การผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และดําเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 02 October 2024 23:25
- Hits: 5720
การผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และดําเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และดําเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. ผ่อนผันให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าทําประโยชน์ ในพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ) ได้เท่าที่จําเป็นไปพลางก่อน เฉพาะในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน และจําเป็นอย่างแท้จริง จนกว่าจะได้รับอนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่ว่าด้วยการป่าไม้ โดยให้ส่วน ราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ยื่นคําขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้โดยเร่งด่วนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ได้เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้) เร่งรัดพิจารณาการขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ป่าของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกําหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต โดยให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าปลูกป่าทดแทน และค่าบำรุงหรือปลูกสร้างป่าตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. ผ่อนผันให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐสามารถดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับต้นไม้ที่โค่นล้มอันเกิดจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเพื่อเป็นการบรรเทาแก่เหตุที่เกิดขึ้นไปพลางก่อนได้ เช่น ตัดทอนและนําเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย แล้วให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ดําเนินการสํารวจ ตรวจสอบ จัดทําบัญชี และอนุญาตให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนําไปช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเป็นลําดับแรก หากคงเหลือจํานวน เท่าใด ให้นําไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ สําหรับการอนุญาตดังกล่าว ให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบํารุงป่าตามอัตราที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. ผ่อนผันให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐดําเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟู สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ไปพลางก่อน ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ที่ประกาศเป็นภัยพิบัติ และให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ได้เข้าดําเนินการ
สาระสำคัญ
1. กรณีพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ และป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ) ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของประชาชน ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจที่จะเข้าไปดําเนินการแก้ไขปัญหาจําเป็นต้องเข้าไปดําเนินการให้ทันท่วงที ไม่สามารถขออนุญาตได้ในขณะนั้น ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ได้เท่าที่จําเป็นไปพลางก่อน เฉพาะในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน และจําเป็น อย่างแท้จริง จนกว่าจะได้รับอนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่ว่าด้วยการป่าไม้ โดยให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ยื่นคําขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้โดยเร่งด่วนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ได้เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ เร่งรัดพิจารณา การขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ในพื้นที่ป่าของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ดังกล่าวให้เสร็จสิ้น ตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกําหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับคําขออนุญาต โดยให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าปลูกป่าทดแทน และค่าบํารุงป่าหรือปลูกสร้าง สวนป่าตามอัตราที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. สําหรับต้นไม้ที่โค่นล้มอันเกิดจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐสามารถดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อเป็นการบรรเทาแก่เหตุที่เกิดขึ้นไปพลางก่อนได้ เช่น ตัดทอนและนําเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัย แล้วให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ดําเนินการสํารวจ ตรวจสอบ จัดทําบัญชี และอนุญาตให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนําไป ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะเป็นลําดับแรก หากคงเหลือจํานวนเท่าใด ให้นําไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ สําหรับการอนุญาตดังกล่าว ให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบํารุงป่าตามอัตราที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. การดําเนินการซ่อมแซม ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคกินพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อการบํารุงรักษาสิ่งก่อสร้างเดิมหรือเพื่อการก่อสร้างใหม่แทนสิ่งก่อสร้างเดิมที่ชํารุด ตามระเบียบกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทําการในอุทยานแห่งชาติวนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 22 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสาม และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 หรือตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วย การอนุญาตให้กระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 53 วรรคสาม มาตรา 54 วรรคสอง มาตรา 55 วรรคสาม มาตรา 67 วรรคสอง และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 แล้วแต่กรณี กําหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐจะต้องยื่นคําขออนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันประสงค์เข้าดําเนินการพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีระยะเวลาการพิจารณาตามระเบียบฯ 45 วันก่อนที่จะเข้าดําเนินการได้ ดังนั้น จึงมีความจําเป็นเร่งด่วนเพื่อให้การฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วและเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม
ประโยชน์และผลกระทบ
1. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
2. ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ สามารถเข้าไปดําเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการบริการสาธารณะที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
3. ราษฎรหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสาธารณะสามารถนําไม้ที่โคนได้ พิบัติสาธารณะไปใช้ประโยชน์ในการซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสํานักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 1 ตุลาคม 2567
1082