มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 17 กันยายน 2567
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 19 September 2024 02:19
- Hits: 8683
มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 17 กันยายน 2567
การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
2. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
แต่งตั้งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายวีริศ อัมระปาล ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 313/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 313/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กันยายน 2566 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่างๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใดๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1 กระทรวงกลาโหม
1.1.2 กระทรวงยุติธรรม
1.1.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.1.4 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
1.1.5 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2.2 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.2.3 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
1.2.4 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
1.2.5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
1.2.6 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.2 ยกเว้น
1.3.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.3.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.3.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.3.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.3.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.3.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.3.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
ส่วนที่ 3
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1 กระทรวงการต่างประเทศ
2.1.2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2.1.3 กระทรวงคมนาคม
2.1.4 กระทรวงวัฒนธรรม
2.1.5 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.2.2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
2.3.1 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
2.3.2 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
2.4 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
2.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3.1.2 กระทรวงมหาดไทย
3.1.3 กระทรวงแรงงาน
3.1.4 กระทรวงศึกษาธิการ
3.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
3.2.1 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
3.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4.1.2 กระทรวงพลังงาน
4.1.3 กระทรวงอุตสาหกรรม
4.2 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 6
5. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1 กระทรวงการคลัง
5.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.1.3 กระทรวงพาณิชย์
5.1.4 สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5.2.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
5.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 5.3.1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
5.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 7
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.1.2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
6.1.3 กระทรวงสาธารณสุข
6.1.4 กรมประชาสัมพันธ์
6.1.5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.1.6 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
6.2.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
6.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
6.3.1 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
6.3.2 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
6.3.3 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
6.3.4 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
6.3.5 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
6.3.6 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.3.7 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
6.3.8 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
6.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.3 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 8
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
7.1.2 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
7.1.3 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
7.1.4 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
7.1.5 สำนักงบประมาณ
7.1.6 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
7.1.7 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
ส่วนที่ 9
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.1.1 กรมประชาสัมพันธ์
8.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.1.3 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
8.2 การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
8.2.1 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
8.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
8.3.1 สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ส่วนที่ 10
9. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้นๆ ดังนี้
9.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
9.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
9.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
9.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
10. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
11. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย
12. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
14. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 314/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 314/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 สภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.1.2 คณะกรรมการคดีพิเศษ
1.1.3 คณะกรรมการกฤษฎีกา
1.1.4 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1.5 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
1.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
1.2.2 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.2.3 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1.2.4 คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
1.2.5 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
1.2.6 คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.3.1 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.3.2 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประจำปี
1.3.3 คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.3.4 คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม
1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.4.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 1.4.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
1.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.5.1 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.2 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.4 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.5 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
2.2.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.3.1 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3.2 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2.3.3 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.3.4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.3.5 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
2.3.6 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
2.3.7 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
2.3.8 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
2.3.9 คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
2.3.10 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
2.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.4.1 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
2.4.2 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
2.4.3 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
2.4.4 คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
2.4.5 คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
2.4.6 คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
2.4.7 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
2.4.8 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
