WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

(ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569)

Gov แพทองธาร15

(ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569)

          คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. (พ.ศ. 2566 - 2569) ((ร่าง) แผนแม่บทฯ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) เสนอ

          2. ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําแผนแม่บทนี้ไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางการดําเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นกรอบแนวทางจัดทําและเสนอคําของบประมาณของหน่วยงานตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน

          3. ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสํานักงบประมาณ (สงป.) สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้อง และสนับสนุนมิติ การบริหารงานและเป้าหมายของ (ร่าง) แผนแม่บทฯ และใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณ แก่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน

          4. ให้สํานักงานกิจการยุติธรรม ยธ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. (ร่าง) แผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติ และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการประสาน สนับสนุน และติดตามประเมินผลการดําเนินงานตาม

          สาระสำคัญ

          1. (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอมาในครั้งนี้ เป็นการดําเนินการต่อเนื่อง จากยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล ของแผนแม่บทการบริหาร งานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2569) เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายทิศทางการดําเนินงาน และแนวทางประสานความร่วมมือในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มีความต่อเนื่องเป็นระบบ เชื่อมโยง และเกิด การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า โดย (ร่าง) แผนแม่บทฯ ที่ ยธ. เสนอในครั้งนี้มุ่งเน้นการพลิกโฉมของระบบบริการด้านยุติธรรมสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการให้บริการประชาชน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 5 มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงบประมาณ สํานักงาน ก.พ. สํานักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด และสํานักงานพัฒนา รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการ/ไม่ขัดข้อง 

          2. กพยช. [รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ซึ่งมีกรอบการดําเนินงานประกอบด้วย 3 เป้าหมายภาพรวม ๓ ตัวชี้วัดภาพรวม และมีองค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 3 มิติ 7 เป้าหมาย7 ตัวชี้วัด สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

(ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (.. 2566 – 2569)

วิสัยทัศน์

 

 

พันธกิจ

 

(1) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล

(2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร

ในกระบวนการยุติธรรม

(3) พัฒนาระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในกระบวนการยุติธรรม

เป้าหมาย

ภาพรวม

 

(1) สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยการยกเลิก การใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนระยะเวลา เกิดความเข้าใจและสามารถเข้าถึงในระบบ กระบวนการยุติธรรม

(2) เพิ่มขีดความสามารถของระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้มีคุณภาพ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนานโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

(3) สร้างความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

ตัวชี้วัดภาพรวม/

ค่าเป้าหมาย

 

(1) ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมมีความพึงพอใจในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายลดลง

(2) ร้อยละ 80 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบรรลุความสําเร็จของการดําเนินงานในการพัฒนามาตรฐานระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองการปฏิบัติงาน ในระดับคะแนนที่ 41

(3) ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมมีความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

หัวข้อ

สาระสำคัญ

 

มิติที่ 1 มุ่งให้ความสําคัญกับการให้บริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพ (User Experience)

 

เป้าหมายที่ 1

การประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการยุติธรรม

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างการรับรู้เพื่อตอบสนองการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้รับบริการในทุกรูปแบบ การจัดทําแพลตฟอร์มการให้บริการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเกี่ยวกับสิทธิที่ประชาชนจะได้รับ การให้คําปรึกษาผ่านระบบอัตโนมัติเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเมื่อถูกหมายจับหรือถูกดําเนินคดี เป็นต้น

- พัฒนาช่องทางเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารองค์กรที่หลากหลายในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ เช่น คลิปวิดีโอ Infographic รวมทั้งพัฒนาระบบ Mobile Apps และเว็บไซต์กลาง เพื่อประชาสัมพันธ์ รับฟังความคิดเห็นประชาชน และสื่อสารองค์กร

- สร้างเครือข่ายสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสารสนเทศ การขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชน ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมได้รับการรับรู้และมีความเข้าใจต่อกระบวนการยุติธรรม

 

เป้าหมายที่ 2

การสร้างนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม และมีช่องทางที่เข้าถึงสะดวก

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- ออกแบบและพัฒนาการบริการประชาชนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (e - Service) โดยกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และระยะเวลาการให้บริการที่ชัดเจน ลดกระบวนการที่ไม่จําเป็น และพัฒนาระบบงานดิจิทัลแบบอัตโนมัติ (e - Service) ในการให้บริการประชาชน

- เชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้บริการงานในกระบวนการยุติธรรมแบบครบวงจร (One Stop Service) โดยรวมระบบบริการไว้ที่เดียว และนํา Al Technology และ Virtual Assistant มาใช้ในการดําเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เช่น การให้คําปรึกษาทางกฎหมายเบื้องต้น การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเอกสาร เป็นต้น

