มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 27 สิงหาคม 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 28 August 2024 00:25
- Hits: 8369
มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 27 สิงหาคม 2567
การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
1. นายสมคิด เชื้อคง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
2. นางสาวธีราภา ไพโรหกุล ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
3. นายณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 217/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นั้น
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 217/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่างๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใดๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1 กระทรวงกลาโหม
1.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.1.3 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1.1.4 กระทรวงพาณิชย์
1.1.5 กรมประชาสัมพันธ์
1.1.6 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
1.1.7 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.2.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
1.3.1 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
1.3.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
1.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1.3.4 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.3 ยกเว้น
1.4.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.4.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.4.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.4.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.4.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.4.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
ส่วนที่ 3
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2.1.2 กระทรวงคมนาคม
2.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม
2.1.4 กระทรวงสาธารณสุข
2.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
2.1.6 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
2.3.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
2.3.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.4 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการคลัง
3.1.2 กระทรวงการต่างประเทศ
3.1.3 สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.2.2 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.2.4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.2.5 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
3.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 3.3.1 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
3.3.2 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
3.3.3 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
3.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
4.1.2 กระทรวงมหาดไทย
4.1.3 กระทรวงแรงงาน
4.1.4 กระทรวงศึกษาธิการ
4.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
- สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
4.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
ส่วนที่ 6
5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
5.1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
ส่วนที่ 7
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.1.1 กระทรวงพลังงาน
6.1.2 กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
6.1.3 กระทรวงอุตสาหกรรม
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ และสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
6.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.4.1 ถึงข้อ 1.4.7
ส่วนที่ 8
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี)
7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
7.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7.1.3 สำนักงบประมาณ
7.1.4 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
7.1.5 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
7.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
7.2.1 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
7.2.2 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน))
ส่วนที่ 9
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.1.1 กรมประชาสัมพันธ์
8.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.1.3 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
8.2 การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
- สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ส่วนที่ 10
9. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้นๆ ดังนี้
9.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
9.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น
เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
9.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
9.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
10. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
11. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย
12. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
14. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 นั้น
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
1.1.2 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.3 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
1.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1.1.5 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1.6 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.1.7 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.1.8 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
1.2.2 คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
1.2.3 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.3.1 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.3.2 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1.3.4 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1.3.5 คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.4.1 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.4.2 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.4.3 คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
1.4.4 คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
1.4.5 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
1.4.6 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
1.4.7 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.8 คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.4.9 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
1.4.10 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
1.4.11 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
1.4.12 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
1.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการคณะกรรมการ ต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
1.5.2 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
1.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.6.2 รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.2 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2.1.5 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
2.1.6 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
2.1.7 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.1.8 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.9 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2.2 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
2.2.3 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
2.2.4 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
2.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.3.1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
2.3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.3.3 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.3.4 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
2.3.5 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.3.6 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
2.3.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
2.3.8 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.3.9 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
2.3.10 คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
2.3.11 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
2.3.12 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.4.1 คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
2.4.2 คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
2.4.3 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
2.4.4 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
2.4.5 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
2.4.6 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.5.2 อุปนายกสภาลูกเสือไทย
2.5.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
2.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.6.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
2.6.2 กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.6.3 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
3.1.2 คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
3.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.1.4 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
3.1.5 คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.3 คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.3.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.3.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.3.3 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
3.3.4 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
3.3.5 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
3.3.6 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
3.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.4.1 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
3.4.2 คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
3.4.3 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.4.4 คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
3.4.5 คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
3.4.6 คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
3.4.7 คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
3.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก
3.5.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
3.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
3.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
3.6.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
3.6.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.6.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
3.6.5 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 สภานายกสภาลูกเสือไทย
4.1.2 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
4.1.3 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
4.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
4.2.2 คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.3.1 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
4.3.2 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
4.3.3 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
4.3.4 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
4.3.5 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
4.3.6 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
4.3.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
4.3.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
4.3.9 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
4.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
4.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
4.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
4.4.4 รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
4.4.5 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
4.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.5.1 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.5.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 5
5. รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
5.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
5.1.5 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
5.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
5.2.2 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
5.2.3 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
5.2.4 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
5.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
5.2.6 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
5.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.3.1 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
5.3.2 คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
5.3.3 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
5.3.4 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
5.3.5 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
5.3.6 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
5.3.7 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
5.3.8 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
5.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
5.4.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
5.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
5.5.3 กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
5.5.4 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 6
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการกฤษฎีกา
6.1.2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
6.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.3.1 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
6.3.2 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
6.3.3 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
6.3.4 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์ คนนิรนามและศพนิรนาม
6.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.5.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
6.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
6.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
6.6.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 7
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี)
7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
7.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
7.3.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
7.3.4 กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.3.5 กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
7.3.6 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
7.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.4.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.4.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
7.4.3 กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
7.4.4 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ส่วนที่ 8
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
8.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
8.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
8.3.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
8.3.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
8.3.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
8.3.6 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
8.3.7 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
ส่วนที่ 9
9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
11. ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไป
ตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 290/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 290/2567 เรื่อง มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 169/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นั้น
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 170 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ได้มีมติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 169/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
2) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
2) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
3) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
2) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
3) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
2) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
2) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
3) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 27 สิงหาคม 2567
8798