WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9

Gov 09

การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้ 

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) ครั้งที่ 9 จำนวน 4 ฉบับ (1) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านข้าง ครั้งที่ 9 (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยข้อริเริ่มอากาศสะอาดแม่โขง-ล้านช้าง (3) ร่างข้อริเริ่มว่าด้วยการกระชับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง และ (4) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง 

          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 4 ฉบับ ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 9

          สาระสำคัญ

          1. กรอบ MLC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและราชอาณาจักรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

          2. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานร่วมกรอบ MLC ได้จัดการประชุมคณะทำงานร่วมทางการทูตกรอบ MLC ครั้งที่ 14 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อเตรียมการสำหรับการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 9 ซึ่งต่อมาประธานร่วมกรอบ MLC ได้เสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 4 ฉบับ สำหรับการรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศดังกล่าว ได้แก่

              1) ร่างแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการของกรอบ MLC และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือใน 3 เสา และ 5 สาขาความร่วมมือหลักและความร่วมมือด้านอื่นๆ 

              2) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยข้อริเริ่มอากาศสะอาดแม่โขง-ล้านช้าง ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทย เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิก MLC ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ตามที่ได้เห็นพ้องร่วมกันในการประชุมผู้นำกรอบ MLC ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม 2566 และสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง หรือกองทุนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตลอดจนส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชน บทบาทของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานท้องถิ่นของประเทศสมาชิกกรอบ MLC ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

              3) ร่างข้อริเริ่มว่าด้วยการกระชับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งเป็นเอกสารที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะทำงานร่วมสาขาทรัพยากรน้ำภายใต้กรอบ MLC โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นผู้ประสานงานหลักสำหรับฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกกรอบ MLC โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ ค.ศ. 2023-2027 

              4) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรม ข้ามพรมแดนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทย เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามพรมแดน ตามที่ได้เห็นพ้องร่วมกันในการประชุมผู้นำกรอบ MLC ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม 2567 โดยเฉพาะการสนับสนุนการดำเนินการภายใต้กลไกที่มีอยู่ของกรอบ MLC และกลไกอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคงภายใต้กรอบ MLC ภายในปี 2567 หรือโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะดำเนินการได้เพื่อแสวงหาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

          4. ประโยชน์และผลกระทบ

          การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ทั้ง 4 ฉบับจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างประเทศสมาชิกกรอบ MLC สอดคล้องกับผลประโยชน์ของราชอาณาจักรไทยและตอบโจทย์การพัฒนาในบริบทความท้าทายปัจจุบันของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ การแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 สิงหาคม 2567

 

 

8355

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!