WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

Gov สมศักดิ์03

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป 

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลีของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษา รวม 7ประเด็น ได้แก่ (1) การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (2) การศึกษาฟรี มีคุณภาพถ้วนหน้าสำหรับเด็กทุกคน (3) การจัดการศึกษาบนหลักแห่งการกระทำที่ทัดเทียมกัน (Equalization System) หรือเสมอภาคกัน (4) การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญ (5) การปฏิรูปครู (6) การพัฒนาการเรียนการสอนเสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียนและ (7) การศึกษาเพื่อลดความยากจนและเหลื่อมล้ำต้องเป็นไปในทิศทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          ศธ. ได้รวบรวมผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอแนะคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว ซึ่งเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic

Education) เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปคน

ให้มีความเป็นพลเมือง การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองจะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และมีความรับผิดชอบที่พร้อมพอสำหรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของสังคม

 

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยมีความเห็นว่า มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา .. 2562 กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจในการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากำลังคน เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และมีพลเมืองที่มีคุณภาพ จึงเห็นว่า สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นพลเมืองคุณภาพได้ โดยผ่านการพัฒนาและบูรณาการหลักสูตร และจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษาต่างๆ เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา หรือระดับปริญญาตรี และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรควรดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) โดยดำเนินการวิเคราะห์และเชื่อมโยงหลักสูตรที่มี เช่น วิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรโตไปไม่โกง เป็นต้น และส่งเสริมให้มีวิชาทักษะ เพื่อรองรับกับตลาดแรงงาน รวมทั้งบูรณาการกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง สำหรับผู้เรียนในระบบและการศึกษานอกระบบ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน

2. การศึกษาฟรี มีคุณภาพถ้วนหน้าสำหรับเด็กทุกคน รัฐต้องสร้างกลไกเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็กทุกคน

 

          ควรเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและข้อมูลการอุดหนุนงบประมาณของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี ในรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อพิจารณาศึกษาว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไรบ้าง เช่น การอุดหนุนโรงเรียนที่มีลักษณะแตกต่างกันตามบริบทการจัดการศึกษา ระบบบัญชี และการจัดทำงบประมาณ

3. การจัดการศึกษาบนหลักแห่งการกระทำที่ทัดเทียมกัน (Equalization System) หรือเสมอภาคกัน ช่วยเหลือกลุ่มคนหรือพื้นที่ที่ยังอ่อนแอ ให้พัฒนาขึ้นมาให้ทัดเทียมกับกลุ่มคนหรือพื้นที่อื่นๆ

 

          ควรเพิ่มติมเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณของโรงเรียน ในรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการจัดการศึกษา เช่น การให้มีมาตรฐานขั้นต่ำด้านทรัพยากรทางการศึกษา และการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้มาตรฐานระหว่างโรงเรียนชนบทและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจการจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น การส่งเสริมบุคลากร และการสร้างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เหมาะกับการเรียนรู้ รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน

4. การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญควรจัดการศึกษาให้เป็นไปตามสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนได้มีสถานที่เรียนที่เพียงพอ และได้เรียนตามภูมิสังคมของตนเอง และยึดโยงกับชุมชนของตน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นต่อไปได้

 

          ควรปรับโครงสร้างหลักสูตรและเวลาเรียนที่เอื้อให้เปิดรายวิชาเพิ่มเติม หรือใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้

5. การปฏิรูปครู ปฏิรูปการศึกษาในการผลิตสร้างครูทั้งระบบ เนื่องจากครูคือต้นทางและต้นแบบของเด็กๆ และเยาวชนในระบบการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็ก

 

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

6. การพัฒนาการเรียนการสอน เสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียน

 

          ควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียน อาทิ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอและความพร้อมของเทคโนโลยีในสถานศึกษา รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลให้กับสถานศึกษา โดยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับครู รวมถึงเพิ่มการจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีดิจิทัลให้แก่สถานศึกษาขนาดเล็ก ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารหรืออาจถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้อยู่ในการกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสถานศึกษานั้นต่อไป

7. การศึกษาเพื่อลดความยากจนและเหลื่อมล้ำต้องเป็นไปในทิศทางการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ และแก้ปัญหาตนเองได้ พึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้ไม่เป็นภาระของสังคม

 

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รองนายกรัฐมนตรี) 12 มีนาคม 2567

 

 

3484

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!