สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 20 March 2024 11:48
- Hits: 9864
สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ตามที่เสนอ
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อ 1 และรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบต่อไป
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบให้มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ จังหวัดพะเยา และติดตามการตรวจราชการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่) ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2567 โดยมีประเด็นตรวจราชการสำคัญ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาเกษตรให้มีมูลค่าสูง (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (3) การพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (4) การยกระดับคุณภาพชีวิตเสริมสร้างความมั่นคง และ (5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อมอย่างยั่งยืนโดยมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมและจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติราชการการติดตามงานและโครงการ รวมทั้งข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพะเยา
สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 มีเป้าหมายการพัฒนา “ท่องเที่ยวบนพื้นฐานวัฒนธรรมร่วมสมัย ยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สู่เศรษฐกิจมั่งคั่ง”
2. ภาพรวมของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ มีศักยภาพด้านการค้าชายแดน โดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและมีเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย จึงเป็นประตูเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและจีนตอนใต้ เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ โดยมีแหล่งต้นน้ำที่สำคัญและมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา และท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งมีทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มล้านนาตะวันออก ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวและบริการเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่ด้วยเช่นกัน อาทิ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคการเกษตรยังขาดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการขาดองค์ความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ด้านการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาหมอกควัน และปัญหาการบุกรุกและตัดไม้ทำลายป่าและขาดระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ จึงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน
3. ผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนดร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐนตรี รวม 28 คน มีประเด็นการตรวจราชการสำคัญและข้อสั่งการสรุปได้ ดังนี้
3.1 การพัฒนาเกษตรให้มีมูลค่าสูง
1) มอบเงินตามมาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวผ่านสถาบันการเกษตร ปี 2566/2567 ข้อสั่งการ (1) ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทย จัดอบรม
ให้ความรู้ในการเก็บน้ำยางแก่เกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรขายน้ำยางที่เหมาะสมสำหรับแปรรูปให้กับสหกรณ์การเกษตรเมืองพะเยา เพื่อให้เกษตรกรขายน้ำยางสำหรับแปรรูปได้ราคาสูงกว่าตลาดรับซื้อ และ (2) ให้เกษตรอำเภอดอกคำใต้ แก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในอำเภอดอกคำใต้ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2) รับฟังข้อร้องเรียนจากผู้แทนเกษตรกร และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดพะเยา ณ ศาลากลางจังหวัดพะเยา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมด้านการตลาดแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชกระท่อม รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากมิจฉาชีพที่อาจหลอกลวงเกษตรกร (2) ให้การยางแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราที่ได้มาตรฐานในพื้นที่อำเภอภูซางและอำเภอแม่ใจ และ (3) ให้กรมประมง พิจารณาจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่กว๊านพะเยาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ร่วมกันจัดทำแผนจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่กว๊านพะเยาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว
3) ตรวจเยี่ยมการดำเนินการของสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด จัดทำแผนธุรกิจ เพื่อนำไปหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เรื่อง “โครงการล้านละร้อย” โดยจะเป็นแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในการพักชำระหนี้ต่อไป
4) เยี่ยมชม “ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว” ณ วัดดอกบัวและโรงสีข้าวชุมชนบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการข้าวดำเนินการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์และพัฒาพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตข้าว และสนับสนุนเครื่องอัดฟางให้แก่โรงสีข้าวชุมชน (2) ให้กรมพัฒนาที่ดินบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกรมการข้าวในการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาที่ไม่เหมาะสมเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงโค และ (3) ให้กรมชลประทานรับข้อเสนอของเกษตรกรไปพิจารณาดำเนินการโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่บ้านตุ่น
5) เยี่ยมชมฐานการเรียนรู้การปลูกพืชอินทรีย์ภายในศูนย์เรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพัฒนาที่ดินประจำตำบล และเกษตรอินทรีย์ (PGS) นิทรรศการ และการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มสมาชิก ณ ศูนย์เรียนรู้ฯ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ ในการสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกหญ้าและการเลี้ยงโคให้แก่เกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว เป็นการปลูกหญ้าและเลี้ยงโค รวมทั้งประสานกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำบ่อบาดาลให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
6) ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดกรรณิกา (โครงการระบบควบคุมความชื้นในโรงเรือนเห็ดอัจฉริยะ) ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ณ วิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดกรรณิกา หมู่ที่ 1 บ้านห้วยขม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินการ ดังนี้ (1) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรสมัยใหม่ IoT : Smart Farm เช่น เซนเซอร์อุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ การวัดค่าปุ๋ย ความเป็นกรด ความเป็นด่างในน้ำ หรือ ในดิน ฯลฯ พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และ (2) บูรณาการการทำงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่ เช่น ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์อากาศ ข้อมูลผลผลิตพืชผล การเลือกใช้ปุ๋ย ข้อมูลด้านเกษตรกรรมอื่นๆ เป็นต้น พร้อมส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มทางการเกษตรสมัยใหม่ (Agricultural Digital Platform) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเกษตรทั้งวงจร
3.2 การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
1) เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ณ หาดเชียงราย (พัทยาน้อย) ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ให้มากขึ้น และให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กรมการท่องเที่ยว และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน รวมทั้งดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว เพื่อรองรับและสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
