WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2571

Gov 28

ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2571

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (แผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 จำนวน 731 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 208.08 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

          ทั้งนี้ แผนอัตรากำลังฯ จะส่งผลต่อการเพิ่มอัตรากำลังและบุคลากร และภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต จึงเห็นควรที่มหาวิทยาลัยพะเยาจะพิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลัก อย่างประหยัด และคุ้มค่า และคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืน ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          อว. รายงานว่า

          1. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นโรงพยาบาลขนาด 56 เตียง ได้เปิดให้บริการรักษาพยาบาลแผนก ผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 และให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก (นอกเวลาราชการ) แผนกผู้ป่วยใน และแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 โดยเปิดให้บริการรักษาพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ พบว่าปี 2561-2564 มีผู้เข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรงพยาบาลได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางการให้บริการระบาดวิทยา และเป็นโรงพยาบาลสนามที่รองรับโรคระบาด เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติ เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และมีหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ชุมชนในจังหวัดภาคเหนือตอนบนสำหรับสาขาที่เปิดให้บริการ ได้แก่ เวชปฏิบัติทั่วไป จักษุวิทยา อายุรกรรม แพทย์แผนไทยประยุกต์ จิตเวชศาสตร์ กายภาพบำบัด ศัลยกรรมกระดูก ระบบทางเดินหายใจ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คลินิกอายุรกรรม ประสาทและสมอง กุมารเวชกรรม รังสีวิทยา ศัลยกรรม ศูนย์ตรวจสุขภาพ และโสต ศอ นาสิก โดยในปี 2565 มีผู้เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 58,130 คน แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 1,376 คน และมีเตียงผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วยพิเศษ และผู้ป่วยวิกฤต รวม 56 เตียง

          2. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยามุ่งเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ1 ขนาด 400 เตียง โดยมีแผนการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

 

ปีงบประมาณ ..

การดำเนินการตามแผนพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา

2568-2571

ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง [โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1)]2

2571-2575

ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง [โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S (Standard-level Hospital)]2

 

          ซึ่งเป็นไปตามประกาศแพทยสภาที่ 97/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดดำเนินการหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิตและรับรองสถาบันผลิตแพทย์ (สำหรับสถาบันเปิดดำเนินการใหม่) พ.ศ. 2565 ที่ระบุว่า โรงพยาบาลหลักหรือสถานฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกหลักจะต้องเป็นโรงพยาบาล ระดับไม่ต่ำกว่าโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S ขนาด 300 เตียงขึ้นไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยาเคยได้รับการประเมินด้านศักยภาพการพัฒนาจัดตั้งโรงพยาบาลจาก สธ. ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและการให้บริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

          3. ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นโรงพยาบาลขนาด 56 เตียง โดยมีอัตรา กำลังบุคลากรทางการแพทย์ (อัตรากำลังฯ) จำนวน 185 อัตรา แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ดังนี้

 

ฝ่าย

อัตรากำลังฯ (คน)

สายวิชาการ

3

การบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ : งานด้านการแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ นายแพทย์

3

สายสนับสนุน

182

(1) อำนวยการ : งานด้านบริหารทั่วไป การเงินและบัญชี แผนและพัสดุ และโครงสร้างพื้นฐาน และวิศวกรรมทางการแพทย์

34

(2) การบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ : งานด้านเภสัชกรรม เทคนิคการแพทย์ รังสีวิทยา สหเวชกรรมฟื้นฟู และศูนย์บริการธาลัสซีเมีย

18

(3) การพยาบาล : งานด้านการพยาบาลผู้ป่วยประเภทต่างๆ เช่น ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องคลอด ผู้ป่วยวิกฤต

111

(4) บริการปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ : งานปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วยคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คลินิกแพทย์แผนจีน และงานโภชนาการ

7

(5) พัฒนาและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ : งานประกันสุขภาพ งานเวชระเบียนและเวชสถิติ และงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน

12

รวม

185

 

          4. อัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา (ตามข้อ 3.) มีไม่เพียงพอต่อภารกิจการบริการสุขภาพและไม่สอดคล้องกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเพื่อให้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยพะเยา และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น อว. (มหาวิทยาลัยพะเยา) จึงได้จัดทำแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 โดยขอรับจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 731 อัตรา งบประมาณรวม 208.08 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

              4.1 วัตถุประสงค์ 

                    (1) ขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1 ขนาด 200 เตียง ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 เพื่อรองรับการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและ การขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S

                    (2) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเขตสุขภาพที่ 1 ในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา) เป็นหน่วยให้บริการที่เป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับสูง รวมทั้งพัฒนาเรื่องต่างๆ เช่น ระบบบริการสุขภาพด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน การดูแลผู้สูงอายุในเขตบริการ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อเพื่อลดความแออัดในเขตสุขภาพที่ 1

                    (3) พัฒนาศูนย์การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อรองรับการเป็นสถานฝึกปฏิบัติการในชั้นคลินิกสำหรับนิสิตแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยาให้มีศักยภาพ สามารถใช้เป็นแหล่งฝึกบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งก่อนปริญญาและหลังปริญญา

                    (4) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ เช่น ศูนย์ตรวจสุขภาพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง 

              4.2 อัตรากำลังที่เสนอขอตั้งใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 จำนวน 731 อัตรา (พนักงานมหาวิทยาลัย) เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 208.08 ล้านบาท โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ดังนี้ 

 

ปีงบประมาณ ..

