WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....

Gov 22

ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          อว. เสนอว่า

          1. พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 มีบทบัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ต้องเป็นนิติบุคคลเว้นแต่วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง1 ซึ่งปัจจุบันมีเพียงนิติบุคคลเท่านั้นที่สามารถขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ได้เนื่องจากยังไม่มีกฎกระทรวงที่กำหนดให้วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ 

          2. โดยที่บทบัญญัติตามข้อ 1 ได้กำหนดข้อยกเว้นในการให้บุคคลธรรมดาสามารถขออนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัสดุนิวเคลียร์ได้โดยหากภาครัฐเห็นว่าการประกอบกิจการ การค้นคว้าวิจัย หรือเทคโนโลยีใหม่ใดอาจทำให้บุคคลธรรมดาประสงค์จะใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ ก็สามารถกำหนดประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตได้โดยการออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่ง อว. พิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถกำหนดยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่มียูเรเนียม 235 ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ลงมาโดยน้ำหนัก และมีปริมาณตั้งแต่ 20 ตันขึ้นไปเป็นวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้2 เนื่องจากยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวปัจจุบันใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีเพราะมีความหนาแน่นสูง และใช้เป็นที่กำบังรังสีในกิจการอื่นๆ จึงเป็นไปได้ที่บุคคลธรรมดาจะประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ซึ่งหากไม่กำหนดให้บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตครอบครองยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าว จะทำให้บุคคลธรรมดาไม่สามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุนิวเคลียร์ได้ ดังนั้น อว. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. …. เพื่อกำหนดให้บุคคลธรรมดาสามารถขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวได้

          3. ในคราวประชุมคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว

          4. อว. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกระทรวงในเรื่องนี้ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 22 กันยายน 2566 และได้ส่งแบบรับฟังความคิดเห็นให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว

          5. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องออกกฎซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 22 วรรคสอง ประกอบมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

____________________________________

1 พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559

มาตรา 8 (7) บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี หรือวัสดุนิวเคลียร์ที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ตามมาตรา 28 หรือมาตรา 40

มาตรา 40 บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 36 ต้องเป็นนิติบุคคล เว้นแต่วัสดุนิวเคลียร์บางประเภทที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 36 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ใดจะดำเนินการดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

(1) มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์

(2) นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์

2 หากเป็นกรณียูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวที่มีปริมาณไม่เกิน 20 ตัน การดำเนินการจะเป็นไปตามร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต .. …. โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว (เรื่องเสร็จที่ 266/2567) ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับยูเรเนียมด้อยสมรรถนะดังกล่าวที่มีปริมาณไม่เกิน 20 ตัน ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตแต่ต้องแจ้งปริมาณที่ครอบครองต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 25 มิถุนายน 2567

 

 

6803

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!