WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP)

Gov 50

การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) [ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ] ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ 

(ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมีกำหนดจะพิจารณาเอกสารการขึ้นทะเบียนและตรวจประเมินพื้นที่โดยผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนภายในเดือนมิถุนายน 2567) 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กห. รายงานว่า

          1. ในการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำเสนอ (ร่าง) เอกสารการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเสนอต่อศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เพื่อดำเนินการตามกระบวนการของอาเซียน โดยขั้นตอนในการนำเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียน สผ. (ในฐานะผู้ประสานงานคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ) จะจัดส่งเอกสารนำเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนให้ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (เลขานุการคณะกรรมการอุทยานมรดกแห่งอาเซียน) เพื่อส่งเอกสารนำเสนอให้แก่คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินพื้นที่ และเสนอคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม และที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (กำหนดการจัดประชุมภายในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567) เพื่อให้การรับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกแห่งอาเซียนต่อไป

          2. พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ประมาณ 411 ไร่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทัพบกกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลสำนักงานประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษา แห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมและเพิ่มพื้นที่ป่า (ชายเลน) พื้นที่อ่าวไทยตอนใน ตลอดจนใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน โดยเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด 10 หลักเกณฑ์) สรุปได้ ดังนี้

 

หลักเกณฑ์

 

รายละเอียด

หลักเกณฑ์ที่ 1

ความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) มีพื้นที่ประมาณ 411 ไร่ ประกอบด้วย ระบบนิเวศสำคัญ 3 แบบ ได้แก่

1) พื้นที่ลุ่มน้ำเค็ม มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งได้รับอิทธิพลของการขึ้นลงของน้ำทะเล

2) หาดโคลน เป็นพื้นที่โล่งกว้าง จะมีนกอพยพมาหากินในฤดูกาลอพยพ เป็นดินโคลน ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งอาศัยของสัตว์หน้าดินจำนวนมาก

3) ป่าชายเลน ครอบคลุมป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง และด้านหลังชายฝั่งระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปกคลุมด้วยพืชพรรณไม้ที่โดดเด่นและมีการเติบโตหรือเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง มีความหลากหลายของระบบนิเวศ

หลักเกณฑ์ที่ 2 

ความเป็นตัวแทนของภูมิภาค

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) มีระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศที่อยู่ในเส้นทางการบินสายเอเชียตะวันออกออสเตรเลีย (East Asian –Australasian Flyway) และเป็นแนวกันชน (Buffer zone) ของระบบนิเวศที่ช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คลื่นลม และอิทธิพลของระดับน้ำทะเล รวมทั้งเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติผ่านกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

หลักเกณฑ์ที่ 3 

ความเป็นธรรมชาติ

 

คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤศจิกายน 2552 และ 20 กรกฎาคม 2553) ให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ (ส่วนของอ่าวไทย) และเป็น 1 ใน 15 พื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศไทย

หลักเกณฑ์ที่ 4 

ความสำคัญต่อการอนุรักษ์อย่างสูง

หลักเกณฑ์ที่ 10 

ความสำคัญด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีค่าและใกล้สูญพันธุ์ 41 ชนิด เช่น นกนางนวล นกแก้วโม่ง นกกระสาแดง นกเปล้าอกสีม่วงน้ำตาล นอกจากนี้ ในปี .. 2567 มีการบันทึกการค้นพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบนบกที่ระบุชนิดได้อย่างชัดเจนกว่า 300 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นแมลง พบผีเสื้อถุงทองธรรมดา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า .. 2535

หลักเกณฑ์ที่ 5 

พื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น

1) ประกาศกองทัพบก เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)

2) มติคณะรัฐมนตรี (3 พฤศจิกายน 2552) เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ กำหนดให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ (ส่วนของอ่าวไทย

3) มติคณะรัฐมนตรี (20 กรกฎาคม 2553) กำหนดให้ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็น 1 ใน 15 พื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพของประเทศไทย

หลักเกณฑ์ที่ 6 

แผนการบริหารจัดการที่ได้รับความเห็นชอบ

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ได้จัดทำแผนบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้ตามจุดประสงค์ของการจัดตั้ง โดยมีแผนการบริหารจัดการประกอบด้วย 11 แผนงานหลัก 10 แผนงานย่อย 53 โครงการ ซึ่งจะดำเนินการในห้วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี .. 2568 - 2572 เช่น

1) แผนงานการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองรักษาและการจัดการทรัพยากร

2) แผนงานการคุ้มครองรักษาและการจัดการทรัพยากรและมรดกทางวัฒนธรรม

3) แผนงานด้านการป้องกันพื้นที่

4) แผนงานด้านการจัดการอุบัติภัยทางธรรมชาติ

หลักเกณฑ์ที่ 7

ลักษณะการข้ามพรมแดน

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ

ของประเทศ (Flyway Network ซึ่งอยู่ในเส้นทางการบินของเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย (East Asian - Australasian Flyway) ทำให้พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์และระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งพักพิง ที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของนกอพยพที่เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ของภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย ซึ่งเป็น 1 ใน 9 เส้นทางนกอพยพของโลก รวมทั้งเป็นระบบนิเวศป่าชายเลนที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (Ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับทะเลอ่าวไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคแนวเขตร้อนซึ่งมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุต่างๆ จากบกและทะเล ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ตลอดจนเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (food chain) โดยเฉพาะเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญในป่าชายเลน

หลักเกณฑ์ที่ 8

ความมีลักษณะเอกลักษณ์

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (Important Bird & Biodiversity Area) ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอชื่อเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเข้าร่วมภาคีความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์นกน้ำอพยพ รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม แต่พื้นที่นี้ยังสามารถมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมาได้เป็นเวลาหลายสิบปีโดยไม่ถูกทำลาย และยังให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ในส่วนของประเทศไทยนับเป็นโอกาสดีที่จะได้เป็นพื้นที่แรกของโลกที่ดูแลโดยหน่วยงานภายนอกที่ไม่ได้มีภารกิจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks: AHP) ซึ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจและใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานอื่นๆ หรือชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนได้

หลักเกณฑ์ที่ 9

ความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างวัฒนธรรม

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เป็นพื้นที่สำหรับประชาชนหรือคนในชุมชนได้มาจัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น การทำบุญขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ และวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ

 

          3. ประโยชน์และผลกระทบ 

          การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)ฯ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังคงความสมบูรณ์ทางนิเวศ (Ecological Completeness) มีความหลากหลายทางชีวภาพ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ตลอดจนสามารถให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เครือข่ายนกน้ำอพยพและแนวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คลื่นลมและอิทธิพลจากน้ำทะเลควบคู่ไปด้วย 

          ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนจำนวน 7 แห่ง ดังนี้

 

พื้นที่

ปีที่ได้รับการประกาศ

หมายเหตุ

1) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

2527

การเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนทั้ง 4 แห่ง มิได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นการดำเนินการตั้งแต่ช่วงปี 2527 – 2546 ซึ่งในขณะนั้นเรื่องลักษณะนี้ไม่ได้มีข้อกฎหมายกำหนดให้ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

2) อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

2527

3) กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และอ่าวพังงา

2546

4) กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

2546

5) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง

2562

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561

6) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

2562

7) อุทยานแห่งชาติเขาสก

2564

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563

8) อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน 

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563

9) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565

10) อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 11 มิถุนายน 2567

 

 

6343

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!