WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้)

Gov สมศักดิ์04

ขออนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 163.231 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนให้ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

          อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจในการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ดังนั้น เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุเกิดประโยชน์สูงสุดและลดความซ้ำซ้อนของภารกิจของหน่วยงาน คณะรัฐมนตรีมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการดังกล่าวพิจารณาภาพรวมในการส่งเสริม สนับสนุนบริบาล และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งพิจารณาอัตราค่าใช้จ่าย กรอบระยะเวลาดำเนินโครงการ ตลอดจนพิจารณาขั้นตอน วิธีการ กลุ่มเป้าหมาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สธ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) อปท. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมกิจการผู้สูงอายุได้รับการเสนอตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวไว้แล้วจำนวน 8.850 ล้านบาท ในลักษณะโครงการนำร่อง จึงเห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระยะต่อไปก็เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการดังกล่าว ตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พม. รายงานว่า

          1. ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์1 การเกิดของประชากรไทยมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ จำนวน 13.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด 65.06 ล้านคน และในภาคใต้ (14 จังหวัด)2 มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.14 ของประชากรภาคใต้ทั้งหมด 9.45 ล้านคน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ เดือนธันวาคม 2566) และจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)3 พบว่า ภาคใต้มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.07 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มติดสังคม4 จำนวน 1.03 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.19 กลุ่มติดบ้าน5 จำนวน 33,493 คน เป็นร้อยละ 3.12 และกลุ่มติดเตียง6 จำนวน 7,404 คน คิดเป็นร้อยละ 0.69 นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อการประกอบอาชีพและหารายได้ โดยมีผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง จำนวน 189,190 คน และผู้สูงอายุดูแลกันเอง จำนวน 89,680 คน (ข้อมูลจากกรมการพัฒนาชุมชน ณ เดือนธันวาคม 2565) ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

          2. พม. ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ (มิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม) รวมถึงการป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงและการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและดูแลผู้สูงอายุเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบันและอนาคต และเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต สร้างระบบการดูแลและเฝ้าระวังทางสังคมผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ให้กับผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) (โครงการฯ) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้7 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่นแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากปัญหาการพึ่งพิงและประชากรวัยเด็กลดลงทำให้มีอัตราวัยแรงงานลดลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (พ.ศ. 2566-2570) ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงสูง ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุข เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

1. วัตถุประสงค์

 

ส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน

พัฒนาศักยภาพผู้บริบาล (ผู้ดูแล) คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

สร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ 5 มิติ (มิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม) ในระดับพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนและลดภาระค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวของประเทศ

2. พื้นที่ดำเนินโครงการ

 

14 จังหวัด 151 อำเภอ ในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง นราธิวาส ชุมพร ปัตตานี ยะลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา สตูล และระนอง

3. กลุ่มเป้าหมายโครงการฯ

 

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ รวม 1.62 ล้านคน ประกอบด้วย

คนในพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ8 พื้นที่ละ 2 คน จำนวน 151 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 302 คน

ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 1.62 ล้านคน

4. ขั้นตอนการดำเนินการ

 

รับสมัครและพิจารณาคัดเลือกคนในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ละ 2 คน ให้เป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุเพื่อเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดและปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูงหรือหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง (ใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 3 เดือน) จากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับรองอนุญาตใช้หลักสูตรจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ.9 ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ .. 2559 รวมถึงมีการจัดอบรมเพิ่มเติมทักษะความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ การดูแลปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ การเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้ง 5 มิติข้างต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุปฏิบัติงานตามขอบเขตหน้าที่ที่กำหนด โดยการลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนด โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

ลงพื้นที่สรุป ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

5. งบประมาณ

 

จำนวน 163.231 ล้านบาท แบ่งเป็น

งบประมาณ

จำนวน

งบดำเนินงาน เช่น ค่าตอบแทนผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ค่าจัดอบรม ค่าจัดกิจกรรมในพื้นที่

93.016 ล้านบาท

งบลงทุน เช่น รถเข็นชนิดนั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัลพร้อมที่วัดส่วนสูง กระเป๋าพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

70.215 ล้านบาท

 

6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

 

เริ่มดำเนินโครงการภายในปีงบประมาณ .. 2567

7. ประโยชน์ที่ได้รับ

 

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

มีกลไกระบบชุมชนรอบรับสถานการณ์สังคมสูงวัย

ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ

ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

 

___________________

1 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่ม บัญญัติให้ “ผู้สูงอายุ” หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามว่า (1) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุ (2) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และ (3) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

2 14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง นราธิวาส ชุมพร ปัตตานี ยะลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา สตูล และระนอง

3 เป็นข้อมูลผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของ สธ.

4 กลุ่มติดสังคม คือ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี มีสุขภาพดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมรวมถึงช่วยเหลือผู้อื่น สังคม และชุมชนได้

5 กลุ่มติดบ้าน คือ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้างหรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพียงบางส่วน

6 กลุ่มติดเตียง คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พิการหรือทุพพลภาพ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการเคลื่อนย้าย

7 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย 3 กลุ่มจังหวัด คือ (1) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล (2) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา และ (3) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา

8 พม. แจ้งว่า ผู้ที่สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าภาคบังคับหรือมัธยมศึกษาตอนต้น และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ดำเนินการ โดยจะปฏิบัติหน้าที่ภายในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ร่วมกับการลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในชุมชน ซึ่ง ศพอส. มีหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ ให้คำปรึกษา แนะนำการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับวัย โดยการดำเนินงานของ ศพอส. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหาร ศพอส. ที่แต่งตั้งโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีผู้แทนชุมชนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคณะกรรมการด้วย

9 พม. แจ้งว่า หลังจากที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรแล้ว ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุจะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. และสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชนได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3483

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!