WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....

Gov อนุทิน2

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้ 

          1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 

          2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวง 

          1. มท. เสนอว่ากรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในท้องที่ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลกระจัน ตำบลเจดีย์ ตำบลจรเข้สามพัน และตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม โดยส่งเสริมอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง 

          2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 11 /2560 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง และได้นำเสนอคณะกรรมการผังเมืองเพื่อทราบ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 

          3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้บรรดาผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้ผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผัง ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย ให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป 

          4. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า “เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกเลิกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วแต่ละกรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่ละกรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน” ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมืองซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว 

          5. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลกระจัน ตำบลเจดีย์ ตำบลจรเข้สามพัน และตำบลยุ้งทะลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคม และการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 

              5.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริการ การปกครอง การค้า การพาณิชย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 

              5.2 อนุรักษ์โบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีและพื้นที่โดยรอบ

              5.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

              5.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          6. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้

 

ประเภท

 

วัตถุประสงค์

1. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีขาว)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณรอบคูเมืองโบราณอู่ทองและบริเวณริมสองฝั่งคลองระบายน้ำจรเข้สามพัน ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมริมน้ำที่คงคุณค่าในระยะยาวอาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น โรงงานทุกจำพวกที่กฎหมายว่าด้วยโรงงาน การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียม สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมทั้งให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของลำคลองไม่น้อยกว่า 6 เมตร

2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น (สีเหลือง)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการอยู่อาศัยชั้นดี กำหนดไว้ที่บริเวณพื้นที่พัฒนาใหม่ที่ต่อเนื่องกับพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนจากศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การเพาะเชื้อเห็ด การทำนมสด การทำแป้ง การทำน้ำเชื่อม เป็นต้น

3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ การท่องเที่ยว และการนันทนาการแก่ชุมชน ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า คลังน้ำมัน สุสานและฌาปนสถาน กำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การบรรจุเนื้อสัตว์ การคั่วกาแฟ การทำเครื่องประดับ เป็นต้น

4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการแก่ชุมชน และการท่องเที่ยวระดับอำเภอ ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เพื่อการค้า คลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียม การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ โรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การซ่อมนาฬิกา เป็นต้น

5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น คลังน้ำมัน การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การกะเทาะเมล็ดพืช การฆ่าสัตว์ การผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

6. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันการขยายตัวของเมืองเข้าใกล้กับบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติและเป็นการสงวนพื้นที่เพื่อการเกษตร อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อพื้นที่ เช่น โรงงานทุกจำพวก ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล เป็นต้น และกำหนดให้มีที่ว่าง ริมฝั่งคลองหรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร

7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาพื้นที่โล่งเพื่อการนันทนาการของชุมชน หรือเกี่ยวข้องกับการนันทนาการและเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมของลำคลอง อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่โล่ง เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภท ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม เป็นต้น

8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาตะโกปิดทองและป่าเขาเพชรน้อย สำหรับที่ดินเอกชนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เกษตรกรรม หรือสาธารณประโยชน์ โดยห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม เป็นต้น

9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียนวัดยางยี่แส โรงเรียนภาวนาภิมณฑ์พิทยา โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม เป็นต้น

10. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)

 

- คือ เมืองโบราณอู่ทองสมัยทวารวดี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาคารที่ก่อสร้างต้องมีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าสถานที่เก็บวัตถุไวไฟ กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ให้มีที่ว่างหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ไม่น้อยกว่า 10 เมตรเป็นต้น

11. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาสนา การศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม วัดเขาทำเทียม วัดอู่ทอง วัดท่าพระยาจักร์ เป็นต้น

12. ที่ดินประเภทสถาบันราชการการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง โรงพยาบาลอู่ทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภออู่ทอง เป็นต้น

 

          7. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

          8. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง เพื่อประโยชน์ในการดำรงรักษาที่โล่งไว้ เพื่อสาธารณประโยชน์และสภาพแวดล้อมอันจะเป็นการรักษาสภาพภูมิทัศน์ที่ดีของชุมชน รวมทั้งเพื่อป้องกันภัยพิบัติ เป็นที่โล่งเพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ

          9. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ง ถนนสาย จ 1 

ถนนสาย จ 2 และ ถนนสาย จ 3 ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

              9.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

              9.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

              9.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

          10. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เหมาะสมเพียงพอกับการให้บริการและได้มาตรฐาน

          11. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคเพื่อการระบายน้ำ เพื่อเป็นมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6573

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!