WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....

Gov ภูมิธรรม07

ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนโดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาการพยาบาลและแพทยสภา ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

          1. พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ลูกจ้าง แรงงานนอกระบบ และประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และทันการณ์ด้วยมาตรฐานการให้บริการอย่างเดียวกัน ซึ่งการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการให้บริการอาชีวเวชกรรม ต้องให้บริการอาชีวเวชกรรมตามที่กำหนดจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม และด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม สธ. จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการอาชีวเวชกรรมที่หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมต้องใช้ดำเนินการตรวจสุขภาพแก่ลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

              1.1 กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

              1.2 กำหนดให้หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมมี 2 ประเภท ได้แก่ (1) หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมที่เป็นสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลหรือสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และ (2) หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมที่เป็นหน่วยงานหรือหน่วยบริการด้านสุขภาพ ซึ่งดำเนินการภายในสถานประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล รวมถึงหน่วยบริการที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มของสถานประกอบกิจการ

              1.3 กำหนดให้หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมให้บริการอาชีวเวชกรรมตามมาตรฐาน ได้แก่ (1) ด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ (2) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรม และ (3) ด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม

              1.4 กำหนดมาตรฐานด้านการให้บริการตรวจสุขภาพและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ ดังนี้

                    (1) มาตรฐานด้านการให้บริการตรวจสุขภาพ ได้แก่ การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง การตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับงาน และการตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน

                    (2) มาตรฐานในการเก็บสิ่งส่งตรวจทางชีวภาพ ได้แก่ การควบคุมคุณภาพก่อนการวิเคราะห์ตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ และการควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการ

              1.5 กำหนดมาตรฐานด้านบุคลากรผู้ให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมโดยกำหนดให้มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุนการให้บริการอาชีวเวชกรรมตามจำนวนและคุณสมบัติตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนด เช่น กรณีเป็นสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ให้มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์หรือแพทย์สาขาอื่น อย่างน้อย 1 คน พยาบาลอาชีวอนามัย อย่างน้อย 2 คน เป็นบุคลากรประจำการ โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต้องได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ จากแพทยสภา และแพทย์สาขาอื่นต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์หรือสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกำหนด หรือผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ของหน่วยงานอื่นที่กรมควบคุมโรครับรอง และกรณีพยาบาลอาชีวอนามัยต้องผ่านการฝึกอบรมที่สภาการพยาบาลอนุมัติหรือรับรอง เป็นต้น

              1.6 กำหนดมาตรฐานด้านเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรม โดยกำหนดให้มีเครื่องมือสำหรับให้บริการอาชีวเวชกรรมตามจำนวน และคุณสมบัติตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนด เช่น เครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน อย่างน้อย 1 เครื่อง ซึ่งต้องมีคุณสมบัติส่งสัญญาณเสียงบริสุทธิ์และได้รับการรับรองตามมาตรฐาน American National Standards Institute (ANSI) S3.6-1996 หรือปีที่ใหม่กว่า เครื่องตรวจสมรรถภาพปอดอย่างน้อย 1 เครื่อง ซึ่งต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน American Thoracic Society (ATS) ปี ค.ศ. 1994 หรือปีที่ใหม่กว่า เป็นต้น รวมถึงต้องดำเนินการโดยบุคลากรผู้ให้บริการอาชีวเวชกรรมตามที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดด้วย เช่น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงอาชีวเวชศาสตร์จากแพทยสภา และพยาบาลอาชีวอนามัยที่ผ่านการฝึกอบรมที่สภาการพยาบาลอนุมัติหรือรับรอง เป็นต้น

          2. ในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี) 3 กันยายน 2567

 

 

9114

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!