2) เยี่ยมชมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และพบปะผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ณ ชุมชนปางควาย บ้านใหม่นาวา ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด กรมการท่องเที่ยว และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) บูรณาการและประสานการดำเนินงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเสริมสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป (2) ให้กรมการท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับ และสร้างความมั่นใจให้แก่นักทองเที่ยว และ (3) ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
3) ตรวจเยี่ยมชุมชนบ้านโป่งศรีนคร และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น ณ บ้านโป่งศรีนคร ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด บูรณาการและประสานกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกตามความต้องการของชุมชน (2) ให้กรมการท่องเที่ยว ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า และบุคลากรผู้ให้บริการของชุมชนให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป และ (3) ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและประชาสัมหันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และเส้นทางการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
4) ตรวจราชการแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ณ วัดป่าพุทธชินวงศาราม พร้อมทั้งพบปะชุมชนและเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด บูรณาการและประสานกับชุมชนและหน่วยงาน ต่างๆ ในพื้นที่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยว และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น
3.3 การพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
1) ประชุมหารือกับภาคเอกชนเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดพะเยา และเยี่ยมบูธผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ณ ร้านอาหารแสงจันทร์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประสานเชื่อมโยง กระทรวงพาณิชย์ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME ที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การจัดทำเครื่องหมายการค้า และมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งประสานผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่และเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดกับกระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานสินค้าและเครื่องหมายการค้าและขยายผล Business Development Service (BDS) ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
2) ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมล้านนาสันปูเลย ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้ธนาคารออมสินเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม และจัดทำโครงการดีๆ ออกสู่สังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3) ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรเชียงของ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมศุลกากรเข้มงวดการตรวจปล่อยการผ่านแดนสินค้าประเภทยางพาราแต่เนื่องจากกรมศุลกากรไม่มีอำนาจในการห้ามผ่านแดนสินค้า จึงให้ประสานกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการต่อไป และ (2) ให้ด่านศุลกากรเชียงของ ตรวจสอบข้อตกลงระหว่างกรมศุลกากรกับกรมขนส่งทางบก กรณีการย้ายสถานที่ปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรจากพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area CCA) ไปยังอาคารศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ
4) ตรวจเยี่ยมศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ พิจารณาและส่งเรื่องมาที่คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและกำกับดูแลระบบ National Single Window (NSW) โดยระบุว่าในส่วนของหน่วยงานตนเองจะต้องดำเนินการเรื่องใดบ้าง มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นหรือไม่ พร้อมประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้ เช่น กรมศุลกากรอาจจะต้องมีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ตู้สินค้ารวมถึงเครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุกสินค้าเพิ่มเติม ประมาณการงบประมาณ 500 ล้านบาท เป็นต้น
5) ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรเชียงแสน ติดตามการดำเนินงาน ตามนโยบายรัฐบาล ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) มอบหมายให้นายอำเภอเชียงแสนส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เจรจาการปล่อยน้ำจากเขื่อนในสาธารณรัฐประชาชนจีน และ (3) ให้กรมศุลกากรสนับสนุนให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมการส่งออกสินค้าโดยเพิ่มชนิดและปริมาณของสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มดุลการค้าระหว่างประเทศ
6) ตรวจเยี่ยมท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนเพื่อลดอุปสรรคการค้าชายแดนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ณ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ
6.1) ให้หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น (ระดับจังหวัด อำเภอ) เช่น จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ ประสานงานกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพมียนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาปัญหาไฟป่าและการเผาเพื่อทำการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานระดับท้องถิ่นของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลือจากฝ่ายไทยในการดับไฟป่าในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาจพิจารณาตัวอย่างการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเป็นกรอบรองรับความร่วมมือและมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนในการประสานงานกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเพิ่มเติม เพื่อลดจุดความร้อนที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน
6.2) ให้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการกรอกใบ ตม. 6 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะเดียวกับจุดผ่านแดนถาวรอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามนโยบายรัฐบาล
6.3) ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันสาธารณรัฐประชาชนจีนในการให้ความเห็นชอบการกำหนดให้ท่าเรือกวนเหล่ย ของมณฑลยูนนาน เป็นด่านที่สามารถนำเข้าผลไม้จากไทยได้เพิ่มเติม
6.4) ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาหารือกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area - CCA) โดยเฉพาะด่านศุลกากรเชียงของ เนื่องจากมีความพร้อมในการจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน
6.5) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เพิ่มความเข้มงวดและประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมทางไซเบอร์
7) รับพังการบรรยายสรุป และเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ณ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการ (1) วางแผนดูแลเรื่องสถานกักกันให้ปลอดโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์ก่อนส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการรับรองความปลอดโรค ปลอดภัยจากการตรวจสอบคุณภาพของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ปัจจุบันประเทศไทยต้องส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อกักกันสัตว์รอการส่งออก) รวมทั้งเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการขยายตลาดการส่งออกสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และซาอุดีอาระเบียต่อไป และ (2) เตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ อาทิ การจัดหาวัคซีนสำหรับสัตว์ หากความต้องการของตลาดส่งออกมีมากขึ้น
