WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. ....

Gov 33

ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้

          1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

          2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ

          อว. พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไปได้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ มาเพื่อดำเนินการโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

          1. กำหนดคำนิยามของ “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี

          2. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

              2.1 ลักษณะของสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการฯ

                   (1) ต้องมีโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันระดับรังสีให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องมือที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีและส่วนประกอบทั้งหมด

                   (2) ต้องไม่มีวัตถุอันตรายอื่นและอาหารเก็บรวมอยู่และมีมาตรการหรือระบบป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว

                   (3) ต้องได้รับการประเมินและออกแบบตามมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีของการใช้ประโยชน์วัสดุกัมมันตรังสีนั้นและเป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91

                   (4) ต้องมีการประเมินความปลอดภัยทางรังสี โดยบริเวณที่ปฏิบัติงานทางรังสีต้องมีปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ ไม่เกิน 400 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์ และบริเวณที่มีผลกระทบถึงประชาชนทั่วไปต้องมีปริมาณรังสีที่ประชาชนทั่วไปได้รับไม่เกิน 20 ไมโครซีเวิร์ตต่อสัปดาห์

              2.2 ห้ามมิให้ตั้งสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรมภายในระยะ 500 เมตร จากเขตพระราชฐานเว้นแต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ อาจเปลี่ยนแปลงได้

              2.3 ในกรณีที่สถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการวัสดุกัมมันตรังสีประเภทโรงงานฉายรังสีทางอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ใกล้เขตบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรเพื่อการพักอาศัย ตึกแถวหรือบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย หรืออาคารชุดพักอาศัย ศูนย์การค้า โรงเรียนหรือสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน สถานพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำการของหน่วยงานของรัฐหรือเขตอนุรักษ์และเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางรังสีและมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีตามกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 และกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561

          3. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากวัสดุกัมมันตรังสีและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี (ตามข้อ 5) ดังต่อไปนี้

              3.1 เครื่องสำรวจรังสีหรือเครื่องเฝ้าระวังปริมาณรังสี โดยต้องได้รับการสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องสำรวจรังสีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสภาพตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนดตามคู่มือการใช้งาน

              3.2 อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล โดยต้องประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีทุกคนเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน กรณีผู้ปฏิบัติงานทางรังสีสำหรับงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ให้ประเมินการได้รับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีเป็นประจำทุกเดือน

              3.3 มาตรวัดรังสีแบบพกพาตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสี

              3.4 เครื่องมืออื่นๆ ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับแผนป้องกันอันตรายทางรังสี

          4. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีในระดับและประเภทของการขอรับใบอนุญาต (ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้)

          5. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับการปฏิบัติงาน โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กำหนด เช่น สายการบังคับบัญชาด้านความปลอดภัยทางรังสี การจัดแบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติงานและมาตรการควบคุมการเข้าออกพื้นที่อย่างชัดเจน มาตรการความปลอดภัยทางรังสี แผนงาน และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีน้อยที่สุด แผนการตรวจวัดรังสี แผนการดำเนินงานเมื่อเลิกใช้วัสดุกัมมันตรังสี

          6. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามประเภทของวัสดุกัมมันตรังสีตามกฎกระทรวงความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561

          7. กำหนดให้ในกรณีที่มีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีวิธีการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่ปลอดภัยและวิธีปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินระหว่างการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีที่เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 91 และมาตรา 99

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 กรกฎาคม 2567

 

 

7307

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!