WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)

Gov แพทองธาร6

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. ร่างพระราชฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 780) พ.ศ. 2566 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากภาระหนี้สินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และยังมีความผันผวนในตลาดการเงินโลก ดังนั้น การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะเป็นการลดผลกระทบจากค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยและการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศขยายตัวได้ตามเป้าหมาย และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้แก่ภาคเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดภาษีมูลค่าเพิ่มโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) รวม 20 ฉบับ 

          ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่มีกระทบต่อการประมาณการรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อจัดทำวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เนื่องจากได้ประมาณการรายได้โดยใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) อยู่แล้ว

          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

          1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนภายในประเทศและเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

          2) ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยและการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

          3) อัตราภาษีไม่ทำให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 17 กันยายน 2567

 

 

9477

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!