WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Gov 22

รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2567) รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (มาตรการป้องกันฯ) และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอและให้ ศธ. (สพฐ.) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติ โดยให้ ศธ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ศธ. รายงานว่า ได้พิจารณารายงานผลการดำเนินการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 แล้วสรุปได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ...

 

สรุปผลการดำเนินการในภาพรวม

1. การกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562

ศธ. และ สพฐ. ควรกำชับให้หน่วยงานในสังกัดเคร่งครัดการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ที่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

ทั้งนี้ ศธ. โดย สพฐ. สามารถพิจารณาดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เพื่อศึกษาข้อดีข้อเสีย ประโยชน์ ผลกระทบต่อการพัฒนาระบบการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อประกอบการกำหนดแนวทางการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ โดยหากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและไม่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดช่องว่างในการเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตอบแทนในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สพฐ. สามารถเสนอขอมีเงื่อนไขพิเศษได้ในอนาคต

 

(1) ศธ. และ สพฐ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง มาตรการป้องกันฯ และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ซึ่ง กพฐ. มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ยกเลิกเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 3 ข้อ คงเหลือเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 4 ข้อ และกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาและแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา รวมทั้งได้เผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และสาธารณชนมาโดยตลอด พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ...) ในการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการรับนักเรียนของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนภาคกลางและส่วนภูมิภาค

(2) ในปีการศึกษา 2567 สพฐ. ยังคงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนเช่นเดียวกับปีการศึกษา 2566 โดยในส่วนของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขึ้นบัญชีสำรอง ได้มีการปรับให้บัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดภายใน 7 วันทำการ1 นับจากวันประกาศเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2567 ตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา .. 2549 เพื่อให้โรงเรียนขึ้นบัญชีสำรอง 7 วันทำการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้

(2.1) สพฐ. จัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 พร้อมทั้งแจ้งให้สถานศึกษาร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่กำหนด เพื่อชี้แจงนโยบายการรับนักเรียนและการใช้งานระบบรายงานการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้เน้นย้ำการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งแจ้งข้อมูลจากการตรวจติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสำนักงาน ... ปีการศึกษา 2563 – 2566 และข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด

นอกจากนี้ คณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนได้กำชับให้สถานศึกษากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการรับและคัดเลือกนักเรียนเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ และไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยได้ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ รวมทั้งประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษให้สาธารณชนทราบด้วย ทั้งนี้ กรณีที่นักเรียนเงื่อนไขพิเศษเป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส ให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก โดยให้จัดทำฐานข้อมูลรายชื่อและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นความลับเพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก และกรณีการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา ให้ดำเนินการตามประกาศ ศธ. เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. รวมถึงการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษาตามที่ สพฐ. กำหนด

(2.2) สพฐ. ได้ยกร่างโครงการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสภาพการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา

2. การยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน

สพฐ. พิจารณายกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัดกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน เนื่องจากการเปิดโอกาสดังกล่าวทำให้เกิดการใช้ดุลยพินิจของสถานศึกษาที่มีมาตรฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน และอาจมีช่องว่างหรืออาจเกิดความเสี่ยงในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อแลกกับการเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ง่ายขึ้น

 

สพฐ. ได้รับทราบเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2567) เรื่อง รายงานผลการดำเนินการฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ไม่สามารถประกาศยกเลิกการเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. กำหนดหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนได้ทันในปีการศึกษา 2567 เนื่องจากโรงเรียนได้ประกาศรับนักเรียนและเข้าสู่กระบวนการรับนักเรียนตามปฏิทินการดำเนินงานการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2567 (เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2567) แล้ว อย่างไรก็ตาม สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้

(1) กำกับติดตามการรับนักเรียนปีการศึกษา 2567 ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม เป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ2 แต่หากโรงเรียนเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงื่อนไขพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ให้เสนอคณะกรรมการรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศรับสมัครนักเรียนต่อไป ทั้งนี้ การรับนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษรวมกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของแผนการรับนักเรียนห้องปกติ

(2) กำชับให้โรงเรียนที่มีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. รวมทั้งข้อพึงระวังกรณีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ 4 ข้อ ที่โรงเรียนกำหนด โดยคณะกรรมการรับนักเรียนระดับโรงเรียนต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรับ การคัดเลือกนักเรียน ที่มีเงื่อนไขพิเศษอย่างชัดเจน มีขอบเขตในการพิจารณาที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่เป็นการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง และต้องประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการรับและการคัดเลือก และขอบเขตในการพิจารณาดังกล่าวให้ผู้ปกครอง นักเรียน และสาธารณชนรับทราบ ทั้งนี้ การประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ..2540

(3) กำชับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกแห่งดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศ ศธ. เรื่อง การเก็บเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. และหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว โดยการรับเงินเข้าสู่สถานศึกษา ให้จัดเก็บตามอำนาจการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา และห้ามไม่ให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ของสมาคมผู้ปกครองและครู หรือสมาคมศิษย์เก่า

ทั้งนี้ การดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2564 – 2566) และปีการศึกษา 2567 พบว่า ไม่มีนักเรียน ผู้ปกครอง บุคคล หรือหน่วยงานใด ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. แต่อย่างใด

3. การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ

การประกาศรายชื่อนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ควรประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก แต่ให้มีการจัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ และหากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ..2540

 

สพฐ. แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้แจ้งโรงเรียนในสังกัดทุกแห่งให้ประกาศผลนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขพิเศษโดยให้ประกาศเฉพาะเลขประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกและให้จัดทำข้อมูลรายชื่อไว้เป็นความลับ หากมีการขอตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ .. 2540

4. การสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ

ให้ สพฐ. พิจารณาสุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบ ติดตาม สังเกตการณ์และให้แนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนเป็นประจำทุกปี

 

สพฐ. ได้สุ่มตรวจการดำเนินการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดมาโดยตลอด โดยในปีการศึกษา2564 – 2566 ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจในระดับชั้นที่มีการรับนักเรียนในวันรับสมัคร วันจับฉลากและวันสอบ/คัดเลือก โดยสุ่มตรวจโรงเรียนที่ได้รับความนิยมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและในปีการศึกษา 2567 มีกำหนดการลงพื้นที่สุ่มตรวจการรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเช่นเดียวกับปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันฯ รวมทั้งได้แจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตกำกับติดตามการดำเนินการรับนักเรียนในสังกัดด้วย

5. การจัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติ

ให้ สพฐ. จัดทำแนวทางการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและให้ สพฐ. นำไปปฏิบัติและรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ... เป็นประจำทุกปี

 

ในปีงบประมาณ .. 2567 สพฐ. จะศึกษาวิจัยนโยบายการรับนักเรียนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษา คุณภาพการศึกษา สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา และจะนำผลการศึกษาวิจัยไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สพฐ. จะรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันฯ ต่อสำนักงาน ... เป็นประจำทุกปี

 

________________________________________

1สพฐ. แจ้งว่า เดิมบัญชีผู้สอบแข่งขันสิ้นสุดใน 14 วันทำการ

2หลักเกณฑ์การรับนักเรียนกรณีนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ ประกอบด้วย (1) นักเรียนที่อยู่ในอุปการะของผู้บริจาคที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อจัดตั้งโรงเรียน ซึ่งมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงร่วมกันมาก่อนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (2) นักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาส (3) นักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติหรือผู้ประสบภัยพิบัติที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ดูแลเป็นพิเศษ และ (4) นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการครูและบุคลากรของโรงเรียน

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 11 มิถุนายน 2567

 

 

6361

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!