WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน

Gov 49

การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติการให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน 2 ประเภท ได้แก่ (1) เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (2) แผนงาน (Work Plan) และแผนดำเนินการ (Plan of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          โดยหากเอกสารทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายตามเงื่อนไข 5 ประการตามที่ กต. กำหนด ให้ กต. หารือส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบของไทย โดยไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548

          เรื่องเดิม

          1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 ตุลาคม 2545) เห็นชอบการทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่างๆ ที่กำหนดให้ในกรณีที่กระทรวง ทบวงกรม จะจัดทำความตกลงกับต่างประเทศ ให้หน่วยงานดังกล่าวขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการลงนามความตกลงทุกๆ ครั้ง โดยระบุบุคคลที่จะเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ตามที่ กต. เสนอ

          2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มิถุนายน 2558) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเกี่ยวกับ การดำเนินการจัดทำหนังสือสัญญาหรือเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างหนังสือสัญญาก่อนการดำเนินการลงนามทุกครั้ง ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้วหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

          3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มกราคม 2567) เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เพื่อให้การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภท ทั้งในระดับรัฐบาลและระดับหน่วยงานเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องตาม แนวปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการและประเพณีปฏิบัติทางการทูต ในแต่ละกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหัวหน้า คณะผู้แทน ผู้ลงนาม และสักขีพยาน จึงขอให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะทำความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภทดังกล่าว หารือกับ กต. ให้ถูกต้อง ชัดเจน ก่อนดำเนินการใดๆ รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. ปัจจุบันมีเอกสารในกรอบอาเซียนที่ กต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

              1.1 ความตกลงที่ไทยลงนามในฐานะคู่ภาคี ซึ่งถือเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น ความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมอาเซียน - สหภาพยุโรป

              1.2 เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล โดยเอกสารประเภทนี้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก หรือการให้งบประมาณจากภาคีภายนอกเพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือกับอาเซียนตามกรอบแผนงานที่มีระหว่างกันอยู่แล้ว โดยไม่ก่อพันธกรณีต่อประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น ความตกลงให้การสนับสนุนทางการเงิน (Financing Agreement) และบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) 

              1.3 เอกสารที่ไทยต้องร่วมรับรอง (adopt) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อระบุแนวทางความร่วมมือในอาเซียน หรือระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกของอาเซียน เช่น แถลงการณ์ (Statement) หรือปฏิญญา (Declaration) ระดับผู้นำและรัฐมนตรี และแผนงาน (Work Plan) หรือแผนดำเนินการ (Plan of Action) ซึ่งมีกระบวนการจัดทำเอกสารในกรอบอาเซียน 

          2. เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ขอเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารในกรอบอาเซียน 2 ประเภท ได้แก่ (1) เอกสารระหว่างอาเชียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเชียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (2) แผนงาน (Work Plan) และ แผนดำเนินการ (Plan of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง โดยหากเอกสารทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเข้าเงื่อนไข 5 ข้อ ตามที่ กต. กำหนด เช่น (1) เอกสารดังกล่าวต้องไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสืสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ (2) ไทยไม่ได้ร่วมลงนามในฐานะคู่ภาคี ฯลฯ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหารือกับ กต. (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อให้ความเห็นชอบโดยไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 

          3. ประโยชน์ที่จะได้รับ: การทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ในการดำเนินการภายในของไทยเพื่อให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียนจะเป็นการลดขั้นตอนการดำเนินการและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการภายในของไทยให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยให้โครงการความร่วมมือต่างๆ ในกรอบอาเซียนสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาและส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในอาเซียนต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 กรกฎาคม 2567

 

 

7515

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!