WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

Gov ภูมิธรรม05

ร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้ 

          1. เห็นชอบร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก 

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป มีกำหนดจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ระหว่างวันที่ 3 - 5 กันยายน 2567 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ซึ่งจัดขึ้นตามข้อมติของเอสแคปที่ 79/10 ที่กำหนดให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล เพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยที่ประชุมฯ จะมีการรับรองร่างปฏิญญาอัสตานาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความครอบคลุมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Astana Ministerial Declaration on Digital Inclusion and Transformation in Asia and the Pacific) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ 

          2. ฝ่ายเอสแคปได้มีการจัดการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกเอสแคปเพื่อจัดทำร่างปฏิญญาฯ ตั้งแต่เดือนเมษายน - เดือนสิงหาคม 2567 มาแล้วหลายครั้ง ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบในร่างฉบับสุดท้าย (final draft) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 และฝ่ายเลขานุการเอสแคปได้แจ้งเวียนให้ประเทศสมาชิกเอสแคปดำเนินการภายในเพื่อขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาฯ ก่อนการรับรองในที่ประชุมฯ ต่อไป

          3. สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเอกสารการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อยกระดับด้านความเท่าเทียมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยระบุถึงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และดิจิทัล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในทุกกลุ่ม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล และกระตุ้นการเติบโตที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล การยกระดับความเชื่อมโยงทางดิจิทัล การสร้างความเชื่อมั่นด้านดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมเกี่ยวกับดิจิทัลโซลูชั่นและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ และให้ความช่วยเหลือเชิงนโยบายและเชิงเทคนิค โดยคำนึงถึงโอกาส ความเสี่ยง และความท้าทายในทุกมิติ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่สมดุลและยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030 

          4. ประโยชน์และผลกระทบ

          ร่างปฏิญญาฯ จะเป็นประโยชน์ต่อการเร่งการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกมิติของประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) โดยการดำเนินความร่วมมือภายใต้ร่างปฏิญญาฯ จะสนับสนุนการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ICT และนวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล การบริการภาครัฐ การเพิ่มศักยภาพ ความรู้ และความสามารถด้านดิจิทัลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง อีกทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการสร้างโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วนอย่างครอบคลุมมั่นคงปลอดภัย และยั่งยืน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 3 กันยายน 2567

 

 

9094

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!