มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 2 เมษายน 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 06 April 2024 19:59
- Hits: 9291
มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 2 เมษายน 2567
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้ง นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นางอารดา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง พันตำรวจเอก บุญส่ง จันทรีศรี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) ในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล แทน นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนได้รับแต่งตั้งแทน
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
1. นายเกรียงไกร เจริญผล
2. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา
3. นางสุภาวดี สุวรรณประทีป
4. นายสำเริง แสงภู่วงค์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และผู้แทนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน
1. นายเชิดชัย พรหมแก้ว
2. นายวิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย
3. นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์
4. นายนำชัย พรหมมีชัย
ผู้แทนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 4 คน
1. นายศตวรรษ จันทร์ทอง
2. นางเคียงเดือน สงวนชื่อ
3. นายบรรจง นิสภวาณิชย์
4. นายสำราย นิลกิ่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย รวม 4 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เนื่องจากลาออก ดังนี้
1. นายเสรี นนทสูติ ประธานกรรมการ
2. นายกฤษณ์ กระแสเวส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นางสาวนพรัตน์ มุณีรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. ศาสตราจารย์ปาริชาต สถาปิตานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางจิติธาดา ธนะโสภณ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นวันที่ตำแหน่งว่างลงเนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเกษม เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยผู้สูงอายุ) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายอรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
2. นายสืบสาย คงแสงดาว นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
3. นางสาวจินตาหรา ติณหภัทร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นวันที่ตำแหน่งว่างลงเนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมเกษียณอายุราชการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางภาวิณา อัศวมณีกุล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงคมนาคม) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 6 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
2. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย - มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์
3. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
4. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศ
5. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ
6. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ 6 คณะ
1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
องค์ประกอบชุดใหม่ รองปลัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมเจ้าของเรือไทย โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
2) ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามข้อมติและข้อเสนอแนะต่างๆ ขององค์การ ฯ เพื่อแจ้ง ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และแผนงาน รวมทั้งกิจกรรมด้านการขนส่งทางน้ำของกระทรวงคมนาคม
3) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแห่งชาติเพื่อประสานงาน ติดต่อ และมอบหมายให้หน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่งทางน้ำ ให้ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน และเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ในข้อ 2
4) ศึกษา พิจารณา และวิเคราะห์ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจการขนส่งทางน้ำในการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ ฯ เพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
2. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย - มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย ผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือผู้แทน ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมศุลกากร และผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยและร่วมปรึกษาหารือกับฝ่ายมาเลเซียภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนโดยทางถนนจากไทยผ่านมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ พ.ศ. 2522 ดังนี้
1.1) ปรับปรุงเงื่อนไขและวิธีการดำเนินการตลอดจนตกลงเกี่ยวกับจำนวนประเภทของสินค้า และรถบรรทุกและเรื่องอื่นๆ
1.2) พิจารณาและร่วมปรึกษาหารือกับมาเลเซีย เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
1.3) แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าว ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการขนส่ง
2) พิจารณากำหนดคุณสมบัติและคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย ทั้งในกรณีคัดเลือกผู้ประกอบการแทนรายเดิมที่เลิกประกอบการไป และกรณีที่มีการเพิ่มจำนวนรถในอนาคต
3) แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการและคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ ตามความจำเป็น
3. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งทางบกระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
3) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้ความตกลงต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
4) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดนและการขนส่งข้ามแดนมีประสิทธิภาพ
5) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
4. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศ
องค์ประกอบชุดใหม่
ผู้แทนสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย เป็นที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมกิจการการบินพลเรือน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หัวหน้าฝ่ายความตกลงและกฎข้อบังคับระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และหัวหน้ากองความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมกิจการการบินพลเรือน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) ดำเนินการเจรจาและกำหนดท่าทีในการเจรจาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศทั้งในและต่างประเทศ
2) พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับบริการเดินอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการและคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
5. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ กองการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ของคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (National Transport Facilitation Committee Senior Official Meeting: NTFC SOM) การประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Joint Committee) การประชุมที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
4) เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (National Transport Facilitation Committee: NTFC) ของประเทศอื่นๆ และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อให้มีการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
5) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดนและการขนส่งข้ามแดนดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
6) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
6. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ
องค์ประกอบชุดใหม่
ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกรมการขนส่งทางบก ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยมี ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน
2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนของอาเซียน (ASEAN Transit Transport Coordinating Board: TTCB) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความตกลงด้านการขนส่งทางถนนของอาเซียน
4) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนโดยยานพาหนะ ทางถนน
5) เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ (National Transit Transport Coordinating Committee: NTTCC) ของประเทศอื่นๆ และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อให้มีการดำเนินงานตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนโดยยานพาหนะทางถนน และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
6) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดน การขนส่งข้ามแดนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
7) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
8) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 เมษายน 2567
4094