ขอความเห็นชอบการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และปฏิญญาร่วมอาเซียน-ซีมีโอ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 20 August 2024 20:20
- Hits: 8148
ขอความเห็นชอบการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และปฏิญญาร่วมอาเซียน-ซีมีโอ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) จํานวน 3 ฉบับ และปฏิญญาร่วมว่าด้วย พื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Joint Declaration on the Common Space in Southeast Asian Higher Education) (ปฏิญญาร่วมฯ) จํานวน 1 ฉบับ ได้แก่
1.1 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมบุรีรัมย์ของการประชุมรัฐมนตรี ด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 (Buriram Joint Statement of the Thirteenth ASEAN Education Ministers Meeting)
1.2 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน บวกสาม ครั้งที่ 7 (Joint Statement of the Seventh ASEAN Plus Three Education Ministers Meeting)
1.3 ร่างเอกสารถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 (Joint Statement of the Seventh East Asia Summit Education Ministers Meeting)
1.4 ปฏิญญาร่วมฯ
2. หากมีความจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ศธ. สามารถดําเนินการได้โดยให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ และรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จํานวน 3 ฉบับ และปฏิญญาร่วมฯ จํานวน 1 ฉบับ ในการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (การประชุมฯ) ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2567
4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ และรับรองปฏิญญาร่วมฯ จํานวน 1 ฉบับ ในการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 53 ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2568
5. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในเดือนกันยายน 2567
6. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ ร่วมกับผู้นําประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน ครั้งที่ 44 ในเดือนตุลาคม 2567
สาระสําคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
1. ศธ. จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทําหน้าที่ประธานและหัวหน้า คณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ สํานักเลขาธิการอาเซียนได้จัดส่งเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จํานวน 3 ฉบับ ให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเพื่อจะนําเสนอต่อที่ประชุมฯ รวมทั้งจะมีการเสนอ ปฏิญญาร่วมฯ ที่จัดทําขึ้นร่วมกันระหว่างอาเซียน ซีมีโอ จํานวน 1 ฉบับ ต่อที่ประชุมฯ และที่ประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 53 ในปี 2568 ต่อไป
2. เอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม 4 ฉบับ มีสาระสําคัญ สรุปได้ ดังนี้
เอกสาร |
สาระสำคัญ เช่น |
|
(1) ร่างถ้อยแถลงร่วมบุรีรัมย์การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนครั้งที่ 13 |
(1.1) สมาชิกอาเซียนพร้อมดําเนินงานตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และเน้นย้ำบทบาทสําคัญของการศึกษาในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (1.2) สนับสนุนประเด็นสําคัญของประเทศไทยภายใต้หัวข้อ “พลิกโฉม การศึกษาสู่ยุคดิจิทัล” รวมถึงเน้นย้ำความสําคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือ และการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนที่มุ่งเน้นการบูรณาการ การมีส่วนร่วม และการพัฒนาที่ยั่งยืน และฟื้นฟู ข้อริเริ่มในภูมิภาค เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนในภูมิภาค (1.3) ขอบคุณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในการจัดการประชุม ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริม การเข้าถึง การพัฒนา และการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเท่าเทียมในภูมิภาคอาเซียน” ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่สําคัญในการดําเนินการเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการบูรณาการการดูแลเด็กปฐมวัยและการให้บริการด้านการศึกษา (1.4) ชื่นชมประเทศไทยที่เน้นย้ำนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” เพื่อจัดการ กับความท้าทายของครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และเน้นย้ำถึงความสําคัญของการดูแลสุขภาพ และความเป็นอยู่ของครูและนักเรียนให้ดีขึ้น (1.5) ตระหนักถึงการดําเนินการตาม “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่นของอาเซียน” ในการให้โอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคน พร้อมดําเนินงานตาม “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน” (1.6) ตระหนักถึงประเด็นความท้าทายต่างๆ ของโลกและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมรับกับงานในอนาคต (1.7) ขอบคุณความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|
(2) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 7 |
(2.1) สนับสนุนประเด็นสําคัญของประเทศไทย เรื่อง “พลิกโฉมการศึกษา สู่ยุคดิจิทัล” เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ (2.2) ขอบคุณความร่วมมือที่เข้มแข็งของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม และการดําเนินโครงการต่างๆ ตามแผนงานด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ปี 2561-2568 และแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนบวกสามปี 2566-2570 (2.3) เห็นถึงความสําคัญของทุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนบุคลากร ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยขอขอบคุณสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้นําาโครงการต่างๆ (2.4) ขอบคุณสาธารณรัฐเกาหลีสําหรับความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในการเสริมสร้างความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนกับโครงการต่างๆ |
|
(3) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 7 |
(3.1) สนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษา 14 สาขา ภายใต้แผนปฏิบัติการมะนิลาเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่ม ด้านการพัฒนาของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (พ.ศ. 2561-2565) (แผนปฏิบัติการมะนิลาฯ) และหวังว่าจะได้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการของประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก พ.ศ. 2567-2571 (3.2) ตระหนักถึงความสําคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการศึกษา การรู้เท่าทันสื่อ และจริยธรรมด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการพัฒนา ทักษะของเด็กและเยาวชน - (3.3) ตระหนักถึงความสําคัญของการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและขอบคุณการสนับสนุนของประเทศสมาชิกของการประชุมเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) (3.4) ตระหนักถึงความสําคัญของการดําเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประชุมสุดยอดอาเซียน ค.ศ. 2024-2028 และแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน (3.5) ตระหนักถึงความสําคัญของความร่วมมือของประเทศสมาชิกของ EAS ในการดําเนินการเพื่อให้เกิดคุณภาพด้านการศึกษาในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา |
|
(4) ปฏิญญาร่วมว่าด้วยพื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
จัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและซีมีโอ โดยมีสาระสําคัญ เช่น (4.1) ตระหนักถึงความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยในภูมิภาค ผ่านแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ค.ศ. 2021-2025 และประเด็นสําคัญด้านการศึกษาของซีมีโอ (4.2) ตระหนักว่าพื้นที่ร่วมกันเพื่อการอุดมศึกษาสามารถเป็นตัวเร่ง ในการส่งเสริมวาระการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม (4.3) ยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิกซีมีโอ (4.4) พัฒนาการเคลื่อนย้ายทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาผ่านข้อริเริ่มต่างๆ (4.5) ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของนักศึกษา นักวิชาการ และผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ จะมีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสําหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดและสนับสนุนค่านิยมและเป้าหมายร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาของภูมิภาค รวมทั้งใช้ประโยชน์ จากกลไกที่มีอยู่และองค์การระหว่างประเทศที่สําคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย |
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การประชุมฯ ครั้งนี้ มีความสําคัญที่สุดในด้านการศึกษากับอาเซียน เนื่องจากเป็นการประชุมระดับผู้นําด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาทั้ง 8 ประเทศ และเป็นกลไกหลักในการตัดสินใจในด้านความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน โดยเอกสารทั้ง 4 ฉบับ จะเป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาที่กําหนดทิศทางในการพัฒนาด้านการศึกษาและแนวทางความร่วมมือทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 20 สิงหาคม 2567
8710