WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างหนังสือรับรองความรับผิดชอบในการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา

Gov 45

ร่างหนังสือรับรองความรับผิดชอบในการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือรับรองความรับผิดชอบในการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) (หนังสือรับรองฯ) ก่อนการลงนาม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างหนังสือรับรองฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม รวมทั้ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ลงนามใบหนังสือรับรองฯ ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. กระทรวงกลาโหมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือรับรองความรับผิดชอบในการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) (หนังสือรับรองฯ) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามบันทึกช่วยจำความมั่นคงแห่งชาติ ว่าด้วยการคุ้มครองและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และการบริการทางทหาร (บันทึกช่วยจำ NSM) ที่สหรัฐฯ ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 โดยกำหนดให้มิตรประเทศทุกประเทศที่รับความช่วยเหลือทางทหารและการจัดหายุทโธปกรณ์ภายใต้งบประมาณจากสหรัฐฯ จะต้องจัดทำหนังสือรับรองฯ ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อยืนยันที่จะใช้ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและจะไม่ใช้ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการขัดขวางการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของสหรัฐฯ ในพื้นที่ความขัดแย้ง

          2. ประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางการทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสหรัฐฯ (ลงนามเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2493) ที่ระบุให้รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยรับว่าจะใช้ความช่วยเหลือที่ใด้รับมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และจะไม่ใช้ความช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อความมุ่งประสงค์อื่น นอกเหนือไปจากความมุ่งประสงค์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง กห. ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติภารกิจทางทหารสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ1 และพันธกรณีระหว่างประเทศมาโดยตลออด

          3. ต่อมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศบันทึกช่วยจำความมั่นคงแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และการบริการทางทหาร [National Security Memorandum (NSM) on Safeguards and Accountability With Respect to Transferred Defense Articles and Defense Services] (บันทึกช่วยจำ NSM) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 โดยกำหนดให้มิตรประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางทหารและจัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อที่จะยังคงได้รับการสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ซึ่งบันทึกช่วยจำ NSM มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า 

              3.1 รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดให้มิตรประเทศผู้รับมอบยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ต้องให้คำมั่นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่น่าเชื่อถือได้ว่า

                   3.1.1 ผู้รับมอบจะใช้ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับอย่างสอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  3.1.2 ในพื้นที่ซึ่งเกิดสถานการณ์ขัดกันด้วยอาวุธผู้รับมอบจะใช้ยุทโธปกรณ์อย่างสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผู้รับมอบจะอำนวยความสะดวก และไม่ปฏิเสธโดยปราศจากเหตุผล จำกัด หรือขัดขวางโดยทางตรงหรือทางอ้อมต่อการขนส่ง การส่งมอบความช่วยเหลือ หรือการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

              3.2 ผู้ลงนามที่เหมาะสมสำหรับการให้คำรับรองนี้จากรัฐบาลหรือหน่วยงานควรอยู่ในระดับกระทรวงหรือสูงกว่า และมีอำนาจในการจัดทำหนังสือรับรองดังกล่าว หากผู้ลงนามที่ระบุไม่สามารถให้การรับรองสำหรับทั้งประเด็นการใช้ยุทโธปกรณ์และการขนส่งหรือการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ควรระบุผู้ลงนามคนที่สองซึ่งมีอำนาจเพียงพอสำหรับการให้คำรับรอง ทั้งนี้ การให้คำรับรองดังกล่าวจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร

              3.3 การได้รับหนังสือรับรองฯ เป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนด จะอำนวยความสะดวกในการทบทวนรายละเอียดที่ถูกกำหนดในบันทึกช่วยจำ NSM ทั้งนี้ หากไม่ได้ให้การรับรองภายในระยะเวลาดังกล่าว การจัดหายุทโธปกรณ์ซึ่งถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้บันทึกช่วยจำ NSM อาจถูกระงับชั่วคราวจนกว่าจะมีการให้คำรับรอง

          4. กห. จึงได้จัดทำร่างหนังสือรับรองฯ มีรายละเอียดสรุปได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยขอรับรองว่า กห. จะใช้ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสำหรับพื้นที่ความขัดแย้ง กห. จะได้ใช้ยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และจะอำนวยความสะดวกและไม่ปฏิเสธโดยพลการ จำกัด หรือขัดขวางทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการขนส่งหรือการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของสหรัฐฯ หรือความพยายามระหว่างประเทศที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

­­­­­­­­­__________________________________

1ไทยเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาเจนีวาเมื่อปี ค.ศ. 1949 มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับวิธีการทำสงครามและการปฏิบัติต่อพลรบและพลเรือนอย่างมีมนุษยธรรมในระหว่างการทำสงคราม โดยมีหลักการพื้นฐาน 5 หลัก ได้แก่ (1) หลักการแบ่งแยกพลรบกับพลเรือน (2) หลักการสัดส่วนการใช้กำลัง (3) หลักการเตือนภัยก่อนการโจมตี (4) หลักความจำเป็นทางทหาร และ (5) หลักมนุษยธรรม (ข้อมูลจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2565 https//:treaties.mfa.go.th/th/content/กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ-2?cate=635b818fd2accd7e3e0acca3)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 กรกฎาคม 2567

 

 

7869

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!