8) ตรวจเยี่ยมการดำเนินการสถานที่กักสัตว์ ณ สถานที่กักสัตว์ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการ (1) จัดทำกรอบข้อมูลหรือแนวทางการดำเนินงาน เพื่อประกอบการเจรจาเรื่องการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ผ่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไปยังแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามเส้นทาง R3A และ (2) ศึกษาโมเดลเมืองสิงห์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นสถานที่กักกันสัตว์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่กักกันสัตว์ต้นแบบสำหรับการส่งออกสัตว์ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
9) ตรวจติดตามการดำเนินงานท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินการตามระเบียบของกรมปศุสัตว์และระเบียบพิธีการของกรมศุลกากรอย่างเคร่งครัด โดยให้เป็นไปตามมาตรฐาน EIA เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
10) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมเจ้าท่าเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเรือบริวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) เมื่อได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2567 แล้ว ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการตามระเบียบในการจัดทำ TOR และเตรียมการหาผู้รับจ้าง เมื่อได้ผู้รับจ้างแล้วให้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาตามแผนงาน รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (2) เมื่อกรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างท่าเรือบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก) แล้วเสร็จและส่งมอบให้เทศบาลตำบลเวียงแล้ว ให้เทศบาลตำบลเวียงดูแลท่าเรือฯ ให้มีความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย จัดไฟฟ้าแสงสว่างให้เพียงพอ และเตรียมการจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ รวมถึงงบประมาณในการบำรุงรักษาท่าเรือ
11) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 เชียงราย-อำเภอเชียงของ ตอนอำเภอเทิง - บ้านต้า จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งต่อประชาชนในพื้นที่และแรงงาน ในระหว่างการก่อสร้างในช่วงทางที่ผ่านพื้นที่ชุมชน อาทิ ติดตั้งป้ายเตือน ไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณเพิ่มความปลอดภัยอื่นๆ รวมทั้งให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้สัญจรเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยขอให้มีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร สัญญาณไฟกระพริบ แถบชะลอความเร็ว (Rumble Strip) รวมถึงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย อื่นๆ และ (2) ประสานผู้รับจ้างในการทำทางลาด (Slope) เชื่อมทางต่างระดับระหว่างถนนหลักกับถนนเข้าชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
12) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ ณ อาคารบริหารงานส่วนกลาง ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สาย เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด
13) ติตตามการดำเนินการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาจัดทำมาตรการการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการทำใบขับขี่ต่างแดน ณ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และรองรับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและ (2) ให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก และกระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร นำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน เพื่อพิจารณาแนวทางเร่งรัดการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ให้เป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนบริเวณด่านพรมแดนเชียงของ ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญและมีศักยภาพในการขยายตัวด้านการนำเข้า - ส่งออกในอนาคต โดยศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ที่มีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2572
14) ตรวจเยี่ยมการส่งเสริมตลาดสินค้าและพัฒนาผู้ประกอบการของกระทรวงพาณิชย์ ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้ามัดย้อมชิโบริ ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์ในภูมิภาค จัดหาช่องทางขยายตลาดภายในประเทศ (2) ให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มพูนองค์ความรู้และคำปรึกษากลยุทธ์การเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ และสนับสนุนการขยายตลาดสู่ยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากญี่ปุ่น และ (3) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำ อาทิ การจดอนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า รวมถึงการสร้างแบรนด์
15) ตรวจเยี่ยมการส่งเสริมตลาดสินค้าและพัฒนาผู้ประกอบการของกระทรวงพาณิชย์ ณ กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านต๊ำน้ำล้อม “ลินชวา” ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนับสนุนองค์ความรู้ด้านระบบบัญชี การวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการที่ทันสมัย (2) ให้กรมส่งสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ความรู้และคำปรึกษากลยุทธ์การเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ และ (3) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การช่วยเหลือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (ตราสัญลักษณ์) เพื่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์การตลาดส่งเสริมตลาดสร้างการรับรู้ในสินค้าของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น
16) ประชุมหารือและเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง “ติดปีกกาแฟเชียงรายส่งออกด้วย FTA” ณ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการดังนี้
16.1) ให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัย การเพิ่มศักยภาพการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อแปลงและสนับสนุนพันธุ์กาแฟ
16.2) ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
16.3) ให้กรมการค้าต่างประเทศ และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มพูนความรู้เรื่องการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ
16.4) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเสริมสร้างความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ
16.5) ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) สนับสนุนเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงและมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ควบคู่กับการให้ความรู้ทางการเงินเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถใช้เงินทุนในการปรับปรุงและขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ ต่อยอดอาชีพเกษตรได้อย่างยั่งยืน
17) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตีเหล็กและ อุตสาหกรรมผ้ามัดย้อม ข้อสั่งการ (1) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พิจารณาสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตีเหล็กและผ้ามัดย้อมให้ครอบคลุมมากขึ้น (2) ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ดำเนินการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการลดต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมถึงสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สนับสนุนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และ (3) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันการแก้ไขผังเมืองอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่
18) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ ณ สมาคมการค้า ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ ดังนี้
18.1) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการกับกรมป่าไม้องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งผลักดันการขออนุญาตดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมไม้เป็นรูปแบบ One Stop Service
18.2) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) บูรณาการร่วมกับ กรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันการแก้ไขผังเมืองอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่
18.3) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พิจารณาสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการรายย่อยให้ครอบคลุมมากขึ้น
18.4) ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยโดยสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้ให้รองรับบริบทที่เปลี่ยนไป เพิ่มผลิตภาพ รวมทั้งพัฒนาช่องทางการตลาด ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนยกระดับการเข้าถึงบริการการพัฒนาสถานประกอบการแก่รู้ประกอบการในรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ และให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) บูรณาการกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหาแนวทางการลดต้นทุนหรือสนับสนุนการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้แก่ผู้ประกอบการ
18.5) ให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมผลักดันและสนับสนุนให้ไม้สักเป็นพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ 5 จังหวัด (ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์)
19) ตรวจเยี่ยมและติดตามการส่งเสริมวิสาหกิจสุรากลั่นชุมชน ณ วิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ (1) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ พิจารณาการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนมากขึ้น (2) ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1) สนับสนุนการยกระดับผลิตภาพการผลิตของกระบวนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สุราชุมชน การพัฒนาตลาดออนไลน์ และการสร้างแบรนด์ และ (3) ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) บูรณาการกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต โดยนำเศษวัสดุจากไม้มาใช้เป็นพลังงานชีวมวลสำหรับการผลิตสุรากลั่นชุมชน
3.4 การยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความมั่นคง
1) ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (คทช.) พื้นที่จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมพัฒนาที่ดิน เร่งรัดพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า และระบบบริหารจัดการในพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตได้เข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และ (2) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ พัฒนาผลผลิตการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น รวมถึงพัฒนาช่องทางการตลาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีช่องทางการแข่งขันของตลาด นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับสากล รวมทั้งสนับสนุนการยกระดับการผลิตของเกษตรกร สร้างองค์ความรู้ใหม่และเทคนิคการทำเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และส่งเสริมการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) ติดตามการแก้ไขปัญหาความมั่นคงชายแดนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และการดูแลสวัสดิการของกำลังพลและครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งการควบคุมไฟป่าแบบบูรณาการ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ณ ฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบ กองกำลังผาเมือง ตำบลโปร่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และมณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กองกำลังผาเมือง และมณฑลทหารบกที่ 34 ดำเนินการ ดังนี้
2.1) สนับสนุนรัฐบาลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ เนื่องจากกองทัพเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งด้านกำลังพล และยุทโธปกรณ์ สามารถให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
2.2) ใช้กลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอยู่ทั้งในระดับพื้นที่และระดับภูมิภาค ในการประสานความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับกำลังทหารของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งดำเนินการลาดตระเวนร่วมตามแนวชายแดน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อใจและสร้างความเข้มแข็งของกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกัน
2.3) สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวัง และเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของกองทัพในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งกองทัพมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งต้นน้ำ (การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน) กลางน้ำ (การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตอนใน) และปลายน้ำ (การสนับสนุนรัฐบาลในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด) ทั้งนี้ กำลังพลทุกนายจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด ทั้งเป็นผู้เสพยาเสพติด หรือผู้ค้ายาเสพติด
2.4) หมั่นทบทวนภารกิจและโยบายที่ได้รับมอบหมายอยู่เสมอเพื่อให้กำลังพลมีความพร้อมในการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามต่าง 1 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของเขตพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงบ้านปางปูเลาะ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มุ่งเน้นส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพ และอัตลักษณ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมการมีรายได้ ขยายโอกาสในการสร้างตลาด และการจำหน่ายสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน พร้อมขยายผลสู่ระดับนานาชาติ รวมทั้งผลักดันและขยายผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โปรแกรมออกแบบลวดลายสินค้าอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์และระบบอีคอมเมิร์ซ www.pyhill.com ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา
4) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่องคือตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ส่งเสริมการให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ในประเด็นการรู้เท่าทันและป้องกันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัล และผลักดันโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (17 จังหวัดภาคเหนือ) ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยเพิ่มการผลิตผู้บริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ อำเภอละ 4 คน จำนวน 196 อำเภอ รวม 784 คน
5) ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำอิง ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ณ ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้เทศบาลตำบลครึ่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องตลิ่งริมแม่น้ำถูกกัดเซาะ ประสานกับสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงรายในการขอรับสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วนและ (2) ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง พิจารณาจัดทำแผนงานขอรับสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2569 สำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริม แม่น้ำอิง ชุมชนห้วยขี้เหล็ก บ้านหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
