WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

Gov จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ กฤษฎา จีนะวิจารณะ

มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

         1. เห็นชอบในหลักการของการดำเนินมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังนี้ 

             1.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ

             1.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ

             1.3 มาตรการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ

             1.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) 

         2. มอบหมายให้ กค. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการศึกษารายละเอียด ผลประโยชน์และผลกระทบ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ การคลัง และสังคม รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละมาตรการอย่างรอบคอบต่อไป

         3. ให้ กค. วธ. พณ. ทส. คค. และ ตช. พิจารณาศึกษารายละเอียดของมาตรการและประสานหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินการต่อไป

         สาระสำคัญของเรื่อง

         กค. รายงานว่า

         1. กิจการเกี่ยวกับศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการของประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในตลาดโลกและตลาดภูมิภาค โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 101 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ส่งออกกลุ่มงานสินค้าสร้างสรรค์และมีความอุดมสมบูรณ์ของทุนทางวัฒนธรรมและมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือด้านศิลปะที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งปัจจุบันงานศิลปะได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีอากรเกี่ยวกับการยกเว้นอากรขาเข้า เช่น การนำเข้างานศิลปะเพื่อจัดแสดงให้สาธารณชนได้รับชมเป็นการทั่วไป การนำเข้างานศิลปะเข้ามาเป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ การนำเข้างานศิลปะภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี รวมทั้งกรณีส่งออกสินค้างานศิลปะที่ผลิตในประเทศไทยไปจำหน่ายต่างประเทศจะได้รับการชดเชยภาษีตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีศักยภาพและความพร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตหรือบูรณะ (Restoration) และสามารถนำมาขายต่อ (Reselling) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจได้2 

         2. มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพในการขยายตัวโดยการใช้ทุนวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เช่น ภาคการท่องเที่ยว แฟชั่น การออกแบบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ โดยมีรายละเอียดมาตรการ ดังนี้

             2.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ

หัวข้อ

รายละเอียด

หลักการ

(1) ให้ผู้มีเงินได้ (ผู้ที่ซื้องานศิลปะ) (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) หักลดหย่อนค่าซื้องานศิลปะด้านจิตรกรรมหรือประติมากรรมในลักษณะการยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้องานศิลปะมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในปีภาษี สำหรับการซื้องานศิลปะตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย ซึ่ง กค. จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป) ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

(2) กรณีซื้องานศิลปะในราชอาณาจักร ต้องซื้อจากศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานซึ่งได้ขึ้นทะเบียนศิลปินกับหน่วยงานของรัฐที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เว้นแต่ศิลปินผู้นั้นเป็นศิลปินแห่งชาติไม่ต้องขึ้นทะเบียน หรือซื้อจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายงานศิลปะหรือธุรกิจประมูลงานศิลปะเป็นปกติธุระ (มีการประกอบธุรกิจจำหน่ายงานศิลปะอย่างสม่ำเสมอ) โดยมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรือใบรับพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดงานศิลปะที่ซื้อซึ่งได้รับการรับรองจากศิลปินหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

(3) หากพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ในราชอาณาจักรขอยืมงานศิลปะที่ซื้อเพื่อจัดแสดงภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ซื้อ ผู้มีเงินได้ต้องให้ยืมโดยไม่มีค่าตอบแทนเว้นแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการให้ยืม

แนวทางการ

ตรากฎหมาย

ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (.. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ผลกระทบ

(1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิปีละประมาณ 1,000 ราย และมีอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) ร้อยละ 20 จึงจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 20 ล้านบาท

(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

    (2.1) การซื้อขายงานศิลปะในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ศิลปินในประเทศไทยผลิตงานศิลปะเพิ่มมากขึ้นและประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

    (2.2) การจัดแสดงงานศิลปะระดับประเทศและระดับนานาชาติในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจะทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย

การดำเนินการต่อไป

กค. (กรมสรรพากร) จะต้องมีการหารือรายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเบื้องต้นในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ ก่อนจัดทำร่างกฎหมายเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

             2.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ

หัวข้อ

รายละเอียด

หลักการ

ให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระประณีตศิลปกรรม (เช่น งานวาด งานหล่อ งานปั้น ซึ่งมีการคิดค่าตอบแทนจากค่าผลงาน ค่าที่ปรึกษา หรือค่าฝีมืออื่นๆ โดยเป็นการคิดตามความยากง่ายหรือปริมาณงานโดยอาจคิดเป็นรายครั้ง รายชั่วโมง หรือรายชิ้น) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้เพิ่มขึ้น จาก ร้อยละ 30 เป็น ร้อยละ 60 (ของค่าตอบแทนที่เรียกเก็บ) เป็นการถาวร โดยไม่กำหนดประเภทศิลปิน

แนวทางการ

ตรากฎหมาย

ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ ..) .. .... แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) .. 2502

ผลกระทบ

(1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : ในปีภาษี 2565 มีผู้มีเงินได้จากวิชาชีพอิสระประณีตศิลปกรรม 1,416 ราย และจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ประมาณ 42 ล้านบาท หากกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 60 จากข้อมูลดังกล่าว คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมปีละประมาณ 20 ล้านบาท

(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : 

     (2.1) ศิลปินในประเทศไทยได้รับการบรรเทาภาระภาษี และมีแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มมากขึ้น

     (2.2) งานศิลปะของศิลปินในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

การดำเนินการต่อไป

กค. (กรมสรรพากร) จะต้องมีการหารือรายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเบื้องต้นในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ก่อนจัดทำร่างกฎหมายเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

             2.3 มาตรการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ

หัวข้อ

รายละเอียด

หลักการ

(1) ให้มีการลดหรือยกเว้นอัตราอากรสำหรับงานศิลปะ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ

(2) ให้มีการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเพื่อรับรองการนำเข้างานศิลปะภายใต้มาตรการนี้ ทั้งนี้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ

(3) ให้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับรองว่าเป็นงานศิลปะและกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของงานศิลปะที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้มาตรการนี้ ทั้งนี้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ

แนวทางการ

ตรากฎหมาย

ออกประกาศกระทรวงการคลังลดอัตราอากรสำหรับของใดๆ จากที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือยกเว้นอากรสำหรับของใดๆ หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับของใดๆ ไม่เกินร้อยละ 50 ของอัตราอากรที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของนั้น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร .. 2530 และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้มีหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านศิลปะเป็นผู้รับรองการนำเข้า และควรกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราวจนกว่าการดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน) (คณะกรรมการฯ) จะแล้วเสร็จ

ผลกระทบ

(1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : การสูญเสียรายได้จากการลดหรือยกเว้นอากรสำหรับงานศิลปะภายใต้มาตรการนี้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เนื่องจากประเภทพิกัดศุลกากรเกี่ยวกับงานศิลปะมีหลากหลายประเภทพิกัด

(2) ระยะเวลาในการดำเนินมาตรการ : เนื่องจากมาตรการนี้มีความคล้ายคลึงกับมาตรการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ดังนั้น ระยะเวลาการดำเนินการอาจจะต้องกำหนดเป็นการชั่วคราวและหากคณะกรรมการฯ ได้ผลักดันมาตรการในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับมาตรการนี้อย่างชัดเจนแล้วควรดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการของคณะกรรมการฯ ต่อไป

การดำเนินการต่อไป

นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบตามหลักการและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

             2.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) 

หัวข้อ

รายละเอียด

หลักการ

(1) ให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้ารถยนต์โบราณ3 (Classic Cars) โดยกรมสรรพสามิตจะกำหนดคำนิยาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรพสามิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราอากรขาเข้าในประเภทที่ 06.01 รถยนต์นั่ง ประเภทที่ 06.02 รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

(2) ให้ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามพิกัด 87.03 เฉพาะรถยนต์นั่งเท่านั้น (ไม่รวมถึงรถจักรยานยนต์และรถอื่นๆ ) เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่กรมสรรพสามิตกำหนดข้างต้น

แนวทางการ

ตรากฎหมาย

(1) ออกประกาศกรมสรรพสามิตกำหนดคำนิยาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

(2) ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ .. (.. ....)

(3) ออกประกาศกระทรวงการคลังยกเว้นอากรขาเข้าในอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร .. 2530

ผลกระทบ

(1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : การสูญเสียรายได้จากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ขึ้นอยู่กับการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

     (2.1) สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่อยู่นอกเหนือจากพิกัดเดิม

     (2.2) สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เช่น การประกวดรถยนต์โบราณ (Classic Cars) การจัดแสดงนิทรรศการรถยนต์โบราณ (Classic Cars) การจัดขบวนคาราวานรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นต้น จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยทุกระดับ

     (2.3) สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตหรือบูรณะ (Restoration) รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย

การดำเนินการต่อไป

ในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) จะปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยกเว้นให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

(2) ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) จะพิจารณาแนวทางการตรวจวัดการปล่อยมลพิษ โดยออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการทดสอบการปล่อยมลพิษ และกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เนื่องจากรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ไม่สามารถนำไปทดสอบ การปล่อยมลพิษได้ เพราะการทดสอบดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของรถยนต์ หรือออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกเว้นการทดสอบการปล่อยมลพิษสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

(3) คค. (กรมการขนส่งทางบก) จะปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะและสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี เพื่อแบ่งประเภทป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและควบคุมกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ป้ายทะเบียนดังกล่าวจะมีขนาดและลักษณะตามป้ายทะเบียนปกติ แต่จะกำหนดสีของแผ่นป้ายให้แตกต่างจากรถยนต์ประเภทอื่นๆ เช่น กำหนดสีพื้นป้ายทะเบียนเป็นสีดำ และกำหนดสีตัวอักษรเป็นสีเงิน เป็นต้น

(4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบังคับการตำรวจจราจร) จะออกข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อกำหนดวันและเวลาการใช้งานรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นจากรถยนต์โบราณ (Classic Cars) 

(5) มอบหมายหน่วยงานที่เหมาะสมให้เป็นผู้รับรองข้อมูลรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากมาตรการนี้

 

         3. กค. แจ้งว่า การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและส่งเสริมอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของประเทศไทยและเพิ่มรายได้จากการใช้จ่ายในประเทศและจากต่างประเทศจะช่วยสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาคธุรกิจงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย 

___________________

1 จากรายงาน Creative Economy Outlook ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) 

2 ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตหรือบูรณะ (Restoration) สามารถนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมด้วยวิธีการใดๆ ให้มีสภาพใช้งานได้ในเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากรแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

3 ปัจจุบันรถยนต์ใช้แล้วและรถโบราณ (รถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุเกินกว่าหนึ่งร้อยปี) เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3480

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!