WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566

Gov สมศักดิ์03

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้

           1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ) โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีน AstraZeneca ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ จำนวน 19,074,400 โดส เป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long - acting antibody : LAAB)1 รุ่นใหม่ จำนวน 36,000 โดส ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 18,382.4643 ล้านบาท เป็น 13,634.8712 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 4,747.5931 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว

           2. มอบหมายให้ สธ. กำกับให้กรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท AstraZeneca) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน2 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

           3. อนุมัติให้จังหวัดกระบี่ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งฯ ปี 2565) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ วงเงิน 5.4000 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2566 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว

           4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1. และ 3. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโดยเร็ว

           5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

           สาระสำคัญของเรื่อง

           เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน คกง. ได้รายงานผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 โดยมีมติ ดังนี้

           1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ของกรมควบคุมโรค สธ. โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีนฯ AZ ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB รุ่นใหม่3 ซึ่งจะใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบันได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

รายการ

มติคณะรัฐมนตรี (เดิม)

สธ. ขอเปลี่ยนแปลง (ครั้งนี้)

ประเภทวัคซีน

จัดหาวัคซีนฯ AZ

จัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB

จำนวนวัคซีน

19.0744 ล้านโดส

36,000 โดส

กรอบวงเงิน (ล้านบาท)

18,382.4643

13,634.8712

 

               ทั้งนี้ ให้ สธ. กำกับกรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca และ อย. เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว

           2. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดกระบี่) รวม 1 โครงการ (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่) กรอบวงเงิน 5.4000 ล้านบาท โดยขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 25664 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และให้จังหวัดกระบี่เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ในระบบ eMENSCR และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว คงเหลือการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน

           3. เห็นชอบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

รายการ

จำนวนโครงการ

วงเงิน (ล้านบาท)

ร้อยละ

ใช้จริง/อนุมัติ

เบิกจ่าย

1. โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ

2,303

461,678.76

444,179.75

96.21

2. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

39

37,775.52

29,641.74

78.46

     2.1 โครงการของส่วนราชการ*

5

37,604.45

29,537.44

78.55

     2.2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

34

171.07

104.30

60.97

 

หมายเหตุ * 1. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 90 จำนวน 1 โครงการ: โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี .. 2565 ของกรมควบคุมโรค

                  2. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 90 จำนวน 4 โครงการ: (1) โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ChulaCov 19 เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติ การวิจัยและทดสอบวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ในลิงมาร์โมเส็ท ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (2-A019) (3) โครงการศึกษาความปลอดภัย (Safety) ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และประสิทธิภาพ (Vaccine Efficiency) ของแคนดิเดตซับยูนิต วัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตในมนุษย์ระยะ 2A โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์มจำกัดของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ (4) โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ

 

               ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้

               3.1 กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเร็วตามขั้นตอนข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมินตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)

               3.2 กรณีโครงการของส่วนราชการและโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ที่มีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินโครงการให้ทันกรอบระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินโครงการมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือเบิกจ่ายโครงการได้ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเร็ว

________________________

1 LAAB (Long Acting Antibody) คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว สำหรับใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโควิด 19 โดยใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ ซึ่ง LAAB มีความแตกต่างจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คือ LAAB เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ทันที ส่วนวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน (ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์) หลังฉีดเข้าร่างกาย

2 การนำเข้า LAAB ที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการนำเข้า LAAB รุ่นใหม่ ทำให้จำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US.FDA) และ อย.

3 การเปลี่ยนแปลงวัคซีนฯ AZ ที่ไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อ LAAB รุ่นใหม่ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในปัจจุบันมีแน้วโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและโรคโควิด 19 มีแนวโน้มไม่รุนแรง

4 ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว แต่ต้องขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอนต่อไปได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3482

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

CKPower 720x100

TOA 720x100

Banner GPF720x100 PX

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

MTL 720x100

AXA 720 x100

gen 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!