- พัฒนาช่องทางการเข้าถึงบริการที่สะดวกให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่ออํานวยความสะดวกในการเข้าถึงทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการรับข้อร้องเรียนที่เข้าถึงได้สะดวกและการตอบสนองกลับต่อข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ

- พัฒนาระบบติดตามการดําเนินการและสถานะคดี (Case Management) เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานะคดีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส

- ผลักดันให้มีศูนย์พยากรณ์สถานการณ์อาชญากรรมแห่งชาติ ทําหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทําฐานข้อมูลอาชญากรรม พยากรณ์สถานการณ์อาชญากรรม และเสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางป้องกันอาชญากรรม

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมมีความพึงพอใจในการเข้าถึงและได้ประโยชน์จากการให้บริการพื้นฐานของภาครัฐ

 

มิติที่ 2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสู่ความเป็นเลิศ (Operation Excellence)

 

เป้าหมายที่ 1

การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- จัดทําแผนงบประมาณบูรณาการเพื่อการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย แผนงาน และแนวทางการดําเนินงานที่ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม

- เชื่อมโยงข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมระหว่างหน่วยงาน โดยพัฒนาการเชื่อมโยงระบบ เทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างหน่วยงานและพัฒนาศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (Data Exchange Center: DXC) 

- พัฒนา ปรับปรุงคุณภาพ และสร้างกลไกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยผลักดันให้เกิดการบันทึกข้อมูลที่จําเป็นในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงข้อมูลและการทํางานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนมากขึ้นและแสวงหาแนวทางความร่วมมือได้หลากหลายมากขึ้น

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบรรลุความสําเร็จของการดําเนินงานในการบูรณาการ และแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในกระบวนการยุติธรรม ในระดับคะแนนที่ 4

 

เป้าหมายที่ 2

การสร้างนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม และมีช่องทางที่เข้าถึงสะดวก

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- ปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไปสู่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ใช้งานง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้งพัฒนาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการค้นหาและติดตามข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก

- พัฒนาระบบข้อมูลกระบวนการยุติธรรมด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยนําระบบเทคโนโลยี AI มาใช้ในการปรับปรุง กระบวนการทํางาน เช่น การแปลงเสียงเป็นข้อความ การบันทึกจับกุมอัตโนมัติ (แปลงเสียงให้เป็นรายงานเอกสารได้เลย โดยพนักงานไม่ต้องพิมพ์เอง) เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการฐานข้อมูลการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

- พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่คล่องตัว (Agile Management) โดยผลักดันให้หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความโปร่งใสในการทํางาน รวมทั้งป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ในกระบวนงาน

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบรรลุความสําเร็จของการดําเนินงานในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในระดับคะแนนที่ 4

 

เป้าหมายที่ 3

การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- จัดทําแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม โดยบริหารจัดการที่อิงสมรรถนะ (Competency Based Management) รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างและตําแหน่งงาน ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีการกําหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ตามตําแหน่งงาน

- พัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจต่อระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว และมีประสิทธิภาพ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบตามเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐของสํานักงาน ..

- ปรับปรุงความก้าวหน้าและค่าตอบแทนสายงานวิชาชีพบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน และจัดทําเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานวิชาชีพ (Career Path) รวมทั้งวางแผนพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานวิชาชีพ (Career Development Plan) สําหรับบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรม

- พัฒนา Digital Mindset ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อผลักดันการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลักดันและส่งเสริมให้บุคลากรสามารถผสมผสานทักษะ ประสบการณ์ ร่วมกับการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างลงตัว

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมบรรลุความสําเร็จของการดําเนินงานในการพัฒนา สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสําหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ในระดับคะแนนที่ 4

 

 

มิติที่ 3 ระบบมีความมั่นคงปลอดภัยจากการถูกโจมตีหรือจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน (Cyber Security)

 

เป้าหมายที่ 1

การสร้างธรรมาภิบาลภาครัฐ (Good Governance)

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- จัดทํา Data Governance ในระบบการบริหารจัดการข้อมูลในการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้นําไปสู่ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดลําดับความสําคัญ และการส่งมอบบริการสาธารณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด

- จัดทํา Data Governance ให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น การจัดทําสถาปัตยกรรมความมั่นคงปลอดภัย ของข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การประเมินความปลอดภัยของข้อมูล การกําหนดเครื่องมือและเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การจัดทําบัญชีข้อมูลกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

