ผลการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลกครั้งที่ 7 และการรับรองข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน Global Biodiversity Framework Fund (GBFF)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 13 August 2024 23:06
- Hits: 7874
ผลการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลกครั้งที่ 7 และการรับรองข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน Global Biodiversity Framework Fund (GBFF)
คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Assembly) ครั้งที่ 7
2. มอบหมายให้ปลัด ทส. ปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานกลางประสาน การดําเนินงานของกองทุน Global Biodiversity Framework Fund (กองทุน GBFF) ของประเทศไทย มีอํานาจในการพิจารณาให้การรับรองข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุน จากกองทุน GBFF
3. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF นําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการลงนามในข้อตกลงทางการเงิน สําหรับกรณีที่โครงการได้รับอนุมัติสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน GBFF และมีข้อผูกพัน ทางการเงินที่เป็นตัวเงิน (In Cash) ร่วมสนับสนุนในการดําเนินโครงการ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคม 2566) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารการจัดตั้งและกรอบการสนับสนุนของกองทุน Global Biodiversity Framework Fund (กองทุน GBFF) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (กรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ) ต่อมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เข้าร่วมประชุม GEF Assembly ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2560 ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ซึ่งในการประชุมดังกล่าว มีประเด็นที่สําคัญ คือ การรับรองข้อมติเรื่องการจัดตั้งกองทุน GBFF โดยประเทศแคนาดาจะบริจาคเงินเข้ากองทุน GBFF จํานวน 200 ล้านดอลลาร์แคนาดา และสหราชอาณาจักร จะบริจาคเงินเข้ากองทุน GBFF จํานวน 10 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนี้ ธนาคารโลกในฐานะ Trustee ของกองทุน GBFF จะเร่งจัดตั้งกองทุน GBFF ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 (ในปัจจุบันกองทุน GBFF ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอโครงการ ที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF
2. กองทุน GBFF เป็นกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ (เป็นกรอบงานระยะ 10 ปี (ปี 2564 – 2573) ที่เกิดขึ้นตามมติที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15)] มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะ โดยกองทุนดังกล่าว แตกต่างจากกองทุน Global Environment Facility (กองทุน GEF) ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2534 เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนทางการเงินให้ประเทศกําลังพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองกองทุน สรุป ดังนี้
ประเด็น |
กองทุน GEF |
กองทุน GEF |
||
ที่มาและการจัดตั้ง |
เป็นกองทุนภายใต้ธนาคารโลก (World Bank) และต่อมาที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ได้ปรับโครงสร้างของ GEF ให้แยกจากธนาคารโลก เมื่อปี 2535 โดยให้ธนาคารโลกเป็นผู้จัดการดูแล(Trustee) กองทุน GEF |
เป็นกองทุนเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามมติที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุม GEF Assembly ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 โดยธนาคารโลกเป็นผู้จัดการดูแล (Trustee) |
||
หน่วยงานเลขานุการ |
สำนักงานเลขาธิการกองทุน GEF |
|
||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศต่างๆ ในการดําเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) |
เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศต่างๆ ในการดําเนินโครงการ ตามเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลฯ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ภายในปี 2573 |
||
ระยะเวลาดำเนินงาน |
ไม่มีกำหนด |
กองทุน GBFF มีระยะเวลาการดําเนินงาน ถึงปี 2573 (เท่ากับระยะเวลาของกรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออลฯ) |
||
รอบการสนับสนุน |
กองทุน GEF แบ่งการสนับสนุนเป็นรอบ รอบละ 4 ปี โดยปัจจุบันอยู่ในรอบที่ 8 หรือ GEF-8 (กรกฏาคม – 2565 – มิถุยายน 2569) |
ยังไม่มีกำหนด |
||
การพิจารณาข้อเสนอโครงการ |
คณะมนตรีกองทุน GEF (GEF Council) มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสุนนจากกองทุน GEF โดยจะมีการประชุม GEF Council ปีละ 2 ครั้ง |
คณะมนตรีกองทุน GEF (GEF Council) |
กรณีหน่วยงานเจ้าของโครงการซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องจัดทําเอกสารความตกลงการร่วมดําเนินโครงการและมีข้อผูกพันที่จะต้องร่วมสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบเป็นตัวเงิน (In Cash) ซึ่งจะมีผลผูกพันงบประมาณของหน่วยงานตลอดช่วงระยะเวลาการดําเนินโครงการ (โดยประมาณ 2 - 4 ปี) และไม่เข้าลักษณะตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 (เรื่อง การขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 (เรื่องแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ) ที่ให้หน่วยงานของรัฐรับหรือขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศได้เฉพาะที่ไม่มีเงื่อนไข ข้อผูกพัน หรือพันธกรณีที่จะทําให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบยกเว้นการให้การช่วยเหลือในลักษณะที่เกิดประโยชน์แก่ภูมิภาค และมิได้ผูกพันกับประเทศไทยโดยตรง นอกเหนือจากนั้นให้เสนอเรื่องพร้อมเหตุผลความจําเป็นให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เห็นชอบและคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ในการนี้ ทส. จึงเสนอแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน GBFF ที่มีข้อผูกพันที่จะต้องร่วมสนับสนุน งบประมาณในการดําเนินโครงการในรูปแบบเป็นตัวเงิน (In Cash) ดําเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการลงนามในข้อตกลงทางการเงินของโครงการ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติในลักษณะเดียวกับแนวทางการขอรับการสนับสนุนการดําเนินโครงการ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 [เรื่อง การรับรองข้อเสนอโครงการขอรับทุนสนับสนุนกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF)] เห็นชอบให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก GEF นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบก่อนลงนามในข้อตกลงทางการเงิน สำหรับกรณีที่โครงการได้รับอนุมัติสนับสนุนทางการเงินจาก GEF และมีข้อผูกพันทางการเงินที่เป็นตัวเงิน (In Cash) ร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 สิงหาคม 2567
8352