2.4.9 คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.5.1 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
2.5.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.5.4 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.5.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
2.5.6 อุปนายกสภาลูกเสือไทย
2.5.7 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
2.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
2.6.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2.6.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
2.6.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
2.6.5 รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
2.6.6 กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 สภานายกสภาลูกเสือไทย
3.1.2 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
3.1.3 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
3.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
3.2.3 คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
3.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.3.1 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
3.3.2 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
3.3.3 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
3.3.4 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
3.3.5 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
3.3.6 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
3.3.7 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ
3.3.8 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
3.3.9 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
3.3.10 คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
3.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
3.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
3.4.4 รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
3.4.5 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
3.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.5.1 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.5.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
4.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
4.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
4.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
4.1.5 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
4.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.3.1 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
4.3.2 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
4.3.3 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
4.3.4 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
4.3.5 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
4.3.6 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
4.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.4.1 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
4.4.2 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
4.4.3 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
4.4.4 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
4.4.5 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
4.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4.5.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4.5.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.5.4 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
4.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
4.6.2 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 5
5. รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
5.1.2 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
5.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
5.1.4 คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
5.1.5 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
5.1.6 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
5.1.7 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
5.1.8 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
5.1.9 คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
5.2.2 คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
5.2.3 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5.2.4 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
5.2.5 คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
5.2.6 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
5.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.3.1 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
5.3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
5.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.4.1 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
5.4.2 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
5.4.3 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
5.4.4 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
5.4.5 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
5.4.6 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
5.4.7 คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
5.4.8 คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
5.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
5.5.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
5.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.6.1 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5.6.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
5.6.3 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 6
6. รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
6.1.2 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.1.4 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
6.1.5 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
6.1.6 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
6.1.7 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
6.1.8 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6.1.9 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
6.1.10 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.2.2 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
6.2.3 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
6.2.4 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
6.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.3.1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
6.3.2 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
6.3.3 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
6.3.4 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
6.3.5 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
6.3.6 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
6.3.7 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
6.3.8 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
6.3.9 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
6.3.10 คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
6.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.4.1 คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
6.4.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
6.4.3 คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
6.4.4 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
6.4.5 คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
6.4.6 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
6.4.7 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
6.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.5.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
6.5.2 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
6.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.6.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
6.6.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
6.6.3 กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
6.6.4 กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 7
7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
7.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.1.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.2.1 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
7.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