- สร้างระบบรองรับการดําเนินการตามกฎหมายเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยจัดทําแนวปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลที่ระบุตัวตนได้สําหรับหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานปลายทางทราบได้ว่าข้อมูลที่ได้รับเป็นของบุคคลใด

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมมีความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

เป้าหมายที่ 2

การสร้างประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ

แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น

- จัดทํากลไกการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในทุกกระบวนการ โดยติดตามเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง และแจ้งเตือนภัยถึงสิ่งผิดปกติต่างๆ รวมไปถึงวิเคราะห์จุดอ่อนหรือช่องโหว่ของภัยคุกคามที่เกิดขึ้น เพื่อทบทวนแนวทางป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานในอนาคต

- พัฒนาระบบป้องกันและตรวจสอบการบุกรุก โดยกำหนดมาตรฐานการจัดชั้นความลับข้อมูลซึ่งอธิบายถึงรูปแบบและวิธีการจัดชั้นความลับของข้อมูลให้สอดคล้องกับผลกระทบหรือความเสียหายในด้านต่างๆ เช่น เงิน ชื่อเสียง ความมั่นคง เป็นต้น รวมถึงการอนุญาตให้สามารถทําการแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยข้อมูลได้

- พัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลในระบบ Cloud กลางในกระบวนการยุติธรรม โดยจัดทํานโยบายข้อมูลซึ่งอธิบาย ถึงบทบาทหน้าที่ ข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูล โดยอาจประกอบด้วยนโยบายความมั่นคง ปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล นโยบายคุณภาพข้อมูล นโยบายการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูล นโยบายการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น

- สร้างความตระหนักด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เพื่อจํากัดผลกระทบของเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ โดยหน่วยงานจะต้องทําการบํารุงรักษาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับการดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

- กําหนดมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น มาตรฐานการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรฐาน Framework Cyber Security ในกระบวนการยุติธรรม คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามกรอบแนวทาง Cyber Security เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นําระบบมาตรฐานสากลมาใช้ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

- พัฒนาระบบยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ในระบบ e - Service ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะเป็นการสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยทําให้ระบบการบริหารจัดการข้อมูลในการให้บริการประชาชนมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย : ร้อยละ 80 ของหน่วยงานมีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยบรรลุความสําเร็จของการดําเนินงานในระดับคะแนนที่ 4

 

          ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวมี 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 7 หน่วยงาน เช่น ยธ. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลยุติธรรม เป็นต้น และ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงาน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยเฉพาะการดําเนินการในมิติที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

          3. การขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล มีแนวทางการดําเนิน สรุปได้ ดังนี้

              3.1 แนวทางการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อน ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม (เป็นคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช.) ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย เช่น สศช. [กํากับดูแลทิศทางการพัฒนาตามแนวทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องในการยุติธรรม] สงป. (สนับสนุนคําของบประมาณในลักษณะงบประมาณบูรณาการ) สํานักงาน ก.พ. และสํานักงาน ก.พ.ร.(ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร และสนับสนุนอัตรากําลัง) สพร. (ส่งเสริมและสนับสนุน Digital Government Transformation) กศ. (สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลต่อยอดการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล)

              3.2 แนวทางการติดตามประเมินผล ดําเนินการผ่านกลไก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทฯ พร้อมจัดทํารายงานเสนอต่อ กพยช. ทราบเป็นประจําทุกปี โดยสํานักงานกิจการยุติธรรมทําหน้าที่กํากับติดตามตัวชี้วัดของแต่ละเป้าหมายและติดตามผลการดําเนินงานว่าตรงตามแผนหรือไม่ พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากการนําแผนแม่บทฯ ไปใช้

 

–––––––––––––––––––––––––––

1 การประเมินศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเป็น 4 ระดับคะแนน ดังนี้

ระดับคะแนนที่ 1 หน่วยงานไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology: ICT)

ระดับคะแนนที่ 2 หน่วยงานมีความตระหนักด้าน ICT แต่ยังไม่มีแบบแผนการนําไปใช้ที่ดีและถูกต้อง

ระดับคะแนนที่ 3 มีการใช้ ICT ในหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทํางานและมีแผนการทํางานด้าน ICT แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ

ระดับคะแนนที่ 4 มีการใช้ ICT อย่างเต็มรูปแบบและมีวัฒนธรรมองค์กรในการใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแผนงาน ที่ชัดเจน

ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างระบบ 2) ด้านข้อมูล 3) ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และซอฟต์แวร์ 4) ด้านบุคลากร และ 5) ด้านธรรมาภิบาลข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยของระบบ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 22 ตุลาคม 2567

 

 

10608

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!