WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

Gov 38

ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. เสนอว่า

          1. เนื่องจากได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดจำนวน 18 กลุ่มจังหวัด ในพื้นที่ 6 ภาค และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง1 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และกำหนดบทเฉพาะกาลตามมาตรา 592 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565) จึงทำให้ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอีก 2 ปีจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2567

          2. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดเพื่อร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณในโครงการที่กลุ่มจังหวัดจะได้ประโยชน์ร่วมกันหรือเพื่อใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และมาตรา 36 บัญญัติให้ ก.น.บ. พิจารณาจัดตั้งภาคเพื่อให้ราชการส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนา การปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การบริหารงานและการพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาคเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดการบูรณาการการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกัน ทั้งการปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ จึงได้ยกร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ขึ้นโดยการกำหนดภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ยังคงเป็นไปตามหลักการแบ่งกลุ่มของประกาศ ก.น.จ. ฉบับเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับการบริหารจัดการและการบริหารงบประมาณของกลุ่มจังหวัด โดยแบ่งเป็นภาค จำนวน 6 ภาค3 และกลุ่มจังหวัดจำนวน 18 กลุ่มจังหวัด ซึ่งการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวพิจารณาจากการรวมกลุ่ม การพัฒนาเชิงพื้นที่ในภาพรวม ซึ่งมีความใกล้เคียงกันทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม เช่น ศาสนา วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก เช่น นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การพัฒนาเชิงพื้นที่มีทิศทางที่ชัดเจน และสอดคล้องกับบริบท/ศักยภาพของพื้นที่โดยรวมและมีการบูรณาการการทำงานและการจัดทำงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยให้ราชการส่วนกลาง จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ร่วมกันบูรณาการเชิงพื้นที่ในการพัฒนาการปฏิบัติภารกิจ และการบริหารงบประมาณ

          3. ในคราวประชุม ก.น.บ. ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว และมอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

          สาระสำคัญของร่างประกาศ

          การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด โดยจัดตั้ง ภาค จำนวน 6 ภาค กลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

รายการ

 

รายละเอียด

1. ภาคเหนือ 4 กลุ่มจังหวัด (17 จังหวัด)

     1.1 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

 

● จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน โดยให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

     1.2 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2   ● จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ โดยให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     1.3 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1   ● จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     1.4 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2   ● จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี โดยให้จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 กลุ่มจังหวัด (20 จังหวัด)

     2.1 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1

 

● จังหวัดอุดรธานี จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู โดยให้จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

     2.2 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 2   ● จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยให้จังหวัดสกลนครเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     2.3 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลาง   ● จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     2.4 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1   ● จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ โดยให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     2.5 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2   ● จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ โดยให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

3. ภาคกลาง 4 กลุ่มจังหวัด (17 จังหวัด)

     3.1 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

 

● จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง โดยให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น ศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

     3.2 กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล   ● จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยให้จังหวัดนครปฐมเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     3.3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1   ● จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยให้จังหวัดราชบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
     3.4 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2   ● จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทราสาคร โดยให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

4. ภาคตะวันออก 2 กลุ่มจังหวัด (8 จังหวัด)

     4.1 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1

 

● จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง โดยให้จังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

     4.2 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2   ● จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว โดยให้จังหวัดปราจีนบุรีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

5. ภาคใต้ 2 กลุ่มจังหวัด (11 จังหวัด)

     5.1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

 

● จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา โดยให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

     5.2 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน   ● จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล โดยให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

6. ภาคใต้ชายแดน 1 กลุ่มจังหวัด (3 จังหวัด)

     6.1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน

 

● จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี โดยให้จังหวัดยะลาเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

 

________________________

1 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ ก.น.จ. พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

2 มาตรา 59 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้บรรดาประกาศ หลักเกณฑ์ แนวทาง มติ หรือคำสั่ง ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลอยู่ในวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้จนกว่าจะมีการออกประกาศ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ แนวทาง มติ หรือคำสั่งตาม พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ

3 ภาค พิจารณาจากหลักการ ดังนี้ (1) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ โดยพิจารณาจากจังหวัดที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันและมีลักษณะภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน (2) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีโครงสร้างเศรษฐกิจ ศักยภาพ และประเด็นการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันในลักษณะ Cluster มีระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Product: GRP) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานะการพัฒนาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้ รวมทั้งมีสภาพสังคมที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ และ (3) ปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาพื้นที่และความมั่นคงของประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 19 มีนาคม 2567

 

 

3741

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!