7.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
7.3.3 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
7.3.4 กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.3.5 กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
7.3.6 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
7.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
7.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
7.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
7.4.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
7.4.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.4.5 รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
7.4.6 กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
7.4.7 กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ส่วนที่ 8
8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
8.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
8.1.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
8.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
8.2.1 กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
8.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
8.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
8.3.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
8.3.3 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
8.3.4 รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
ส่วนที่ 9
9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
11. ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
2) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
2) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
3) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาคร
2) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
2) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
3) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
3) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
2) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 นายภูมิธรรม เวชยชัย
1.2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
1.3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล
1.4 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
1.5 นายพิชัย ชุณหวชิร
1.6 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ |
รองนายกรัฐมนตรี |
รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ |
1 |
นายภูมิธรรม เวชยชัย |
1. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
2. นายอนุทิน ชาญวีรกูล |
||
2 |
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
1. นายอนุทิน ชาญวีรกูล |
2. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
||
3 |
นายอนุทิน ชาญวีรกูล |
1. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
2. นายพิชัย ชุณหวชิร |
||
4 |
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
1. นายพิชัย ชุณหวชิร |
2. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง |
||
5 |
นายพิชัย ชุณหวชิร |
1. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง |
2. นายภูมิธรรม เวชยชัย |
||
6 |
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง |
1. นายภูมิธรรม เวชยชัย |
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
ส่วนที่ 3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี |
1 |
นายชูศักดิ์ ศิรินิล |
นางสาวจิราพร สินธุไพร |
2 |
นางสาวจิราพร สินธุไพร |
นายชูศักดิ์ ศิรินิล |
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุน การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภาขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 |
คณะที่ปรึกษา |
|
|
|
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล |
ที่ปรึกษา/กรรมการ |
|
|
(2) นางมนพร เจริญศรี |
ที่ปรึกษา/กรรมการ |
|
|
(3) นายสมคิด เชื้อคง |
ที่ปรึกษา/กรรมการ |
|
|
(4) นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ |
ที่ปรึกษา/กรรมการ |
|
1.2 |
คณะกรรมการ |
|
|
|
(1) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ |
ประธานกรรมการ |
|
|
(2) นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม |
รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง |
|
|
(3) นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย |
รองประธานกรรมการ คนที่สอง |
|
|
(4) นางสาวชนก จันทาทอง |
รองประธานกรรมการ คนที่สาม |
|
|
(5) นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ |
รองประธานกรรมการ คนที่สี่ |
|
|
(6) นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ |
รองประธานกรรมการ คนที่ห้า |
|
|
(7) นายประมวล พงศ์ถาวราเดช |
รองประธานกรรมการ คนที่หก |
|
|
(8) นายมนัสนันท์ หลีนวรัตน์ |
กรรมการ |
|
|
(9) นางสาวสกุณา สาระนันท์ |
กรรมการ |
|
|
(10) นายวันนิวัติ สมบูรณ์ |
กรรมการ |
|
|
(11) นายพลากร พิมพะนิตย์ |
กรรมการ |
|
|
(12) นายวัชระพล ขาวขำ |
กรรมการ |
|
|
(13) นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ |
กรรมการ |
|
|
(14) นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ |
กรรมการ |
|
|
(15) นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ |
กรรมการ |
|
|
(16) นางสาวขัตติยา สวัสดิผล |
กรรมการ |
|
|
(17) นายวรวงศ์ วรปัญญา |
กรรมการ |
|
|
(18) นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ |
กรรมการ |
|
|
(19) นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ |
กรรมการ |
|
|
(20) นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ |
กรรมการ |
|
|
(21) นายรวี เล็กอุทัย |
กรรมการ |
|
|
(22) นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ |
กรรมการ |
|
|
(23) นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย |
กรรมการ |
|
|
(24) นางสุขสมรวย วันทนียกุล |
กรรมการ |
|
|
(25) นายอดิพงษ์ ฐิติพิทยา |
กรรมการ |
|
|
(26) นายธนา กิจไพบูลย์ชัย |
กรรมการ |
|
|
(27) นายสังคม แดงโชติ |
กรรมการ |
|
|
(28) นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ |
กรรมการ |
|
|
(29) นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ |
กรรมการ |
|
|
(30) นายชลัฐ รัชกิจประการ |
กรรมการ |
|
|
(31) นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล |
กรรมการ |
|
|
(32) นายซาการียา สะอิ |
กรรมการ |
|
|
(33) นายวิทยา แก้วภราดัย |
กรรมการ |
|
|
(34) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ |
กรรมการ |
|
|
(35) นายวิชัย สุดสวาสดิ์ |
กรรมการ |
|
|
(36) นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ |
กรรมการ |
|
|
(37) นายอนุชา บูรพชัยศรี |
กรรมการ |
|
|
(38) นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ |
กรรมการ |
|
|
(39) นายกาญจน์ ตั้งปอง |
กรรมการ |
|
|
(40) นายพิทักษ์เดช เดชเดโช |
กรรมการ |
|
|
(41) นายเสมอกัน เที่ยงธรรม |
กรรมการ |
|
|
(42) นายอนุรักษ์ จุรีมาศ |
กรรมการ |
|
|
(43) นายซูการ์โน มะทา |
กรรมการ |
|
|
(44) นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ |
กรรมการ |
|
|
(45) นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
กรรมการ |
|
|
(46) นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร |
กรรมการ |
|
|
(47) นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ |
กรรมการและเลขานุการ |
|
1.3 |
ผู้แทนส่วนราชการ |
|
|
|
(1) ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี |
กรรมการ |
|
|
(2) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
กรรมการ |
|
|
(3) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
กรรมการ |
|
1.4 |
ฝ่ายเลขานุการ |
|
|
|
(1) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านประสานกิจการภายในประเทศ |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
|
|
(2) ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
|
|
(3) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 กองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
|
|
(4) เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน |
ผู้ช่วยเลขานุการ |
2. หน้าที่และอำนาจ
2.1 พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
2.2 ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ในปัญหาต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่นๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
2.3 พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
2.4 ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 2.3 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
2.5 ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
2.6 ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
2.7 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3. องค์ประชุม
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 17 กันยายน 2567
9481