WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (Thailand - UK Strategic Partnership Roadmap)

Gov 31

ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (Thailand - UK Strategic Partnership Roadmap)

          คณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

          1. ร่างแผนการความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร (ร่างแผนฯ) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแผนฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้ กต. พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในร่างแผนฯ 

(จะมีการลงนามในร่างแผนฯ ระหว่างการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า

          1. ไทยกับสหราชอาณาจักรมีกำหนดครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 170 ปี ในปี 2568 ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีกลไกการหารือทวิภาคีที่สำคัญ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือด้านการค้าที่สำคัญในระดับรัฐมนตรี ทำหน้าที่ส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าลำดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคยุโรป และในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักรเดินทางมายังประเทศไทยจำนวน 817,220 คน เมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยาวนาน และความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกัน ทั้งสองประเทศจึงเห็นพ้องที่จะจัดทำร่างแผนฯ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไทย - สหราชอาณาจักร สู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างเป็นทางการ และใช้เป็นแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร รวมทั้งเพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขาที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน

          2. ร่างแผนฯ มี 8 สาขา สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

สาขา

 

รายละเอียด

1) เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน

 

(1) ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างมากขึ้น ผ่านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่น กรอบ JETCO เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเชิงนโยบายในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว อาหารและสินค้าเกษตร สาธารณสุข ดิจิทัล การเงินและการลงทุน มาตรฐานและการตรวจสอบรับรอง

(2) กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า การปฏิรูปกฎระเบียบ และการพัฒนาภาคการเงิน รวมถึงความร่วมมือภายใต้โครงการบูรณาการเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร - อาเซียน

(3) เพิ่มการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งการพัฒนาภาคการเงินของไทย

(4) การเพิ่มขีดความสามารถในด้านเทคโนโลยี การบินและอวกาศ เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรม ผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมโดยบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ [Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM)]

2) การเมือง รัฐสภา และพหุภาคี

 

(1) เพิ่มความถี่ของการแลกเปลี่ยนการเยือนและการประชุมของผู้นำ รัฐมนตรีระดับสูง และเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือเพื่อเตรียมการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต

(2) ร่วมกันจัดการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - สหราชอาณาจักร ในระดับรัฐมนตรี เป็นประจำทุกปี หรือตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน

(3) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันผ่านกรอบอาเซียน - สหราชอาณาจักร และกลไกที่เกี่ยวข้องที่มีอาเซียนเป็นผู้นำ สนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการอาเซียน - สหราชอาณาจักร อย่างสม่ำเสมอ

3) ความมั่นคง และกลาโหม

 

(1) จัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนในระดับทวิภาคีมากยิ่งขึ้นในประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง และติดตามความร่วมมือทวิภาคีในประเด็นความมันคงอย่างต่อเนื่อง

(2) กระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหม ผ่านกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพไทย เพื่อแสวงหาโอกาสในการส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ

(3) ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือด้านการป้องกันและต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรมไซเบอร์ ภัยคุกคามจากการแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมาย และการค้ายาเสพติด โดยมุ่งมั่นการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ ผ่านความช่วยเหลือเชิงเทคนิค การหารืออย่างสม่ำเสมอ และการแลกเปลี่ยนนโยบายทั้งในระดับทวิภาคี และในกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงที่เกี่ยวข้อง

(4) สานต่อความร่วมมือในการต่อสู้กับภัยคุกคามด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนให้การสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาค รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเงินที่ผิดกฎหมายของอาเซียนภายใต้กรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ

4) การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว และการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

(1) ร่วมกันผลักดันการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศโลกภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส และเป้าหมายรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

(2) สนับสนุนไทยในการพัฒนาและดำเนินการตามแผนการเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำ และเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคสีเขียว ดึงดูดการลงทุนสีเขียว และการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะส่งเสริมการลดคาร์บอนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบพลังงาน และห่วงโซ่อุปทาน

(3) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การกำหนดราคาคาร์บอน และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

(4) เสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และมลพิษทางอากาศ

5) เกษตรกรรม

 

(1) การแลกเปลี่ยนนโยบายและกระชับความสัมพันธ์ผ่านการเจรจาด้านการเกษตรประจำปีอย่างเป็นทางการ

(2) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน และการประมง ผ่านการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ นโยบาย เทคโนโลยี และการวิจัยในระดับทวิภาคี

(3) การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านสุขภาพสัตว์ การควบคุมและการเฝ้าระวังโรค ความมั่นคงด้านอาหาร สวัสดิภาพสัตว์ การแปรรูปอาหาร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชสวน และการลดการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคเกษตรกรรม

6) ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความร่วมมือด้านเทคโนโลยี

 

(1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและนวัตกรจากไทยและสหราชอาณาจักรเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ทั้งสองฝ่ายเผชิญร่วมกัน ผ่านกองทุนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร

(2) จัดตั้งกลไกการหารือด้านเทคนิคและความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยน กำกับดูแล และการปรับใช้แอปพลิเคชันสำหรับบริการสาธารณะ

(3) กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านความปลอดภัยทางโซเบอร์ โดยการอำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน และการเจรจาเชิงเทคนิคอย่างต่อเนื่อง

(4) รับรองว่าทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต โดยเทคโนโลยีแห่งอนาคตจะถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ผ่านการมีส่วนร่วมในระบบพหุภาคี การพัฒนามาตรฐานในระดับสากลภายใต้กระบวนการที่เปิดกว้าง โปร่งใส และครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

7) สาธารณสุข

 

(1) เสริมสร้างการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage: UHC) เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุขระดับประเทศและภูมิภาค โดยการดำเนินการต่างๆ เช่น สนับสนุนความเป็นผู้นำของไทยในด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุขและการยกระดับระบบสาธารณสุขระดับภูมิภาค การกระชับความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุข สนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างความยืดหยุ่นของระบบสาธารณสุขเพื่อจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ และปรับปรุงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดใหญ่

(2) สนับสนุนความร่วมมือพหุภาคีและการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) โดยประสานงานในระดับพหุภาคีในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น ความมั่นคงด้านสาธารณสุข หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การดื้อยาของเชื้อโรค สุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เป็นต้น

8) ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน การศึกษาและซอฟต์พาวเวอร์

 

(1) จัดกิจกรรมรำลึกการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร ในปี 2568 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 170 ปี

(2) จัดทำบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษา การส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันและร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น การสอน การเรียนรู้ และการประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

(3) การจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การเสริมสร้างระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการขับเคลื่อนความเป็นสากลของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา และการขยายการมีส่วนร่วม

(4) การกระชับความร่วมมือด้านการศึกษาผ่านการจัดตั้งหลักสูตรการศึกษาระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ การยอมรับคุณวุฒิทางวิชาการและวิชาชีพร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกัน

(5) การริเริ่มจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในระยะยาว รวมทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ค่านิยม และแนวคิดระหว่างประชาชนของไทยและสหราชอาณาจักร

(6) การฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนโอกาสการทำงานในสาขาวิชาชีพและโอกาสในการศึกษาของไทย

 

          ทั้งนี้ ร่างแผนฯ ฉบับนี้ไม่มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ 

          3. ประโยชน์ที่ได้รับ: ร่างแผนฯ จะเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ ตลอดจนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรให้ก้าวหน้ามีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

          4. กต. แจ้งว่า ร่างแผนฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับในร่างแผนฯ ระบุว่า ไม่มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างแผนฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 มีนาคม 2567

 

 

3732

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!