WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....

Gov ภูมิธรรม05

ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. …. ที่กระทรวงแรงงานเสนอเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข คุณสมบัติและอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง ให้คำแนะนำและรับรองผลการดำเนินการของนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ อันจะส่งผลให้ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายด้วยแล้ว

          2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

ประเด็น

 

รายละเอียด

บทนิยาม

 

- “ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายความว่า ผู้ใดได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จากอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

หมวด 1 การขออนุญาต และการอนุญาต

 

- กำหนดคุณสมบัติของผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องมีสัญชาติไทยอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขากำหนดหรือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพในสถานประกอบกิจการ และมีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยต้องเข้ารับการฝึกอบรมและผ่านการประเมินในหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด

- ในกรณีที่เอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน 

- ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

หมวด 2 การขอต่อใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต

 

- กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่กำหนดต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน

หมวด 3 การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต

 

- กำหนดให้ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามข้อปฏิบัติในการปฏิบัติงาน ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกิน 60 วัน

- กำหนดเหตุแห่งการถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เช่น ขาดคุณสมบัติของผู้ชำนาญการ จัดทำรายงานหรือให้การรับรองอันเป็นเท็จ

หมวด 4 การควบคุมการปฏิบัติงาน

 

- กำหนดข้อปฏิบัติในการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับอนุญาต เช่น ให้คำแนะนำ รับรองและจัดทำผลการประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ และแผนควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบการ ไม่เปิดเผยความลับของนายจ้างซึ่งล่วงรู้หรือได้มาจากการปฏิบัติงาน

- กำหนดให้ผู้ชำนาญการต้องได้รับการฝึกอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่

 

          3. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้

 

ค่าธรรมเนียม

อัตราท้าย ...

ฉบับละ/บาท

อัตราตามร่างกฎฯ

 ฉบับละ/บาท

1. ใบอนุญาตผู้ชำนาญการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

5,000

5,000

2. ใบแทนใบอนุญาต

500

500

3. การต่ออายุใบอนุญาต

5,000

5,000

หมายเหตุ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมแก่บุคคลผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติตามร่างข้อ 5 (9)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 3 กันยายน 2567

 

 

9107

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!