ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ....
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 05 November 2024 22:54
- Hits: 1499
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปไปได้ รวมทั้ง ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|
1. กำหนดนิยาม |
● วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมายความว่า กิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือกิจการอื่นที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่มีจำนวนการจ้างงาน รายได้มูลค่าสินทรัพย์ถาวร หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ● กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมายความว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตั้งแต่ห้าวิสาหกิจขึ้นไปรวมกลุ่มกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหรือดำเนินกิจกรรมร่วมกันในการพัฒนากิจการ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ● องค์การเอกชน หมายความว่า องค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือตามกฎหมายเฉพาะที่มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่ดำเนินการในทางการอุตสาหกรรม การบริการหรือการค้า และให้หมายความรวมถึงองค์การเอกชนที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย ● ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หมายความว่า ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม |
|
2. กำหนดประเภท |
● ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเภทดังต่อไปนี้รายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ (1) ประเภทกิจการผลิตสินค้า เช่น โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง (2) ประเภทกิจการให้บริการ เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ร้านเสริมสวย (3) ประเภทกิจการค้าส่ง เช่น ขายส่งสิ่งทอ ขายส่งอาหาร (4) ประเภทกิจการค้าปลีก เช่น ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เครื่องประดับ ร้านขายวัสดุก่อสร้าง (5) ประเภทกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
|
3. กำหนดหน้าที่ |
● ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือองค์การเอกชน ในประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ ส่งเสริม หรือสนับสนุนจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการ รายงานสถิติข้อมูล เช่น ขนาดธุรกิจ ประเภทการจัดตั้ง (นิติบุคคล บุคคลธรรมดา วิสาหกิจชุมชน) ภาคธุรกิจ (ภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคการบริการ ภาคธุรกิจการเกษตร) สาขาธุรกิจ (สาขาสิ่งทอ สาขาเครื่องสำอาง) ต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจนั้น ทั้งนี้ แบบของรายงานและรายละเอียดของสถิติข้อมูลให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกำหนด ● องค์การเอกชนที่จะต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นองค์การเอกชนประเภทที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดำเนินกิจการในทางการอุตสาหกรรม การบริการ การค้า หรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ประโยชน์และผลกระทบ
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ สังคม หรือประชาชน ดังนี้
1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะได้รับการส่งเสริม สนับสนุน หรือช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมและไม่ซ้ำซ้อนจากการออกแบบมาตรการหรือความช่วยเหลือของรัฐที่อ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการดำเนินธุรกิจของตนได้ด้วย
2) หน่วยงาน เช่น กระทรวงพาณิชย์ (อาทิ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงอุตสาหกรรม (อาทิ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น เพื่อใช้จัดทำและรับรองสถิติข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมออกเผยแพร่และส่งสถิติข้อมูลดังกล่าวให้แก่ สสว. เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสามารถร่วมใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำภารกิจในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน (หน่วยงานภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะมีระบบ SME Profile โดยให้ผู้ประกอบการ SME ให้ข้อมูล อาทิ ขนาดธุรกิจ ประเภทการจัดตั้ง ภาคธุรกิจ สาขาธุรกิจ รายได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถเชื่อมต่อไปยัง สสว. ได้โดยอัตโนมัติ)
3) สสว. จะสามารถใช้ข้อมูล เช่น ข้อมูลการจัดตั้ง/ยกเลิก/เปลี่ยนแปลง งบการเงินของผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล เพื่อการบูรณาการนโยบายและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ของประเทศ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และรองรับการจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศมีข้อมูลด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการเชื่อมโยงรวมไว้ในที่เดียว เพื่อช่วยวางแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รอบด้านเกิดการบูรณาการเชื่อมโยงทำให้การดำเนินงานร่วมกันของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และมีการใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพไม่เกิดความซ้ำซ้อน คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตรงตามความต้องการ และ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนธุรกิจ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนมีความเข้มแข็งขึ้น และทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นตามลำดับ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤศจิกายน 2567
11112