อัตรากำลัง (คน)

เงินเดือนเริ่มต้น3

(ล้านบาท)

เงินเพิ่มพิเศษวิชาชีพ (...)3 (ล้านบาท)

งบประมาณ (ล้านบาท)

2568

166

43.61

4.22

47.83

2569

206

56.57

5.13

61.70

2570

166

42.65

2.61

45.26

2571

193

50.00

3.28

53.28

รวม

731

192.83

15.25

208.08

หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง 

 

 

              4.3 แผนความต้องการอัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2571 สรุปได้ ดังนี้ 

 

รายละเอียด

จำนวนเตียง

(สะสม)

อัตรากำลัง

ที่เสนอขอครั้งนี้ (คน)

งบประมาณ

(ล้านบาท)

วิชาการ

สนับสนุน

ปีงบประมาณ .. 2568 ได้แก่

(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 300 คนต่อวัน

(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 30 คนต่อวัน

(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 92 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม

โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น

(1) ภาควิชาอายุรศาสตร์ : บริการคลินิก HIV/บริการคลินิกชะลอไตเสื่อม/บริการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 10 เครื่อง/บริการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร

(2) ภาควิชาศัลยศาสตร์ : บริการผ่าตัดทางศัลยศาสตร์ ผ่าตัดทางกล้อง/บริการล้างไตทางช่องท้อง/บริการให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งศัลยศาสตร์ และมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ

36

สะสม

(92)

(ปัจจุบัน

มี 56 เตียง)

27

139

47.83

ปีงบประมาณ .. 2569 ได้แก่

(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 400 คนต่อวัน

(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 40 คนต่อวัน

(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 164 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม

โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น

(1) ภาควิชาอายุรศาสตร์ : ขยายบริการหอผู้ป่วย ICU จาก 4 เตียง เป็น 16 เตียง/บริการคลินิกอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง/บริการคลินิกอายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร

(2) ภาควิชาศัลยศาสตร์ : ขยายบริการ

72

สะสม

(164)

35

สะสม

(62)

171

สะสม

(310)

61.70

สะสม

(109.54)

ปีงบประมาณ .. 2570 ได้แก่

(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 600 คนต่อวัน

(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 60 คนต่อวัน

(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 208 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม

โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม เช่น

(1) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ : ขยายบริการหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก/บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

(2) ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู : บริการคลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู

44

สะสม

(208)

12

สะสม

(74)

154

สะสม

(464)

45.26

สะสม

(154.79)

ปีงบประมาณ .. 2571 ได้แก่

(1) บริการผู้ป่วยนอก จำนวน 700 คนต่อวัน

(2) บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 70 คนต่อวัน

(3) บริการผู้ป่วยใน จำนวน 264 เตียง (ไม่รวมห้องผ่าตัด ห้องคลอดและไตเทียม

โดยจะเปิดบริการเพิ่มเติม ได้แก่ ภาควิชาอายุรศาสตร์ : บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

56

สะสม

(264)

12

สะสม

(86)

181

สะสม

(645)

53.28

สะสม

(208.08)

รวม

264

731

208.08

หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง 

 

 

              4.4 แผนความต้องการอัตรากำลังของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา จำแนกตามฝ่ายต่างๆ สรุปได้ ดังนี้ 

 

ฝ่าย

แผนปี 2568

แผนปี 2569

แผนปี 2570

แผนปี 2571

แผนภาพรวม

ปี 2568-2571

อัตรา

กำลังฯ (คน)

เงินเดือน

+เงินอื่น4 (ล้านบาท)

อัตรา

กำลังฯ (คน)

เงินเดือน

+เงินอื่น4 (ล้านบาท)

อัตรา

กำลังฯ (คน)

เงินเดือน

+เงินอื่น4 (ล้านบาท)

อัตรา

กำลังฯ (คน)

เงินเดือน

+เงินอื่น4 (ล้านบาท)

อัตรา

กำลังฯ (คน)

งบประ มาณ สะสม 4 ปี (ล้านบาท)

สายวิชาการ

ฝ่ายบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เช่น นายแพทย์ ทันตแพทย์

27

14.81

35

19.19

12

6.58

12

6.58

86

47.16

สายสนับสนุน

(1) ฝ่ายอำนวยการ เช่น นิติกร วิศวกร นักวิชาการและบัญชี นักประชาสัมพันธ์ พนักงานขับรถยนต์

26

6.34

48

12.38

25

6.29

20

5.05

119

30.07

(2) ฝ่ายบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เช่น เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ เจ้าพนักงานเภสัชกร ผู้ช่วยทันตแพทย์

