การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 23 October 2024 17:54
- Hits: 1227
การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สำหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 รวมทั้งเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 8 ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างบันทึกการประชุมฯ และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ที่ไม่ใช่สาระสําคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้กระทรวงมหาดไทยสามารถดําเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทนร่วมลงนามรับรองบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สําหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 4
2. ร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ซึ่งได้ดําเนินการจัดทําร่วมกับฝ่ายกัมพูชาแล้ว มีสาระสําคัญโดยสรุป ดังนี้
1) การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 กําหนดจัดระหว่างวันที่ 22 - 24 ตุลาคม 2567 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ โดยมีประธานร่วม ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และ ฯพณฯ อภิสันติบัณฑิต ซอร์ ซกคา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายกัมพูชา
2) ที่ประชุมจะมีการหารือร่วมกันในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะให้ผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกัน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอดคล้องกับเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล และเป็นการสานต่อความร่วมมือด้านต่างๆ ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ทําความตกลงกันไว้แล้ว รวมทั้งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทย และเป็นการยืนยันการดํารงความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นระหว่างไทย - กัมพูชา ที่มีอยู่อย่างแน่นแฟ้น ตลอดจนเป็นเวทีผลักดันความร่วมมือด้านต่างๆ ให้คืบหน้าเป็นรูปธรรม โดยไม่กล่าวถึงประเด็นอ่อนไหวที่มีผลต่อความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศมิได้เคยทําความตกลงกันไว้และไม่มีการจัดทําความตกลงใดๆ ในการประชุมครั้งนี้ โดยมีประเด็นความร่วมมือต่างๆ จํานวน 19 ประเด็น ได้แก่ (1) การดําเนินการเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องการข้ามแดน (2) ความร่วมมือด้านการค้า และการลงทุนบริเวณชายแดน (3) การคมนาคมขนส่ง (4) ความร่วมมือด้านการเกษตรบริเวณชายแดน (5) ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (6) ความร่วมมือด้านแรงงาน (7) การบริหารจัดการจุดผ่านแดน (8) การสาธารณสุขและการพัฒนาชุมชน (9) การศึกษา (10) การจัดการภัยพิบัติ (11) การลักลอบตัดไม้ โดยผิดกฎหมาย (12) การดํารงรักษาสิ่งแวดล้อมชายแดน (13) การป้องกัน และการปราบปรามอาชญากรรม บริเวณชายแดน (14) ความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด (15) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (16) ความร่วมมือเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองพี่เมืองน้องระดับจังหวัด (17) การขยายความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (18) กลไกความร่วมมือระดับท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานซึ่งปฏิบัติงานชายแดน (19) เรื่องอื่นๆ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 22 ตุลาคม 2567
10613