WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570

Gov ภูมิธรรม04

แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ 

          1. แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 – 2570 (แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ)

          2. แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ เป็นวาระแห่งชาติ

          3. ให้ กษ. ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน .... เพื่อเสนอให้สามารถนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็วต่อไป 

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย 7 มาตรการ (14 กิจกรรม) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด เช่น

วัตถุประสงค์

 

(1) ควบคุม กำจัด และลดประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ

(2) ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

(3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชนและการมีส่วนร่วมในการรับมือกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่รอยต่อและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

(4) ประชาสัมพันธ์และการสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนส่วนให้ทราบถึงผลกระทบและการดำเนินการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

(5) พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการประมงในการป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน

เป้าหมายและตัวชี้วัด

 

(1) กำจัดประชาชนกรปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน

(2) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว

(3) ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม สร้างความรู้และแรงจูงใจให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักถึงผลกระทบ รวมทั้งจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำเพื่อกำจัดและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน

(4) สร้างเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่รอยต่อและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

(5) สร้างงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการประมง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคาดำและสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน

ระยะเวลาดำเนินการ

 

เดือนกรกฎาคม 2567 – กันยายน 2570

งบประมาณ

 

450 ล้านบาท

มาตรการ

 

มาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด

- วัตถุประสงค์ ควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำและบ่อสัตว์น้ำในพื้นที่ที่พบการแพร่ระบาด

- ตัวชี้วัด กำจัดประชากรปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน

- งบประมาณ 100 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด และศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่

 

หัวข้อ/รายละเอียด เช่น

กิจกรรมที่ 1 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับภาพพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

ชาวประมง เครือข่ายชุมชนในพื้นที่แพร่ระบาด

กิจกรรมที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำจากบ่อเพราะเลี้ยงด้วยกากชา และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่น

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่แพร่ระบาด

 

 

 

มาตรการที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง

- วัตถุประสงค์ จัดหาพันธุ์สัตว์น้ำและปล่อยปลาผู้ล่าตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำ

- ตัวชี้วัด ปล่อยปลาผู้ล่าตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว

- งบประมาณ 50 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และสถานบันการศึกษา

 

หัวข้อ/รายละเอียด เช่น

กิจกรรมที่ 1 การประเมินสถานภาพปลาหมอคางดำก่อนหลังปล่อยปลาผู้ล่าลงในแหล่งน้ำ

พื้นที่เป้าหมาย

แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด

กิจกรรมที่ 2 การปล่อยปลาผู้ล่าเพื่อกำจัดลูกปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ

พื้นที่เป้าหมาย

แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด

 

 

 

มาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์

- วัตถุประสงค์ เพิ่มแหล่งรับซื้อปลาหมอคางดำที่ถูกจำกัดและหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ

- ตัวชี้วัด ปริมาณปลาหมอคางดำที่นำไปใช้ประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน

- งบประมาณ 80 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมการเกษตรฯ

 

หัวข้อ/รายละเอียด เช่น

กิจกรรมที่การจัดหาแหล่งกระจายและจำหน่ายปลาหมอคางดำที่ถูกกำจัดออกจากระบบนิเวศ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุม โรงงานปลาป่น เกษตรกร

กิจกรรมที่การหาแนวทางการนำปลาหมอคางดำไปใช้โยชน์ด้านต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้แปรรูป เกษตรกร

 

 

 

มาตรการที่ 4 การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน

- วัตถุประสงค์ สร้างความรู้และการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำให้กับประชาชนในพื้นที่เขตกันชนและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

- ตัวชี้วัด (1) มีช่องทางการรับแจ้งการแจ้งการแพร่ระบาดไม่น้อยกว่า 1 ช่องทาง และ (2) เฝ้าระวังและป้องกันแหล่งน้ำที่ยังไม่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำไม่น้อยกว่า 4 จังหวัด

- งบประมาณ 10 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่และด่านตรวจสัตว์น้ำ

 

 

มาตรการที่ 5 สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ

- วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความตระหนัก ให้กับทุกภาคส่วนเพื่อเป็นการป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ระบาด และข้อมูลด้านกฎหมาย

- ตัวชี้วัด มีสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ คู่มือประชาชน และคู่มือเจ้าหน้าที่เพื่อใช้รับมือปลาหมอคางดำ

- งบประมาณ 10 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

 

 

มาตรการที่ 6 การพัฒนางานวิจัยและนวักรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ

- วัตถุประสงค์ (1) พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และ (2) นำองค์ความรู้ไปจัดทำมาตรการในการแก้ไขปัญหา

- ตัวชี้วัด (1) บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เผยแพร่เป็นองค์ความรู้ในการจัดกรแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ (2) ระบบสารสนเทศที่สามารถวิเคราะห์ผลเชิงพื้นที่แบบเวลาจริง (Real Time ) และ (3) ระบบการจัดเก็บตัวอย่างสามารถใช้อ้างอิงประชาชนเป็นมาตรฐานสากล

- งบประมาณ 100 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง

 

 

มาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ

-วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูความหลากหลายและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

- ตัวชี้วัด (1) จำนวนสัตว์น้ำประจำถิ่นที่ปล่อยลงในแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว และ (2) แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำประจำถิ่นได้รับการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 16 แห่ง

- งบประมาณ 100 ล้านบาท

- หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง

ประโยชน์และผลกระทบ

 

(1) ลดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(2) รักษาความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ

(3) ฟื้นฟูและปกป้องชนิดพันธุ์สัตว์น้ำพื้นเมืองให้กลับมาดังเดิม

 

          สำนักงบประมาณเห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง แนวทางจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน .... เพื่อให้สามารถนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็วต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวจำนวน 450 ล้านบาทถ้วน เห็นควรให้กรมประมงใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับการจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณพ.ศ. 2562 มาดำเนินการในโอกาสแรก ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วยังคงมีความจำเป็น ต้องขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ขอให้กรมประมงจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 และขอให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและคุ้มค่า เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 20 สิงหาคม 2567

 

 

8712

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!