20

5.29

56

14.48

40

10.50

38

10.42

154

40.68

(3) ฝ่ายการพยาบาล เช่น พยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ผู้ช่วยพยาบาล

85

19.56

56

12.96

76

18.86

114

29.24

331

80.62

(4) ฝ่ายบริการปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุข

0

0

5

1.30

4

1.03

2

0.54

11

2.87

(5) ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ เช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักเวชสถิติ เจ้าพนักงานเวชระเบียน

8

1.83

6

1.40

9

1.99

7

1.45

30

6.67

รวม

166

47.83

206

61.70

166

45.26

193

53.28

731

208.08

หมายเหตุ : เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง 

 

 

          5. ประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ

              5.1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา สามารถรองรับผู้รับบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในแต่ละปีภายใต้ความร่วมมือของโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน เชียงราย และลำปาง ดังนี้

 

ประเภทผู้รับบริการ

เป้าหมายการให้บริการด้านสุขภาพในแต่ละปี (คน)

25655 (ปัจจุบัน)

2568

2569

2570

2571

ผู้ป่วยนอก

58,130

75,000

100,000

150,000

175,000

ผู้ป่วยใน

1,376

2,500

3,600

4,800

5,600

 

              5.2 มหาวิทยาลัยพะเยาสามารถยกระดับเพื่อรองรับการเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในโรงพยาบาล โดยสามารถผลิตนิสิตในระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ (คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์) ปีการศึกษา 2568-2571 ดังนี้ 

 

คณะต่างๆ ในระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เป้าหมายการรับนิสิตในแต่ละปีการศึกษา (คน)

2568

2569

2570

2571

คณะแพทยศาสตร์

80

92

92

92

คณะทันตแพทยศาสตร์

30

45

45

45

คณะพยาบาลศาสตร์

180

180

180

180

คณะเภสัชศาสตร์

180

180

180

180

คณะสหเวชศาสตร์

155

155

155

155

คณะสาธารณสุขศาสตร์

410

410

410

410

รวมทั้งสิ้น

1,035

1,062

1,062

1,062

 

          6. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลฯ แล้ว เห็นว่า แผนความต้องการอัตรากำลังฯ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาขีดความสามารถ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น (1) ควรทบทวนภารกิจของหน่วยงานให้สอดคล้องกับภาระงาน เช่น การขยายสถานที่บริการ ควรฝึกวิชาชีพเฉพาะทางหลักสูตรต่างๆ เพิ่มมากขึ้น (2) ควรวิเคราะห์ปริมาณงานเฉลี่ย (3) การของบประมาณตามแผนความต้องการอัตรากำลังฯ ควรคำนึงถึงภาระผูกพันในการจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระยะเวลาการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณเพื่อรองรับการขอเพิ่มอัตรากำลังดังกล่าวไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการขอรับจัดสรรงบประมาณในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้ปรับระยะเวลาของแผนอัตรากำลังฯ จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 

_____________________________________ 

1 โรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ คือ โรงพยาบาลทั่วไปหรือหน่วยบริการอื่นๆ ทั้งหน่วยบริการของภาครัฐและเอกชน ซึ่งภารกิจของหน่วยบริการจะมีขอบเขตการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด เช่น สาขาต่อยอดของอายุรศาสตร์ สาขาต่อยอดของศัลยกรรม 

2 หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการจัดระดับของหน่วยบริการสุขภาพและโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เช่น (1) โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) หมายถึง โรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญ จึงประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา และสาขารองที่จำเป็น โดยกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับกลางและเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียง ตั้งแต่ 150 เตียงขึ้นไป (2) โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S หมายถึง โรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ จึงประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาหลัก สาขารอง และสาขาย่อยบางสาขา โดยกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับมาตรฐาน และเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียง 300 เตียงขึ้นไป

3 อว. แจ้งว่า เงินเดือนเริ่มต้นอ้างอิงจากหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 [เรื่อง การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง] โดยใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณเงินเดือนแต่ละตำแหน่ง (เช่น ตำแหน่งนายแพทย์ คิดจากเงินเดือนแรกบรรจุตามที่ ก.พ. กำหนด คือ 21,000 บาทต่อเดือน x 1.7 เท่าของเงินเดือนแรกบรรจุ [เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542] ทำให้เงินเดือนตำแหน่งนายแพทย์ที่เสนอในครั้งนี้เท่ากับ 35,700 บาทต่อเดือน) สำหรับข้อมูลอัตราเงิน พ.ต.ส. เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของตำแหน่งนิติกรและผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2565 

4 เงินอื่น คือ เงิน พ.ต.ส. 

5 อว. แจ้งว่า จำนวนผู้รับบริการในปี 2565 เป็นข้อมูลปัจจุบันสำหรับการดำเนินการในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านสุขภาพในปี 2566 ประกอบด้วย ผู้ป่วยนอก จำนวน 65,442 คน และผู้ป่วยใน จำนวน 1,729 คน 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 มีนาคม 2567

 

 

3738

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!