WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสําหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 79 และร่างคํามั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ

Gov มาริษ

ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสําหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 79 และร่างคํามั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร ดังนี้

              1.1 ร่างเอกสารท่าทีไทยสําหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 (ท่าทีไทยฯ) (การประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ)

              1.2 ร่างคํามั่นเพื่ออนาคต

              1.3 ร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่

                    1.3.1 ร่างคํามั่นด้านดิจิทัลระดับโลก

                    1.3.2 ร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง

ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างเอกสารข้างต้นในส่วนที่มิใช่สาระสําคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขออนุมัติให้ กต. พิจารณาและดําเนินการโดยไม่ต้อง ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. เห็นชอบให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสุดยอดเพื่ออนาคตหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างคํามั่นเพื่ออนาคต (ตามข้อ 1.2) และร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ (ตามข้อ 1.3) รวม 3 ฉบับ 

          สาระสําคัญของเรื่อง

          1. การประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 10 กันยายน 2567 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยการประชุมในช่วงสัปดาห์ผู้นําจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 - 30 กันยายน 2567 ซึ่งท่าทีไทยสําหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          ร่างท่าทีไทยสําหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ มีสาระสําคัญเป็นกรอบแนวทางในการประชุมและเจรจาข้อมติซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ตามระเบียบวาระ ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ ครอบคลุมข้อมูลภูมิหลังและท่าทีไทยต่อข้อมติต่างๆ ที่จะมีการหารือ ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ ภายใต้ 9 หมวด

                    หมวด (เอ) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติ และผลการประชุมของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง

                    หมวด (บี) การรักษาสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ

                    หมวด (ซี) พัฒนาการในแอฟริกา

                    หมวด (ดี) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

                    หมวด (อี) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

                    หมวด (เอฟ) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ

                    หมวด (จี) การลดอาวุธ

                    หมวด (เอช) การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรมและการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศทุกรูปแบบ

                    หมวด (ไอ) การบริหารและองค์กรอื่นๆ

          2. การประชุมสุดยอดเพื่ออนาคตในวันที่ 22 กันยายน 2567 จะมีการรับรองคำมั่นเพื่ออนาคต พร้อมด้วยร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างคำมั่นด้านดิจิทัลระดับโลกและร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งจะเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 

              2.1 ร่างคำมั่นเพื่ออนาคต มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐสมาชิกสหประชาชาติในการส่งเสริมความร่วมมือที่มีสหประชาชาติเป็นแกนกลางใน 5 ด้าน ดังนี้ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืนและการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนา (2) สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (3) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและ
ความร่วมมือด้านดิจิทัล (4) เยาวชนและอนุชนรุ่นหลัง (5) การเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาลโลก

              2.2 เอกสารภาคผนวกของร่างคํามั่นเพื่ออนาคต มีจํานวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างคํามั่นด้านดิจิทัลระดับโลกและร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

                    2.2.1 ร่างคํามั่นด้านดิจิทัลระดับโลก มีสาระสําคัญ เพื่อสร้างกรอบการทํางานระดับโลกที่ครอบคลุมการปิดช่องว่างด้านดิจิทัล ข้อมูล และนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น (1) ลดช่องว่างในการเข้าถึงระบบดิจิทัลและเร่งรัดความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) ขยายการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับทุกคน (3) ส่งเสริมพื้นที่ดิจิทัลที่ครอบคลุม เปิดกว้าง ปลอดภัย และมั่นคง

                    2.2.2 ร่างปฏิญญาว่าด้วยอนุชนรุ่นหลัง มีสาระสําคัญ เพื่อปกป้องความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงการตระหนักถึงบทบาทสําคัญของเด็กและเยาวชน ในฐานะตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

รายละเอียด

หลักการ เช่น

(1) ส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการสื่อสารกันระหว่างรุ่น

(2) ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน

(3) การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างรับผิดชอบ และมีจริยธรรม

คำมั่น

(1) ส่งเสริมเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ

(2) สร้างสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยุติธรรม

(3) ดําเนินนโยบายและโครงการเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ

(4) การให้เกียรติ ส่งเสริม และรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดก ทางวัฒนธรรม

การดำเนินการ

(1) ตระหนักถึงบทบาทหลักและความรับผิดชอบของรัฐบาลในทุกระดับที่สอดคล้องกับกรอบรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ในการปกป้องความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง

(2) ลงทุนในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อวิกฤตและความท้าทายระดับโลกในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น

(3) การดําเนินแนวทางแบบองค์รวมภาครัฐมาใช้ในการประสานงาน ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อการพัฒนา ดําเนินการ และการประเมินผลของนโยบายในการคุ้มครอง ความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง

(4) เสริมสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา ภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาคเอกชน และส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรุ่น เพื่อคุ้มครองความต้องการและผลประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลัง

 

          3. ประโยชน์ที่ได้รับ

              3.1 ร่างเอกสารท่าทีไทยฯ เป็นเอกสารที่ใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการประชุมและเจรจาข้อมติซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ตามระเบียบวาระของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติฯ

              3.2 ร่างเอกสารคํามั่นเพื่ออนาคต และร่างเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ สะท้อนประเด็นที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะผลักดันสําหรับอนาคต 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 17 กันยายน 2567

 

 

9464

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!