WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2567

Gov 42

รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2567 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ 

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 

              การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (960,220 ล้านบาท) ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 6.5 การส่งออกไทยทำมูลค่าสูงสุดในรอบ 14 เดือน ทำให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในรอบ 5 เดือน โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากการส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ขณะเดียวกันภาคการผลิตของโลกฟื้นตัวได้ดี สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลก (Global PMI) ที่มีทิศทางขยายตัวเร่งขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออก 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.3

              มูลค่าการค้ารวม

              มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 51,782.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.2 การนำเข้า มีมูลค่า 25,563.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.7 ดุลการค้า เกินดุล 656.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 246,447.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 120,493.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 การนำเข้า มีมูลค่า 125,954.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.5 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 5,460.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

              มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่าการค้ารวม 1,907,226 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 960,220 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.1 การนำเข้า มีมูลค่า 947,007 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5 ดุลการค้า เกินดุล 13,214 ล้านบาท ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการค้ารวม มีมูลค่า 8,840,471 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออก มีมูลค่า 4,298,248 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.1 การนำเข้า มีมูลค่า 4,542,224 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 243,976 ล้านบาท

              การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

              มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 19.4 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 36.5 ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 128.0 (ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง เวียดนาม และญี่ปุ่น) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 46.6 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 39.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลี) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 10.2 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ และแคนาดา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 95.7 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา เกาหลีใต้ และเวียดนาม) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 8.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ลาว และออสเตรเลีย) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 6.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 16.7 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เมียนมา ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเวียดนาม) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 4.5 (หดตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ แคเมอรูน และเนเธอร์แลนด์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 0.6 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชิลี และแอฟริกาใต้) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 46.1 (หดตัวในตลาดกัมพูชา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 16.2 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม และอินเดีย) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.7

              การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

              มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.6 มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 110.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 12.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย) ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง ขยายตัวร้อยละ 33.9 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย และสหรัฐฯ) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 16.7 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่น) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 8.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้) แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 11.9 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 14.1 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 27.6 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เวียดนาม อินเดีย และไต้หวัน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 23.6 (หดตัวในตลาดเบลเยียม ญี่ปุ่น บราซิล ออสเตรเลีย และจีน) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 2.4

              ตลาดส่งออกสำคัญ

              ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว สอดคล้องกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีทิศทางดีขึ้น และแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน และตลาดสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 8.0 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.1 และ CLMV ร้อยละ 9.6 กลับมาขยายตัวในตลาดจีน ร้อยละ 31.2 ขณะที่กลับมาหดตัวในตลาดอาเซียน (5) ร้อยละ 0.6 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 5.4 แต่หดตัวต่อเนื่องในตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 1.0 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 22.4 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 14.8 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 2.7 ขณะที่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 1.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 8.1 และแอฟริกา ร้อยละ 19.0 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 1.5 (3) ตลาดอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 11.5 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 28.1

          2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป

              การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนพฤษภาคม อาทิ (1) การส่งเสริมการส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในด้านภาพยนตร์และอาหาร เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก Cannes Film Festival 2024 ที่เมืองคานส์ เพื่อเปิดตลาดภาพยนตร์ แอนิเมชัน ซีรีส์วายของไทยไปสู่ระดับโลก ร่วมมือกับ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในฝรั่งเศสเพื่อโปรโมตอาหารไทยและร้านอาหารไทย และเชิญผู้ประกอบการท้องถิ่นของฝรั่งเศสเยือนงานแสดงสินค้านานาชาติในไทย เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างกัน และสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ประกอบการไทย (2) การเสริมสร้างความมั่นใจในการเป็นครัวมาตรฐานโลกของไทย หารือกับเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย แสดงความพร้อมในการเป็นแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพปลอดภัย ไร้สารตกค้าง และมีระบบตรวจสอบย้อนกลับที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะสามารถสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารให้แก่สิงคโปร์ และได้ผลักดันให้สิงคโปร์เร่งรัดขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิกของไทย เพื่อให้กับผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มเติมจากปัจจุบัน (3) การเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าผลไม้โดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ โดยพาณิชย์จังหวัดจันทบุรีร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ นครกวางโจว จัดกิจกรรมร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์จากจีนในการ Live สด ขายทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรี ตามนโยบายเพิ่มช่องทางการตลาดแบบใหม่โดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ของกระทรวงพาณิชย์

              กิจกรรมส่งเสริมการส่งออกครึ่งปีหลังของปี 2567 มีจำนวนกว่า 50 กิจกรรม คาดว่าจะสร้างมูลค่าการค้ารวม 50,834 ล้านบาท มีกลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ (1) เปิดประตูโอกาสทางการค้าเชิงรุก โดยจัดคณะผู้แทนการค้าระดับรัฐบาล (Goodwill Mission) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุน (2) ขยายการค้าไปยังเมืองรองที่มีศักยภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ MOU กับมณฑลจีน จำนวน 7 ฉบับ (3) พัฒนาช่องทางการตลาดและการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active (4) ขับเคลื่อนการส่งออกใน 11 อุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์เป้าหมาย อาทิ จัด Festival ส่งเสริมมวยไทย โครงการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศด้วยพลังสร้างสรรค์ (Soft Power) เป็นต้น (5) ใช้แพลตฟอร์ม Marketing Platform รูปแบบใหม่ อาทิ จัดมหกรรม International Live Commerce (6) ส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน (cross-border e-commerce) โดยจัดตั้งร้าน TOP THAI บนแพลตฟอร์ม e-Commerce ต่างชาติพันธมิตร และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นระยะ มีแผนที่จะเปิดร้าน TOP THAI เพิ่มเติม บนแพลตฟอร์ม JD.com ของจีน นอกจากนี้มีแผนงานใหม่ๆ อาทิ การยกระดับตรา Thai SELECT และโครงการสร้างแบรนด์ประเทศไทย ด้วยการสร้างเนื้อหา (Content) ต่อยอด Think Thailand เป็นต้น

              แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังเติบโตได้ดีโดยได้รับปัจจัยหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ช้าแต่มั่นคง โดยการประเมินขององค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 2.6 จากปีก่อนหน้า จากปัญหาเงินเฟ้อที่บรรเทาเบาบางลง และท่าทีของธนาคารกลางแต่ละประเทศที่มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนและการผลิตโลกให้ฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในบางเส้นทาง อาจเป็นปัจจัยลบต่อการส่งออกไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งของแต่ละประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อนโยบายการค้าที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยด้วย 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 30 กรกฎาคม 2567

 

 

7884

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!