6) ตรวจเยี่ยมการบูรณาการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิ เพื่อจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะทางทะเบียนราษฎร เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล เป็นต้น และ (2) ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมการปลูกฝังการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และสามารถใช้เงินกองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับระเบียบของกองทุนฯ
7) ตรวจเยี่ยมสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด ณ มณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พิจารณาแนวทางส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัดพื้นฟู และมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ โดยพิจารณาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมทั้งหารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัดพื้นฟู รวมถึงนำตัวอย่างที่ดีในพื้นที่อื่นมาปรับใช้ด้วย
8) ตรวจเยี่ยมการฝึกอาชีพตามโครงการคืนคนดีสู่สังคม ศูนย์ฝึกอาชีพสร้างงานสร้างรายได้ และตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการนายจ้าง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นท้องที่ ณ ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล ตำบลวารี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และเยี่ยมชมบูธกิจกรรมการให้บริการด้านแรงงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการจัดหางานนำ “ล้างรถด่วนเชียงรายโมเดล” ของศูนย์ฝึกอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ เมตตา....พระไพศาลประชาทร วิ. วัดห้วยปลากั้ง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ไปต่อยอดร่วมกับเอกชน กลุ่มธุรกิจปั๊มน้ำมัน เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับแรงงานและผลักดันให้แรงงานเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน มาตรา 40 และ (2) ให้กรมพัฒนาฝืมือแรงงาน ส่งเสริมและต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของท้องถิ่นหรือชุมชน ให้ได้มาตรฐานและสามารถนำไปจำหน่ายและส่งออกสู่ตลาดได้มากขึ้น
3.5 การอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
1) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยาย แนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูหนองหลวงจังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการจัดทำแผนหลักการพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูหนองหลวงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหลวงให้เป็นไปตามแผนหลักการพัฒนา การอนุรักษ์ และพื้นฟูหนองหลวงต่อไป
2) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยายสรุปโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองฮ่าง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน ตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งดำเนินการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองฮ่างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งนำเสนอคณะรัฐนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองฮ่าง ตำบลทานตะวัน ตำบลหัวง้ม ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และดำเนินการขับเคลื่อนตามขั้นตอนต่อไป และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำหนองฮ่าง และพื้นที่โดยรอบ ให้เป็นไปตามผลการศึกษา
3) ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 4 (เชียงราย) ตำบลสันทราย อำเกอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และป่าชุมชนบ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
3.1) โครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากการประชุมบูรณาการการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ในประเด็นการผลักดันการพัฒนาด่านการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อำภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทรายแบบอารยเกษตรสู่วิถียั่งยืนให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดดำเนินการต่อไป
3.2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการโครงการสำคัญดังนี้ (1) ด้านทรัพยากรน้ำ ได้แก่ (1.1) โครงการอนุรักษ์พื้นฟูเวียงหนองหล่ม - หนองเขียว พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หมู่ที่ 2 บ้านป่าสักหลวง ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (1.2) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (วิทยาเขตน่าน) บ้านคั่งถี่ หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (1.3) โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากลำน้ำว้า สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยซ้อ และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) หมู่ที่ 1 บ้านห้วยซ้อ ตำบลหมอเมือง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน (1.4) โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยเคียน พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา (1.5) โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำมิน พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่ 6 7 และ 13 น้ำมิน น้ำมินเหนือ และน้ำลาว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (1.6) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำฝ่ายสบทรายพร้อมระบบกระจายน้ำ บ้านดอนมูล หมู่ที่ 16 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา (1.7) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแก้มลิงน้ำยมหลง พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอทิตย์สนับสนุนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ข้าว บ้านหัวเมือง หมู่ที่ 9 ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และ (1.8) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยแม่ยางน้อย-หนองสองห้อง - ห้วยร่องจ้อย ระบบกระจายน้ำ ตำบลแม่ยางร้อง อำภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.1) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณการท่องเที่ยวน้ำตกขุนแจ อุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย (2.2) โครงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก (เตรียมการ) จังหวัดเชียงราย (2.3) โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ในพื้นที่ป่านันทนาการน้ำตกตาดหมอก น้ำตกวังเขียวและน้ำตกนางกวัก จังหวัดน่าน (2.4) โครงการปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ จังหวัดน่าน (2.5) โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่านสู่ท่องเที่ยวคุณภาพสูง (2.6) โครงการปรับปรุงเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา (2.7) โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่เตรียมการป่านันทนาการน้ำตกแม่แคม น้ำตกนาคูหา และถ้ำผาสิงห์ จังหวัดแพร่ (2.8) โครงการปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ จังหวัดแพร่ และ (2.9) โครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเชิงนิเวศเละเชิงสุขภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนจังหวัดแพร่
3.3) ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงสถานการณ์วิกฤตไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน โดยควบคุมกำกับดูแลการจัดการไฟในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่มุ่งเป้า 11 ป่าอนุรักษ์ และ10 ป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่เกษตรเผาไหม้ซ้ำซากในพื้นที่สูง
3.4) ให้กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำรวจพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การขุดเจาะ รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ และบุคลากรพร้อมปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง และให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือ พร้อมตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมกับจังหวัด
3.5) ให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเฝ้าระวังการบุกรุกและตัดไม่มีค่า โดยให้มีการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของกำลังพลเป็นสำคัญด้วย
3.6) ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดและสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ประสานหน่วยงานท้องถิ่นในการดูแลไม่ให้มีการทิ้งน้ำเสียลงแหล่งน้ำ รวมถึงบ่อขยะ เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำและการเกิดไฟไหม้บ่อขยะ โดยต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
3.7) ให้กรมป่าไม้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาชนในการบริหารจัดการป่าร่วมกับภาครัฐ โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.8 ปัจจุบันปัญหาไฟป่าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียสภาพป่าไม้และสัตว์ป่าจำนวนมาก รวมถึงสร้างมลพิษหมอกควัน ฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ จึงขอให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังดูแลป้องกันไฟป่าที่จะเกิดขึ้นในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชน
4) ติดตาม “การฟื้นฟูและพัฒนากว๊านพะเยา โดยท้องถิ่นและซุมชน” ภายใต้โครงการพัฒนากว๊านพะเยาและความสำเร็จของศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ ณ อุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK Park) ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ให้สถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ดำเนินการ ดังนี้
4.1) ร่วมกับศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด 4 จังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำของจังหวัดเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก ผังน้ำระดับจังหวัดแบบออนไลน์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศให้ทันสมัย
4.2) ร่วมสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด 4 จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ให้ทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ในประเด็นการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และกรอบอัตราเจ้าหน้าที่ ให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
4.3) ร่วมสนับสนุนการนำร่องศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ให้เป็นศูนย์อบรมและพัฒนาศักยภาพ เพื่อการขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัด
4.4) ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ประชาชน รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสที่ทวีความรุนแรง
5) ติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและ ฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดเชียงราย และตรวจเยี่ยมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
5.1) ให้จังหวัดถือปฏิบัติตามแนวทางที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ปี 2566-2567 ตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ปี 2567 รวมถึงกลไกบริหารจัดการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดโดยเคร่งครัด
5.2) ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน มิให้มีการเผา และดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการ กฎหมาย และผลการปฏิบัติของภาครัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ตลอดจนช่องทางในการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และช่องทางการแจ้งเหตุ
5.3) ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย จัดกำลังเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง กรณีเกิดสถานการณ์ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากและสถานการณ์มีแนวโน้มทวีความรุนแรง ให้ประสานขอรับการสนับสนุนอากาศยานปีกหมุนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ฮ.ปภ.32) หรือหน่วยงานที่มีอากาศยานในการช่วยดับไฟ
3.6 ประเด็นอื่นๆ (โครงการสำคัญของแต่ละกระทรวง)
1) ตรวจราชการและรับฟังการบรรยาย โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย และสาขาเชียงราย ณ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้การประปาส่วนภูมิภาคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาผลักดันการดำเนินโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อน - หลัง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองเชียงราย และการท่องเที่ยวในอนาคต และ (2) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ดำเนินการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สาย และสาขาเชียงรายให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป
2) ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญในกำกับของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่) ข้อสั่งการ ดังนี้
2.1) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและปัญหากรรมสิทธิที่ดินและการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์เพื่อสร้างวัดในที่ดินของรัฐในประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ป่าไม้ ที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ราชพัสดุ ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และที่อุทยานแห่งชาติ
2.2) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการวัดอารามภิรมย์ และวัดท่องเที่ยวต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างประวัติเรื่องราว (Story) กิจกรรมสร้างแรงจูงใจด้านการศรัทธา โดยให้เชื่อมโยงข้อมูลกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รวมทั้งการอำนวยความสะดวกของจุดให้บริการและสาธารณูปโภค
2.3) ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดำเนินการจัดทำชุดข้อมูลในระดับต่างๆ คือ A (กองทุนดีเด่น) B (กองทุนที่ต้องปรับปรุงฯ) และ C (กองทุนที่ไม่ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาส่งเสริม ผลักดัน หรือนำกลับมาดำเนินการใหม่
2.4) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการศิลานุปัฏฐากและกุฏิชีวาภิบาลโดยบูรณาการความร่วมมือให้ขับเคลื่อนได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
3) ติดตามผลการปฏิบัติงานและมอบนโยบายกระทรวงการคลังให้กับคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดพะเยา (คบจ. พะเยา) ณ ห้องประชุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่พะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานคลังจังหวัด แนะนำหรือสนับสนุนช่วยเหลือส่วนราชการในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน และ (2) ให้หน่วยงานจัดเก็บภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ให้ได้มากที่สุด
4) ตรวจเยี่ยมการให้บริการประชาชนด้านกงสุลของสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมการกงสุลศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนด้านกงสุลอย่างต่อเนื่อง (2) ให้สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวทุกแห่ง ร่วมมือกับสำนักงานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนในภารกิจหรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง และ (3) ให้กรมการกงสุลเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันมิให้คนไทยโดนหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศและตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
5) ติดตามการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน เกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการ ณ จังหวัดเชียงราย (ชุมชนป่าตึงริมกก ร้านโอโซนฟาร์ม บริษัท เฮลท์ เฮิร์บ เซ็นเตอร์ และบ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย) และจังหวัดพะเยา (มหาวิทยาลัยพะเยา และอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK Park)) ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมสึกษา การวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย และให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นกลไกในการประสานและนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายชุมชน เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (2) ให้มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6) มอบนโยบายและเป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อว. For EV) ณ มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงฯ ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย “อว. For EV” ทั้ง 3 เสาหลัก คือ การผลิตกำลังคน (EV-HRD) การส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Transformation) และการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมในยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Innovation) และ (2) ให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมมือปรับเปลี่ยนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Green Campus และเป็นกระทรวงต้นแบบในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
7) ตรวจเยี่ยมปางควายเวียงหนองหล่ม ณ ปางควายเวียงหนองหล่ม จุดห้วยน้ำราก ตำบลจันจว้า อำกอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้กรมชลประทานสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร (2) ให้กรมปศุสัตว์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ดำเนินการวิจัยขยายพันธุ์หญ้า และผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปให้แก่เกษตรกร เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ และ (3) ให้ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายสนับสนุนอาหารสัตว์ อาทิ หญ้าแห้ง ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง
8) ติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ณ ท่าอากาศยานแพร่ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ข้อสั่งการ ให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรรับความเห็นในพื้นที่ไปพิจารณาดำเนินการสนับสนุนให้มีการผลิตน้ำแข็งแห้งเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง
9) ติดตามการดำเนินการก่อสร้างทางลอดและปรับปรุงถนนบริเวณแยกศูนย์ราชการบนถนนสาย ชร. 1023 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงชนบทเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างทางลอดและปรับปรุงถนนบริเวณแยกศูนย์ราชการบนถนนสาย ชร.1023 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ให้ได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยเร็ว ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงคมนาคม และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงคมนาคม “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” และเป็นการช่วยแก้ปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกบนถนนสาย ชร.1023 ที่เป็นคอขวด บริเวณหน้าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น
10) ติดตามโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 (ทางลอดหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา) ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงให้ความสำคัญในการออกแบบติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณเพิ่มความปลอดภัย ได้แก่ สัญญาณไฟจราจร สัญญาณไฟกระพริบ รวมถึงป้ายเตือนแถบชะลอความเร็ว (Rumble Strip) รวมถึงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยอื่นๆ
11) ตรวจเยี่ยมงานสร้างท่อร้อยสายใต้ดินพื้นที่เมืองเชียงราย (โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน) ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ณ บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช และบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเกอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรมทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม รวมถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานท่อร้อยสายภายในจังหวัดเชียงราย เพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ และรองรับการพัฒนาเขตเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ร่วมกันศึกษา วางแผน และติดตามการดำเนินงานจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่จังหวัด เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน และเกิดการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
12) ติดตามแผนโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย และการติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงขยายของการประปาส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง) ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการ ดังนี้
12.1) เร่งดำเนินโครงการงานก่อสร้างสถานีเพิ่มแรงดัน พร้อมวางท่อจ่ายน้ำ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 3 ตำบลนางแล อำภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ได้รับงบประมาณปี 2568 ให้สำเร็จลุล่วง และดำเนินการของบประมาณในปี 2569 เพื่อดำเนินการในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 11 และ หมูที่ 16 ตำบลนางแล เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคให้กับพื้นที่ตำบลนางแลอย่างทั่วถึงตามลำดับต่อไป
12.2) เร่งดำเนินโครงการงานปรับปรุงระบบผลิตน้ำประปา ขนาด 500 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2568 เพื่อแก้ไขปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ ให้สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของเมืองเชียงราย ซึ่งมีการขยายตัวของชุมชน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่อย่างรวดเร็ว
12.3) เร่งรัดการจัดเตรียมความพร้อมโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย ให้มีความพร้อมและให้หน่วยงานภายในการประปาส่วนภูมิภาค ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียมแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย - อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย รายงานความก้าวหน้า และรายงานวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2569
12.4) การดำเนินการตามข้อ 12.1-12.3 ให้ปฏิบัติตรงตามกรอบเวลาปฏิทินงบประมาณ และให้ปฏิบัติตามข้อระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
13) ประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ ดังนี้
13.1) ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 ร่วมกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่
13.2) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พิจารณาเพิ่มบทบาทสำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยเน้นการทำงานในเชิงรุก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงการให้บริการและเป็นหน่วยงานที่ประชาชนนึกถึงมื่อประสบความเดือดร้อน รวมทั้งพิจารณาจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม โดยกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน
13.3) ให้กรมราชทัณฑ์ เร่งดำเนินการขยายผลการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ต้องขัง เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม และตรวจสอบแผนการย้ายเรือนจำทั่วประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละจังหวัด รวมทั้งพัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังก่อนปล่อย ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงเมื่อพ้นโทษ
13.4) ให้กรมบังคับคดี ทบทวนเรื่องการไกล่เกลี่ยโดยต้องเกิดจากความสมัครใจ และอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้ปฏิบัติได้จริง รามทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการไกล่เกลี่ยให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการจัดทำงานวิจัยเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในภารกิจของกรมบังคับคดี เพื่อทำให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความยุติธรรม
13.5) ให้กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปรับบทบาทการทำงาน เน้นการทำงานเชิงรุกที่ต้องเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนและหมู่บ้าน และเน้นคดีแพ่ง (คดีกำกับการปกครอง)
14) ตรวจเยี่ยมการรณรงค์เชิญชวนผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เข้าสู่ระบบประกันสังคมภาคสมัครใจเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 ณ ตลาดล้านเมือง และเยี่ยมผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ณ บ้านเลขที่ 29 หมู่ 9 ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ(1) ให้สำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่แรงงานอิสระ เรื่องสิทธิประโยชน์ และตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตลอดไป รวมถึงการส่งเสริม สร้างความรู้ ให้คำแนะนำในการดูแลผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ให้กับครอบครัวของผู้ประกันตน ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้าถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น (2) ให้กรมการจัดหางาน ส่งเสริมอาชีพการรับงานไปทำที่บ้านให้กับครอบครัวหรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพให้มีรายได้ (3) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ประสานภาคีเครือข่ายด้านแรงงานในระดับพื้นที่ เช่น อาสาสมัครแรงงาน เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนให้คำปรึกษาและแนะนำด้านสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานในหมู่บ้านและชุมชน
15) รับฟังบรรยายสรุปผลสถานการณ์ด้านแรงงานและสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย และตรวจเยี่ยมการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพและการฝึกอบรมหลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหลักสูตรการฝึกอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพและการฝึกอบรมหลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ผ่านการฝึกและผู้รับบริการ ทั้งนี้ ให้ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้ผ่านการฝึกอบรม และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการมากขึ้น และส่งผู้ผ่านการฝึกเข้าสู่ตลาดแรงงานกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว
16) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ดังนี้
16.1) ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายมีการจัดทำผังภาพรวมในมิติเกษตรและมิติพื้นที่ โดยจัดทำผังที่แสดงถึงทิศทางน้ำ ระบบน้ำดี น้ำเสีย และความลาดเอียงเส้นความชันความสูง (Contour Line) ของพื้นที่เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งจัดทำผังที่แสดงถึงพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ และยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งการวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่
16.2) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบริหารจัดการการใช้ประโยชน์และไม่ใช้ประโยซน์ให้มีความชัดเจนของพื้นที่ในสถานศึกษา หากพื้นที่ส่วนใดยังไม่มีการใช้ประโยชน์ให้ปลูกต้นไม้ อาทิ ต้นยางนา
16.3) ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ) จัดทำแนวทางการประเมินวิทยฐานะ ว PA ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประเทศ ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
16.4) ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายมีการเรียนการสอนที่ครบวงจร ครอบคลุมการเรียนรู้ในหลายมิติ และจัดการเรียนรู้แบบคู่ขนานระหว่างกระบวนการเรียนรู้ที่อยู่ในวิถีชีวิตกับการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้กับผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน
17) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย และมอบนโยบาย ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่นำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ (2) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่มีการบูรณาการจัดการศึกษากับทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ และ (3) ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่มีการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์
18) ตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลเชียงราย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย จัดทำข้อมูลด้านการศึกษาของนักเรียน เช่น ข้อมูลการศึกษาต่อของนักเรียนที่ครอบคลุมในมิติต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลด้านระยะทางภูมิลำเนาของนักเรียน สถานศึกษาเดิม และเหตุผลที่สมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาใหม่
19) การติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม ตำบลเวียง อำภอเทิง จังหวัดเชียงราย ข้อสั่งการ (1) ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาปรับปรุง แก้ใข ยกเลิกกฎระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ไม่ทันสมัย และไม่มีความจำเป็น เพื่อลดภาระงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา (2) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีสิ่งก่อสร้างชำรุด ทรุดโทรม เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับปรับปรุงหรือซ่อมแซม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา และ (3) ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ที่ชำรุดทรุดโทรม
20) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพ สู่ Health Rider และการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ณ สนามกีฬาโรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ตำบลตาลชุม อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ข้อสั่งการ ดังนี้
20.1) ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Heath Rider ในเรื่อง (1) ความรู้เรื่องยาทั่วไป เพื่อให้ข้อแนะนำผู้ป่วยเมื่อไปส่งยา (2) การประเมินสุขภาพของผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อดูแลติดตามข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยตามเกณฑ์คุณสมบัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) Health Rider และ (3) ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้กำลังใจผู้รับการบำบัดระหว่างรับยาอดยาบ้า
20.2) ให้องค์การเภสัชกรรม พิจารณาดำเนินการศึกษาแนวปฏิบัติของยาอดยาบ้า เรื่องขนาดยา วิธีการบริหารยา และวิธีการจ่ายยา เพื่อให้มีความปลอดภัยกับผู้ป่วย ก่อนการส่งเสริมการใช้ยาอดยาบ้าต่อไป
20.3) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด บูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเติมเต็มจัดหาอาชีพให้ผู้ที่รับการรักษาฟื้นฟูยาเสพติดที่รักษาหายแล้วเพื่อสร้างรายได้ และพัฒนาชุมชนต่อไป โดยเฉพาะชุมชนตำบลตาลชุม และตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 197 คน ให้ดูแลรายบุคคลในการจะสนับสนุนให้มีอาชีพต่อไป
21) ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน (1) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 จังหวัดเชียงราย (2) การแพทย์แผนไทยและโรงงานผลิตสมุนไพร โรงพยาบาลแม่ใจ จังหวัดพะเยา และ (3) โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา ข้อสั่งการ (1) ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ร่วมกันพัฒนา วิจัย และตรวจสอบคุณภาพสมุนไพร เพื่อผลิตยาสมุนไพรสำหรับใช้ในระบบบริการทางการแพทย์ทดแทนยาแผนปัจจุบัน และส่งเสริมศักยภาพในการปลูกสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ (2) ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ค้นหาวิธีลดระดับสารปนเปื้อนในผักและสมุนไพร เพื่อให้ประชาชนบริโภคได้อย่างปลอดภัย
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 มีนาคม 2567
3735