WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)

Gov อนุทิน

รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2566 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. สาระสำคัญของแผนงานฯ และผลการดำเนินการที่ผ่านมา

          การไฟฟ้านครหลวง มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่การไฟฟ้านครหลวงดูแลและรับผิดชอบระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 8 แผน ระยะทางรวม 236.1 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบให้ดำเนินการเพิ่มอีก 2 แผน ระยะทางรวม 77.4 กิโลเมตร รวมเป็นแผนงานที่การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการทั้งสิ้น 10 แผน ระยะทางรวม 313.5 กิโลเมตร ทำให้กรอบระยะเวลาดำเนินการเปลี่ยนจากเดิมมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2568 เป็นมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ระยะทางที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 73.4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 5 (ระยะที่ 2) ฉบับที่ 7 (ฉบับปรับปรุง) และฉบับที่ 8 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการถนนสีลม ปทุมวัน และจิตรลดา) ระยะทางรวม 16.2 กิโลเมตร 2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ฉบับที่ 4 (ระยะที่ 2) (พ.ศ. 2547 - 2550) (โครงการถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท และถนนสุขุมวิท) ระยะทางรวม 24.4 กิโลเมตร 3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) และโครงการนนทรี) ระยะทางรวม 14.3 กิโลเมตร และ 4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน (โครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวถนนพหลโยธิน (ช่วงห้าแยกลาดพร้าว ถึง ถนนงามวงศ์วาน) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร และโครงการถนนสารสิน ระยะทาง 0.8 กิโลเมตร) ระยะทางรวม 18.5 กิโลเมตร สำหรับแผนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มี 6 แผน ระยะทางรวม 240.1 กิโลเมตร ดังนี้

 

แผนงาน

ระยะทางที่อยู่

ระหว่างดำเนินการ

(กิโลเมตร)

1) แผนงานฯ ปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง)

10.9

2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก

22.5

3) แผนงานฯ เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

108.8

4) แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด

20.5

5) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนา โครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1

34.6

6) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนา โครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2

42.8

รวม

240.1

 

          2. ผลการดำเนินการตามแผนงานฯ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566) ดังนี้

              2.1 แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 240.1 กิโลเมตร

                    1) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551 - 2556 (ฉบับปรับปรุง) ระยะทางรวม 25.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 10.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ85.28 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 84.97) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.31) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2570 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการพระราม 3

10.9

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

 

                    2) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รัชดาภิเษก ระยะทางรวม 22.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 38.09 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 38.54) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 0.45) มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2571 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการรัชดาภิเษก - อโศก

8.2

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

2. โครงการรัชดาภิเษก - พระราม 9

14.3

 

                    3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ระยะทางรวม 127.3 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 108.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง และการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 50.80 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 49.06) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.74) มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2572 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน

11.8

อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง : ถนนวิทยุ (2.1 กม.)

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนพระราม 4 (2.3 กม.) ถนนอังรีดูนังต์ (1.8 กม.) ถนนชิดลม (0.7 กม.) ถนนสาทร (3.6 กม.) ถนนหลังสวน (1.3 กม.)

2. โครงการในพื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทาง

7.4

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนเจริญราษฎร์

(3.8 กม.) ถนนเพชรบุรี (1.0 กม.) ถนนดินแดง (2.6 กม.)

3. โครงการในพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น

89.6

โครงการในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า (76.5 กิโลเมตร)

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : สายสีชมพู (17.6 กม.)

สายสีเหลือง (15.8 กม.) สายสีน้ำเงิน (4.3 กม.)

สายสีเขียวเหนือ (2.0 กม.) สายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-บางปิ้ง)

(12.5 กม.) สายสีส้ม (สัญญา 3) (0.7 กม.) สายสีเขียว

ส่วนต่อขยาย (6.6 กม.) ประชาราษฎร์สาย 2 (1.4 กม.)

(ถนนเพชรบุรี) (2.0 กม.)

อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง : สายสีส้ม (ถนนรามคำแหง) (4.4 กม.) สายสีส้ม (ตะวันตก(3.0 กม.) สายสีม่วง (6.2 กม.)

โครงการในพื้นที่ร่วมกรุงเทพมหานคร (13.1 กิโลเมตร)

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง : ถนนอรุณอัมรินทร์ (5.7 กม.)

ถนนพรานนก (1.7 กม.) ถนนบรมราชชนนี (0.8 กม.)

อยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้าง : ถนนประชาราษฎร์สาย 1 (1.1 กม.) ถนนทหาร (2.0 กม.) ถนนสามเสน (1.8 กม.)

 

                    4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด ระยะทางรวม 20.5 กิโลเมตรอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 30.95 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 29.97) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.98) มีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนรัตนาธิเบศร์ (ถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก)

4.4

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถึง ถนนติวานนท์

10.6

3. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81-ซอยสุขุมวิท 107)

5.5

 

                    5) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 ระยะทางรวม 34.6 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 20.0 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ 20.0) (ปฏิบัติงานได้ตามแผน) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ถนนศรีนครินทร์ (แยกสำสาลี-ถนนเทพารักษ์)

15.8

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ช่วงคลองถนน-ถนนรามคำแหง

18.8

 

                    6) แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 ระยะทางรวม 42.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้างและออกแบบ คิดเป็นร้อยละ 5.52 (จากแผนงานที่กำหนดร้อยละ4.62) (เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.9) มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2572 ประกอบด้วย

 

แผนงาน/โครงการ

เป้าหมาย

ระยะทาง

(กิโลเมตร)

สถานะ/ผลการดำเนินการ

1. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ถนนศรีนครินทร์ (แยกสำสาลี-ถนนเทพารักษ์)

12.6

อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง

2. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ช่วงคลองถนน-ถนนรามคำแหง

2.1

3. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีทอง

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร

2.8

อยู่ระหว่างออกแบบ

4. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ถนนเพชรเกษม (ถนนรัชดาภิเษก - ถนนกาญจนาภิเษก)

8.2

5. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ม

ถนนพระราม๔ (ถนนพญาไท - คลองผดุงกรุงเกษม)

1.5

6. โครงการตามเส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีเขียว (ถนนเทพารักษ์ - ถนนสุขุมวิท)

4.3

7. โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม

ถนนพหลโยธิน (ถนนงามวงศ์วาน - ซอยพหลโยธิน 54/2)

11.3

 

              2.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ การไฟฟ้านครหลวงได้วางแผนการเบิกจ่ายเงินในปี 2566 จำนวนเงิน 6,351.070 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2566 ได้มีการเบิกจ่ายเงินรวม 2,980.830 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.93 ของแผนการเบิกจ่ายฯ และจะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือโดยเร็วที่สุด

หน่วย : ล้านบาท

แผนงาน

งบประมาณลงทุน

การเบิกจ่ายเงินในปี 2566

แผนการจ่าย

ผลการจ่าย

1. แผนงานฯ ในปี 2551-2556 (ฉบับปรับปรุง)

9,088.80

755.39

433.41

2. แผนงานฯ รัชดาภิเษก

8,899.58

727.83

155.75

3. แผนงานฯ เพื่อรังรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

48,717.20

3,509.61

2,140.34

4. แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด

3,673.40

568.27

250.59

5. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1

8,353.70

789.97

0.05

6. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2

9,972.90

-

0.69

รวม

88,705.58

6,351.07

(100%)

2,980.83

(46.93%)

 

          ประโยชน์ของการดำเนินโครงการ

          การดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง มีประโยชน์ ดังนี้

          1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจ่ายไฟฟ้า และความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า

          2. เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

          3. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

          4. เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 29 ตุลาคม 2567

 

 

10762

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!