่วยงาน (อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมองค์การระหว่างประเทศ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด) ได้ร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ และกรอบแนวทางการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย โดยมีความเห็นว่า เนื้อหาสาระโดยรวมของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และสอดคล้องกับแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างบทบาทนำของประเทศไทยในการผลักดันความร่วมมือในระดับนโยบายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ อาทิ การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาศักยภาพบุคลากร นอกจากนี้ การกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยจะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงความมุ่งมั่นร่วมกับรัฐสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศผ่านการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองและเชิงนโยบายด้วย

          4. ยธ. แจ้งว่า กต. (กรมองค์การระหว่างประเทศ) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาในประเด็นร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ แล้ว ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับไม่มีการลงนามจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

_________________________

1 ปัจจุบันคณะกรรมาธิการยาเสพติดประกอบด้วยรัฐสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 53 ประเทศ อาทิ ไทย จีน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดติดต่อกัน 14 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน (วาระปี พ.ศ. 2567 - 2570)

2 ในการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 62 เมื่อเดือนมีนาคม 2562 คณะกรรมาธิการยาเสพติดได้รับรองโดยฉันทามติในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 โดยรัฐสมาชิกได้รับทราบประเด็นความท้าทายทั้งหมด 11 ประการ อาทิ (1) ประเภทและตลาดยาเสพติดขยายตัวและมีความหลากหลายมากขึ้น และ (2) ความเชื่อมโยงที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการลักลอบค้ายาเสพติด การทุจริต และการก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3477

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!