หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 30 October 2024 00:18
- Hits: 1622
หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณา ก่อนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สาระสำคัญ
เรื่องนี้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร เพื่อใช้ทดแทนหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร [ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ (กลุ่มเป้าหมาย 19 กลุ่ม)] ที่รอการพิจารณากำหนดสถานะในปัจจุบัน จำนวน 483,626 คน ให้ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ถาวร) หรือสัญชาติไทยอย่างรวดเร็ว โดยมีการปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานะของบุคคลในประเด็นต่างๆ ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแล้ว
1. กลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน
หลักเกณฑ์เดิม (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564) |
หลักเกณฑ์ใหม่ที่เสนอขอปรับปรุงในครั้งนี้ |
||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมาย 1) บุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 (เลขประจำตัวประเภท 6) และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 89) 2) บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายในปี พ.ศ. 2542 เด็กและบุคคลที่กำลังเรียนหรือจบการศึกษาแล้ว คนไร้รากเหง้า และคนที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ภายในวันที่ 18 มกราคม 2548 แต่ตกหล่นจากการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติตามมติคณะรัฐมนตรีในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 00)
กลุ่มย่อย 1.1 กลุ่มที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน (ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม) 1.2 กลุ่มเด็กและบุคคลที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรและกำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาหรือจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย 1.3 กลุ่มบุคคลไร้รากเหง้า 1.4 กลุ่มบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ |
- คงกลุ่มเป้าหมายเดิม - |
||||||||||||||||
คุณสมบัติ 1. หลักเกณฑ์ทั่วไป 1) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก 2) มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการการตำรวจสันติบาล เป็นต้น ซึ่งหลักเกณฑ์นี้กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานของกรมการปกครอง มท.) 3) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) มีความประพฤติดี และไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของไทย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไม่เคยรับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ 5) หากได้รับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตให้ขยายระยะเวลาจาก 5 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 10 ปี 6) ประกอบอาชีพสุจริตโดยมีใบอนุญาตทำงานหรือหนังสือรับรองจากนายอำเภอท้องที่ยกเว้นเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่น ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และคนพิการ (แล้วแต่กรณี)
2. หลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม
การอนุญาต - ผ่านคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทย และให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ระดับจังหวัด)/กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติไทยและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต |
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ทั่วไป 1. หลักเกณฑ์ทั่วไป 1) มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก 2) มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 3) ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองเพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้ (*ปรับ ให้ผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองแทนการสอบสวนผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือและแทนการส่งไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) 3.1) มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.2) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิต ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์ 3.3) ไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง/ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใดๆ กับประเทศต้นทาง 3.4) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น
- ยกเลิกหลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่ม -
การอนุญาต 1.ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ รับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักร 3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร *เพิ่มเงื่อนไข หากภายหลังปรากฏว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือมีลักษณะไม่เป็นไปสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายหลักเกณฑ์ที่กำหนด อาจถูกถอนการอนุญาตให้มีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ประเภทไร้สัญชาตินอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าวโดยกระบวนการถอน การอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการปกครองกำหนด [(หมายเหตุ: การเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวสามารถบังคับใช้กับกลุ่มที่เคยได้รับอนุญาตให้สถานะต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและได้รับใบสำคัญ ถิ่นที่อยู่ และกลุ่มเป้าหมายที่รอการกำหนดสถานะบุคคล ในครั้งนี้ ทั้งนี้ กรมการปกครองแจ้งว่า เคยมีกรณีการเพิกถอนใบสำคัญถิ่นที่อยู่มาแล้วโดยเป็นการดำเนินการตามประกาศ มท. (ตามข้อ 5.7 ในเอกสารแนบท้าย 3)] |
||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมาย บุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร |
กลุ่มเป้าหมาย บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลานาน ที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้ สัญชาติไทย (เฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม ไม่รวมชาวต่างด้าวอื่นๆ ) (ปรับ ให้เป็นบุตรของบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 เพื่อให้ครอบคลุมการแก้ไขทุกกลุ่มและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันตามคุณสมบัติด้านล่าง) |
||||||||||||||||
คุณสมบัติ 1. บิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลัก ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้อง เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย 2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ 3. ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น 4. ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทย 5. มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 6. มีความประพฤติ ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ไม่เคยต้องรับโทษความผิดคดีอาญาเว้นแต่ความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ หรือถ้าเคยรับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย |
คุณสมบัติ 1. บิดาหรือมารดาเป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจจะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลข จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปีพ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 จะต้องได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้องเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย 2. ต้องมีหลักฐานการเกิดในราชอาณาจักรไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ 3. ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง เพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว หากมีคุณสมบัติ ดังนี้ 3.1) ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น 3.2) ต้องพูดและเข้าใจภาษาไทยกลาง หรือภาษาถิ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ขอ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี คนพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทางการสื่อสารจิตใจ และทางพฤติกรรม 3.3) มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.4) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิตต้องพ้นโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุ ไม่เกิน 18 ปี |
||||||||||||||||
การอนุญาต 1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร - อายุไม่เกิน 18 ปี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร - อายุไม่เกิน 18 ปี นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต |
การอนุญาต 1. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียนเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 2. ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต 3. อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร *เพิ่มเงื่อนไข หากภายหลังปรากฏว่าผู้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยคุณสมบัติไม่เป็นไปตามลักษณะหรือหลักเกณฑ์ข้างต้น อาจถูกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในการให้สัญชาติไทยดังกล่าว (สามารถถอนสัญชาติไทยของบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 9/2567) |
2. สมช. แจ้งว่า หากมีการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรแล้ว จะมีการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการนี้ มท. ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบ ขั้นตอนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการกำหนดสถานะของกลุ่มเป้าหมายในการขอมีสถานะ เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน (การมอบใบสำคัญถิ่นที่อยู่) รวมถึงการขอสัญชาติไทยสำหรับบุตรคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การดำเนินการขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่)
การขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่) |
||
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน |
ขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ (หากปรับหลักเกณฑ์ฯ) |
|
● ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยมีการสอบปากคำผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือไม่เกิน 3 คน เพื่อรับรองคุณสมบัติ ● อำเภอหรือสำนักกิจการความมั่นคงภายใน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐานและตรวจประวัติอาชญากรรมและพฤติการณ์ด้านความมั่นคง (กรณีอายุ เกิน 60 ปี ใช้การสอบสวนพยานบุคคลรับรอง) ดำเนินการ 30 วัน
● จังหวัดตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงเมื่อได้รับผลการตรวจสอบนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาให้สัญชาติและให้สถานะคนต่างด้านเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชลกลุ่มน้อยระดับจังหวัด/กทม. ● กรมการปกครองตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคง เมื่อได้รับผลกระทบการตรวจสอบนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการการพิจารณาให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย ดำเนินการ 140 วัน |
● ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง ● อำเภอหรือสำนักกิจการความมั่นคงภายใน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสาร หลักฐาน ดำเนินการ 1 วัน |
|
● เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรีใช้ดุลพินิจพิจารณา ดำเนินการ 100 วัน |
● การพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ - ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายในเป็นผู้พิจารณาอนุญาต กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. - นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. ดำเนินการ 3 วัน
● เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร 14) และทำบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดำเนินการ 1 วัน |
|
รวมระยะเวลาการดำเนินการ 270 วัน |
รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน |
2.2 การดำเนินการขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย
การขอมีสัญชาติไทยของบุตรบุคคลต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้สัญชาติไทย |
||
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน |
ขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ (หากปรับหลักเกณฑ์ฯ) |
|
● ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยมีการสอบปากคำผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือจำนวน 2 คน เพื่อรับรองคุณสมบัติ ● อำเภอหรือสำนักบริหารการทะเบียน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (ยกเว้นอายุไม่เกิน 18 ปี) ดำเนินการ 90 วัน
● จังหวัดตรวจคุณสมบัติเรื่องการกระทำความผิดที่เป็นโทษทางอาญาและพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง (ยกเว้น อายุไม่เกิน 18 ปี) ● ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. - อายุไม่เกิน 18 ปี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ● สำหรับผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. - อายุไม่เกิน 18 ปี นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต - อายุเกิน 18 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ดำเนินการ 60 วัน |
● ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานโดยผู้ขอยืนยันและรองรับคุณสมบัติของตนเอง ● อำเภอหรือสำนักบริหารการทะเบียน (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบคุณสมบัติเอกสารหลักฐาน ดำเนินการ 1 วัน
● ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ● สำหรับผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ดำเนินการ 3 วัน |
|
● ส่งสำนักบริหารการทะเบียนกำหนดเลขประจำตัวเป็นคนไทย ดำเนินการ 30 วัน |
● เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) และทำบัตรประจำตัวประชาชนคนไทย ดำเนินการ 1 วัน |
|
รวมระยะเวลาการดำเนินการ 180 วัน |
รวมระยะเวลาการดำเนินการ 5 วัน |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 29 ตุลาคม 2567
10761