WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)

Gov สุริยะ2

ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้ 

          1. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ [Greater Mekong Subregion (GMS)] ครั้งที่ 26 (การประชุมฯ)

          2. เห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สศช. รายงานว่า

          1. รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ) ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)] และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา (เมียนมา) ได้ให้การรับรอง (โดยไม่มีการลงนาม) ร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมได้มีการแก้ไขเอกสารจำนวน 1 ฉบับ (ร่างข้อเสนอแนวคิดฯ) ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวันที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS จากเดิมวันที่ 14 ธันวาคม 2566 เป็นวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เพื่อความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ข้างต้น

          2. ในการประชุมดังกล่าวรัฐมนตรีหรือผู้แทนของประเทศลุ่มน้ำโขงได้มีข้อเสนอ/ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ สรุปได้ ดังนี้

 

ผู้แทน

 

สาระสำคัญ

ประเทศไทย

รองเลขาธิการ

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ

(นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ)

 

1) ให้เร่งขยายการลงทุนในนวัตกรรมเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีดิจิทัล และเงินทุนสีเขียวในภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การเกษตร การท่องเที่ยว

(2) เร่งจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

(3) สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาตลาดพลังงานระดับภูมิภาค การใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และโครงข่ายไฟฟ้าแบบสมาร์ทกริด (Smart Grid)

(4) เน้นย้ำความสำคัญของการผลักดันความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CBTA) ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

ราชอาณาจักรกัมพูชา

รองเลขาธิการคณะกรรมการ

ส่งเสริมการลงทุน

(นายนัท อุนวอนรา)

 

(1) ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการศึกษาต่างๆ ภายใต้แผนงาน GMS ที่ดำเนินการแล้วเสร็จและกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากจะนำไปสู่การวางกรอบการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

(2) เน้นย้ำถึงความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเพื่อรับมือความท้าทายร่วมกันและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างกัน

(3) ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง

สาธารณรัฐประชาชนจีน

รองอธิบดีกรมความร่วมมือเศรษฐกิจ

และการเงินระหว่างประเทศ

กระทรวงการคลัง

(นายหลู จิน)

 

(1) ควรให้ความสำคัญต่อเวทีหารือระดับผู้ว่าราชการจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ GMS เนื่องจากเป็นกลไกการมีส่วนร่วมของรัฐบาลระดับท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการดึงดูดการลงทุนในอนุภูมิภาค

(2) เนันย้ำว่าการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ควรส่งเสริมให้สถาบันวิจัยและองค์กรคลังสมองในระดับท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

สาธารณรัฐประชาธิปไตย

ประชาชนลาว

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

แผนการและการลงทุน

(นางพอนวัน อุถะวง)

 

เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมการมีส่วนร่วมในระดับรัฐบาลท้องถิ่น และการค้าการลงทุน ที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาคมร่วมกันของแผนงาน GMS

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงแผนการและการลงทุน

(นายตัน ค๊อก เฟือง)

 

ประเทศสมาชิกควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและแบ่งปันข้อมูลผลการดำเนินงานระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

เมียนมา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน

และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

ระหว่างประเทศ

(นายคันซอ)

 

เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือภายใต้แผนงาน GMS

 

          3. สศช. เห็นว่า การขับเคลื่อนการดำเนินการตามผลของการประชุมดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลักดันประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของอนุภูมิภาคในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงควรมอบหมายภารกิจหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนตามผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ตัวอย่างหน่วยงาน

การขับเคลื่อนแผนงาน GMS ในภาพรวม

(1) ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือแผนงาน GMS เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

 

- สศช.

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(2) การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนงาน GMS กับข้อริเริ่มและกรอบความร่วมมือต่างๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก

เช่น ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้างเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหมในการพัฒนาที่กว้างขึ้น

 

- สศช.

- กระทรวงการต่างประเทศ

(3) การศึกษาเกี่ยวกับการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและรัฐบาลท้องถิ่นต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา GMS

 

- สศช

- กระทรวงมหาดไทย (มท.)

(4) การจัดทำกรอบการลงทุนของภูมิภาค GMS .. 2567 – 2569 เพื่อรับรองว่า โครงการจะมีความพร้อมทั้งในแง่ของความเป็นไปได้ การนำไปปฏิบัติ และการจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการ

 

- สศช.

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การขับเคลื่อนประเด็นความร่วมมือรายสาขา

(1) สาขาคมนาคมขนส่ง เช่น การจัดทำแผนความพร้อมในด้านมาตรฐานเทคโนโลยี ความปลอดภัย และคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมของรถไฟ การเจรจากรอบข้อตกลงสำหรับการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางข้ามพรมแดน

 

- กระทรวงคมนาคม

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(2) สาขาการค้าและการลงทุน เช่น แสวงหาโอกาสพัฒนาความร่วมมือกับคณะทำงานด้านเกษตรและด้านสุขภาพ

 

- กระทรวงพาณิชย์

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(3) สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น เร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด สนับสนุนโครงข่ายไฟฟ้าแบบ Smart Grid อำนวยความสะดวกในการซื้อขายพลังงานในระดับอนุภูมิภาค เร่งศึกษาการจัดการผลกระทบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม

 

- กระทรวงพลังงาน

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) สาขาการท่องเที่ยว เช่น เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว

 

- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(5) สาขาสุขภาพ เช่น เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพในระดับภูมิภาค

 

- กระทรวงสาธารณสุข

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6560

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!